ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ร้านโชว์ห่วยกับร้านสะดวกซื้อ ในกระแสวัฒนธรรมการบริโภค นัฐวุฒิ สิงห์กุล

ตั้งใจว่าวันนี้จะไม่เข้าร้านสะดวกซื้อเพื่อซื้อนม ขนมปัง ซาลาเปา แฮม ไส้กรอก อย่างที่เคยทำในช่วงเวลาที่ไม่ได้ทำกับข้าวและอยากกินอะไรง่ายๆ เลยตั้งใจจะอุดหนุนร้านโชว์ห่วยในหมู่บ้านสักหน่อย พอเดินเข้าร้าน เจ้าของร้านบอกว่า "ไส้กรอก แฮมเบอร์เกอร์ เกี๊ยวน้ำ มีนะ บริการอุ่นให้ด้วย" ผมเลยเดินเข้าไปข้างในจนสุดร้าน ก็มองเห็นตู้จำหน่ายสินค้าของบริษัทยักษ์ใหญ่รายหนึ่งวางอยู่ ข้างๆมีเตาไมโครเวฟสำหรับอุ่น ทั้งการวางชั้น สิ่งของในร้าน ไม่ต่างจากร้านสะดวกซื้อที่มีอยู่อย่างดาษดื่นในเมืองไทย หรือนี่คือเรื่องของการปรับตัวหรือเป็นกลยุทธ์ใหม่ของบริษัทธุรกิจสินค้าและอาหารยักษ์ใหญ่ ที่ทำให้กลุ่มทุนขนาดเล็ก ขนาดกลางที่มีศักยภาพสามารถผันตัวเองจากร้านชำเล็กๆขยับเข้ามาใกล้ร้านสะดวกซื้อมากขึ้น
ผมไม่ได้มีอะไรมาก แค่รู้สึกว่าวัฒนธรรมของสินค้าและอาหารการกินที่เคยหลากหลายมันลดน้อยลงไป และเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ในครั้งหนึ่งวัยเด็กผมเดินเข้าร้านชำ ผมได้กินขนมแป้ง ขนมโก๋ ถั่วตัด  วันนี้อยากกินขนมแบบนี้ต้องขับรถไปกินที่ตลาดน้ำดอนหวาย นี่ยังไม่นับความสัมพันธ์ของผู้คนในการแลกเปลี่ยนซื้อขาย การใช้บาร์โค๊ด การติดราคาสินค้า ที่ทำให้อำนาจต่อรองของเรากับผู้ขายน้อยลง
ทุกอย่างล้วนต้องเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป และการกระทำทุกอย่างย่อมส่งผลถึงกันเสมอ นี่คือสัจธรรมที่ยอมรับ ก็ต้องโยนกลับมาที่ตัวเราซึ่งเป็นผู้บริโภค เราจะเป็นผู้บริโภคแบบเฉื่อยชา มีอะไรก็กินไปไม่ต้องคิดมาก อิ่มท้อง อร่อยพอ ไม่ต้องตั้งคำถามต่อสิ่งใดๆ ไม่ต้องสนใจเรื่องสุขภาพ สิ่งแวดล้อมหรือเรื่องสังคม หรือจะเป็นผู้บริโภคที่ชาญฉลาดรู้เท่าทัน เป็นผู้บริโภคที่มีอำนาจในการตัดสินใจในการเลือกและซื้อ รวมถึงรู้อะไรที่ไปให้ลึกกว่าตัวสินค้าที่ซ่อนอยู่เบื้องหลัง

ผมว่าผมสนุกกับการเข้าไปในร้านค้าต่างๆ ดูว่ามีสินค้าอะไรบ้าง มาจากไหน มีส่วนประกอบอะไร ต้นทางมันมาอย่างไร กระบวนการผลิตเป็นแบบไหน ใครเทกโอเวอร์ใคร จีเอ็มโอไหม น้ำตาลเยอะไหม เค็มไหม ส่งออกหรือนำเข้า อื่นๆ มันทำให้การซื้อสินค้าและการกินมีรสชาติ สนุกและมีชีวิตชีวากับการคิดและตั้งคำถามกับสิ่งที่เราบริโภค แม้ว่าเป้าหมายสุดท้ายคือการบริโภคอาหารเหล่านี้เข้าปากแล้วก็ตัดสินให้คุณค่ากับมันว่า อร่อยไหม ครั้งหน้าจะซื้อไม่ซื้ออีก แต่ถ้าเราสามารถบอกตัวเองได้ว่านอกเหนือจากความอร่อยมันมีอะไรที่ทำให้เราต้องซื้ออีก เช่น สะดวกกับช่วงเวลาที่เร่งรีบ เหมาะกับเงินที่มีในกระเป๋า หรือเป็นสินค้าของท้องถิ่นที่มาวางจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อต้องอุดหนุน สินค้าเหล่านี้เพื่อสุขภาพและอื่นๆ มันทำให้การบริโภคของเรามีความหมายมากขึ้นครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...