ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2023

รัฐกับการเกษตรกรรม จากหนังสือ เจมส์ ซี สก๊อตต์ โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

  History of the Earliest  States  ของ  Jame C Scott (2017)  มาอ่านแล้วมีหลายประเด็นที่น่าสนใจ   หนังสือจำนวนเกือบ 300 หน้า   แต่ได้ประเด็นดีๆเยอะมาก  .. สนุกกว่าทำประกันคุณภาพมากกกเลย ** การก่อกำเนิดรัฐสัมพันธ์กับการทำการเกษตร      เมื่อการเกษตรเกิดขึ้น   มันทำหน้าที่ในการทำให้ความอิสระของคน   ที่ไม่ยึดติดกับพื้นที่หรือทรัพย์สิน   โดยเฉพาะกลุ่มคนล่าสัตว์หาของป่า   อยู่ติดที่ติดทางมากขึ้น   และคุ้นชินกับกับตารางเวลาของการควบคุม   ในรูปแบบของการเพาะปลูกข้าวแบบนาปี   การทำสวน   การเลี้ยงสัตว์   ที่เขื่อมโยงกับการถือครองทรัพย์สินและความมั่งคั่ง   เช่น   ที่ดิน   จำนวนพืชผล   จำนวนสัตว์เลี้ยง   และอื่นๆ        การค้นพบไฟ   การเอาพืชและสัตว์ในป่ามาเลี้ยงคือการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ   เพราะความต้องการเหล่านั้น   มีความสัมพันธ์กับการปรับลดความสามารถในการหาอาหารในป่า   รวมถึงการลดรัศมีของการหาอาหารให้แคบลงโดยเน้นอาหารในพื้นที่ขนาด...

มานุษยวิทยาว่าด้วยสัตว์ประหลาด โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

  วิชามานุษยวิทยาว่าด้วยสัตว์ประหลาด   เป็นวิชาหนึ่งที่ผมเคยคิดอยากจะสอน   อยากจะเปิดรายวิชา   จากความสนใจวัยเด็กที่ชอบตำนานเรื่องลี้ลับ .. โดยส่วนตัวผมชอบอ่านงานมานุษยวิทยาที่ใช้ในศาสตร์ต่างๆ   ไม่ว่าจะเป็นมานุษยวิทยาว่าด้วยแบคทีเรีย   มานุษยวิทยาว่าด้วยสัตว์ประหลาด   และอื่นๆ      ทุกสนามมีเรื่องเล่า   ทุกสนาม   ทุกท้องถิ่น   มีความเชื่อเรื่องสัตว์ประหลาด   ผมนึกถึงมานุษยวิทยาที่ว่าด้วยการศึกษาสัตว์ประหลาด   ที่เรียกว่า  Anthropology of monster  หรือ  Monster studies .. ดังเช่นงานของ     Cohen (1996)  ที่เขียน  Monster Culture  ภายใต้เรื่องเล่าเกี่ยวกับความน่ากลัว   จินตนาการที่เหมือนภูติผี   อันตราย   การทำลาย   หรือสิ่งมีชีวิตที่น่าสะพรึงกลัว   ที่แฝงหรือซ่อนตัวอยู่ในเงาและความมืด   อยู่ใต้เตียง   และอยู่ภายในถ้ำหรือใต้ทะเลสาบ   ที่ก้าวพ้นไปจากสิ่งที่เรามองเห็น   และอยู่ในจินตนาการ        ในด้านหนึ่งสัตว์ป...