ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

มานุษยวิทยาว่าด้วยสัตว์ประหลาด โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 วิชามานุษยวิทยาว่าด้วยสัตว์ประหลาด เป็นวิชาหนึ่งที่ผมเคยคิดอยากจะสอน อยากจะเปิดรายวิชา จากความสนใจวัยเด็กที่ชอบตำนานเรื่องลี้ลับ..โดยส่วนตัวผมชอบอ่านงานมานุษยวิทยาที่ใช้ในศาสตร์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมานุษยวิทยาว่าด้วยแบคทีเรีย มานุษยวิทยาว่าด้วยสัตว์ประหลาด และอื่นๆ

   ทุกสนามมีเรื่องเล่า ทุกสนาม ทุกท้องถิ่น มีความเชื่อเรื่องสัตว์ประหลาด ผมนึกถึงมานุษยวิทยาที่ว่าด้วยการศึกษาสัตว์ประหลาด ที่เรียกว่า Anthropology of monster หรือ Monster studies ..ดังเช่นงานของ  Cohen (1996) ที่เขียน Monster Culture ภายใต้เรื่องเล่าเกี่ยวกับความน่ากลัว จินตนาการที่เหมือนภูติผี อันตราย การทำลาย หรือสิ่งมีชีวิตที่น่าสะพรึงกลัว ที่แฝงหรือซ่อนตัวอยู่ในเงาและความมืด อยู่ใต้เตียง และอยู่ภายในถ้ำหรือใต้ทะเลสาบ ที่ก้าวพ้นไปจากสิ่งที่เรามองเห็น และอยู่ในจินตนาการ  

  ในด้านหนึ่งสัตว์ประหลาด มันคือสาเหตุของความชั่วร้าย ความเสียหายต่อสิ่งต่างๆ บางครั้งมันเป็นสิ่งที่ปกป้องผู้คนรวมทั้งเป็นสิ่งที่สามารถบ่มเพาะความกลัว สร้างความหวาดหวั่นให้กับผู้คน สามาถเข่นฆ่าทำลายชีวิตผู้คน การศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ประหลาดจึงมีความหมายและเป็นประเด็นที่น่าสนใจทางมานุษยวิทยา แม้ว่าจะเป็นสนามย่อยๆเล็กๆ แต่ปัจจุบันในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาการศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ประหลาดได้กลายเป็นเสมือนดอกเห็ดที่มีความอุดมสมบูรณ์และเติบโตอย่างมากในการศึกษาเรื่องนี้ ดังเช่นของบทความวิชาการต่างๆ และหนังสือเกี่ยวกับการค้นหาหลักฐานและมีการพิสูจน์ การรับรองการมีอยู่จริงสัตว์ประหลาดเหล่านี้ในทุกมุมโลก และสิ่งเหล่านี้ถูกผลิตซ้ำผ่านวรรณกรรมภาพยนตร์ และสื่อต่างๆในปัจจุบัน..

      มนุษย์เชื่อมโยงความอยากรู้อยากเห็นในสิ่งที่เรียกว่าสัตว์ประหลาด โดยการให้ชื่อมันในแต่ละภูมิภาค อย่างในภาคเหนือมีความเชื่อเรื่องแมงสี่หูห้าตา ที่วัดพระธาตุดอยเขาควายแก้วที่เชียงราย  การสร้างประวัติศาสตร์เรื่องราวของมัน เช่น ตำนาน Dracula  ตำนานมนุษย์หมาป่า  ตำนานบิ๊กฟุต ตำนานล็อกเนสส์หรือเนสซี่ ตำนานเยติ หรือตำนานแฟรงเก้นสไตน์ เป็นต้น แหล่งที่อยู่อาศัยแหล่งกำเนิดเช่นในมหากาพย์ของโฮเมอร์ เรื่องโอดีสซี ที่พูดถึงเกาะที่มียักษ์ตาเดียว หรือเมืองของเมดูซ่า  รวมทั้งการพูดพลังอำนาจของมัน หรือการเชื่อมโยงกับเทวตำนาน การเกิดลูกของเทพเจ้าที่เกิดตากการผสมเผ่าพันธุ์ของเทพกับสัตว์ กับมนุษย์ธรรมดา หรือกับเทพด้วยกันและต้องคำสาปที่ทำให้เกิดภาวะความเป็นสัตว์ประหลาด..

   การศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ประหลาด เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับวิธีการที่ร่างกาย ( monster bodies) มีการผสมผสานและจับคู่กัน ภายใต้สิ่งที่ควรแยกออกจากกัน  เช่นการผสมระหว่าง ธรรมชาติ / วัฒนธรรมมนุษย์ / สัตว์ชาย / หญิงคุ้นเคย / ไม่คุ้นเคย เป็นต้น ตั้งแต่แม่มดแอฟริกันและผี Burnt Woman ในออสเตรเลียไปจนถึง Freddy Krueger หรือสัตว์ประหลาดที่เกิดจากการค้นคว้าทดลอง การกินยาหรือสารเคมีที่ทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลง และการกลายเป็นร่างมนุษย์กึ่งหุนยนต์ที่เรียกว่าไซบอร์ก รวมถึงการทำความเข้าใจรูปแบบสัตว์ประหลาดทั้งแบบตะวันตกและแบบตะวันออกภายใต้วิธีการบางอย่างที่คนในสังคมเหล่านั้นได้รับการถ่ายทอดและมีประสบการณ์เกี่ยวกับสัตว์ประหลาดในชุมชนทางชาติพันธุ์ที่แตกต่างกัน ภายใต้เงื่อนไขทางบริบทและช่วงเวลาเฉพาะ...

    คำถามสำคัญก็คือ สัตว์ประหลาดมีอยู่จริงหรือไม่ ความรู้ ความจริงเกี่ยวกับสัตว์ประหลาดถูกสร้างขึ้นอย่างไร และเราจะกำหนด แบ่งแยกประเภทหรืออธิบายมันได้อย่างไรสัตว์ประหลาดและเรื่องเล่าเกี่ยวกับสัตว์ประหลาดมีบทบาทอย่างไรในวัฒนธรรมตรรกะของความชั่วร้ายยังคงอยู่ตลอดเวลาหรือแต่ละยุคยอมรับสัตว์ประหลาดที่แตกต่างกันหรือไม่ดังเช่นหนังซุปเปอร์ฮีโร่ที่ตัวพระเอกคือสัตว์ประหลาดผู้ชั่วร้าย ที่ไม่ต้องสร้างภาพแบบดูดี.. 

    แนวคิดที่ว่ามอนสเตอร์เป็นผู้ผิดปกติและไร้ระเบียบ ที่ให้แนวทางกับเราในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นความปกติและความผิดปกติในสังคม แนวคิดที่ว่าความชั่วร้าย ที่เป็นเสมือนสัตว์ประหลาดในร่างมนุษย์ที่ปกติ ดังนั้นภาวะของการเป็นสัตว์ประหลาด(monsternization) ไม่ได้เป็นเพียงแค่ความกลัวตัวเองของมนุษย์ที่ผิดปกติหรือร่างกายที่ผิดปกติไปจากมาตรฐานของสังคม แต่ยังรวมถึงความท้าทายต่อรอง ภายใต้การสร้างตัวตนปกติและร่างกายปกติ หรือตัวตนที่ไม่ปกติและร่างกายที่ไม่ปกติ เพื่อต่อสู้ต่อรองกับอะไรบางอย่าง เช่นเดียวกับปางของเจ้าแม่กาลีที่ต้องแสดงด้านของความชั่วร้ายเพื่อต่อสู้กับยักษ์อสูรหรือความไม่ยุติธรรม หรือHulk เจ้ามนุษย์ยักษ์ตัวเขียวที่ใช้อารมณ์ความโกรธของตัวเอง และใช้ร่างกายที่มหึมาในฐานะของสัตว์ประหลาดในการทำลายความชั่วร้ายต่างๆ..


อ้างอิง


Cohen, Jeffrey Jerome. 1996. “Monster Culture (Seven Theses).” In Monster Theory, edited by J. J. Cohen, 3–25. Minneapolis: University of Minnesota Press

Foucault, M. 2003. Abnormal: Lectures at the College de France, 1974-1975, eds V. Marchetti, A. Salomoni, and A. Davidson. New York: Picador. 

Kearney, R. 2003. Strangers, Gods and Monsters. London & New York: Routledge.

Levina, M. and Diem-My T. Bui, eds. 2013. Monster Culture in the 21st Century: A Reader. London & New York:Bloomsbury.

Musharbash, Y and G. H. Presterudstuen, eds. 2014. Monster Anthropology in Australasia and Beyond. New York



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...