ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2021

โควิดกับการมองการแก้ปัญหาและปัญหาเชิงพฤติกรรมและโครงสร้าง

 ระหว่างสนทนากับพ่อที่ต่างจังหวัด เราคุยกันเกี่ยวกับเรื่องโควิดถามข่าวกันด้วยความเป็นห่วงใยกัน..คำถามของพ่อคือ ทำไมงบประมาณมากมายของรัฐบาล ถึงไม่เอามาแก้ปัญหาโควิดเช่นการซื้อวัคซีนมาฉีดให้คนอย่างทั่วถึง..คำพูดที่พ่อมักพูดกับผมคือดูแลตัวเองให้ดี เพราะฟ้าใสยังเล็กอยู่ ส่วนพ่อแม่แก่แล้วไม่ต้องเป็นห่วง...คำพูดนี้กระแทกหัวใจของผมและคิดเกี่ยวกับประเด็นเรื่องนี้ที่อยากสะท้อนความคิดของตัวเอง โดยเอาเลนส์มานุษยวิทยากับสุขภาพมามองต่อปรากฏการณ์นี้ ได้ดังนี้    ท่ามกลางภาวะวิกฤตสุด...คนที่มีวิสัยทัศน์ก้าวไกลจะออกมาเผชิญหน้าอย่างกล้าหาญและจัดการปัญหาอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ...    ท่ามกลางภาวะวิกฤต คนที่ขี้ขลาดจะไม่ทำอะไรและจัดการปัญหาอย่างไร้ประสิทธิภาพและไร้ทิศทาง...    ท่ามกลางภาวะวิกฤต เรามักจะเห็นผู้กล้าที่เป็นคนเล็กคนน้อยที่พยามเอาตัวรอด และแก้ปัญหาด้วยต้นทุนและศักยภาพที่ตัวเองมี พร้อมจะช่วยเหลือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตัวเอง ในภาวะนี้ เราจะเห็นองค์กรภาคีต่างๆทั้งรัฐและเอกชน สื่อสารมวลชน มาร่วมมือกันในการหาทางออกแก้ไขปัญหา ทั้ง พ่อเมือง ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที...

ร่างกายและการสัก โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

 ผมได้หนังสือจากน้องชายที่เป็นอัยการส่งมาให้ เกี่ยวกับเรื่องของการสักอีสาน ที่เป็นหนังสือนิทรรศการภาพถ่ายการสักขาลาย ที่ศิลปะดังกล่าวปรากฏผ่านเรือนกายของผู้สูงอายุที่เป็นเจ้าของร่างกาย หนังสือเล่มนี้สวยและให้ภาพถ่ายเพื่อเก็บเป็นเอกสารหลักฐานทางประวัติศาสตร์ สิ่งที่น่าเสียดายคือลวดลายที่ปรากฏในภาพ ที่สามารถนำไปวิเคราะห์เชื่อมโยงถึงความหมายในเชิงสัญลักษณ์ได้หากมีการศึกษาที่ลึกซึ้ง ผมเองเลยอยากเขียนเชื่อมโยงกับสิ่งที่ตัวเองเคยอ่านเรื่องราวของการสักในทางวิชาการมาบ้าง...         ประวัติศาสตร์ของการสัก เป็นสิ่งที่หาร่องรอยชัดเจนได้ยาก แม้ว่าคำศัพท์ของคำว่าการสัก (Tattoo) เป็นสิ่งที่ไม่ได้ปรากฏจนกระทั่ง James Cook เดินทางไปที่เกาะโพลีนีเซียนในช่วงศตวรรษที่18 (Jill A. Fisher,2002) โดยการนำน้ำหมึกมาประทับลงบนเรือนร่างมีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน     Jones (2000) เสนอว่าคำศัพท์ในสมัยกรีก มีการใช้คำว่าการตีตราหรือStigma(ta) ซึ่งเป็นหลักฐานที่ชี้ให้เห็นเกี่ยวกับการสักและบ่งชี้ว่าการสักคือสิ่งที่มีมาอย่างยาวนานและถูกส่งผ่านไปยังยุคโรมัน โดยการเชื่อมโยงระหว่างคำว่า ...

ความรักผ่านมุมมองนักมานุษยวิทยา โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

 ความรักในทัศนะของข้าพเจ้า “รักนั้นเป็นฉันใด ใคร ใครบ้างจะรู้..”(คำขึ้นต้นในเพลงรัก ของ ธีร์ ไชยเดช)     ความรักคืออะไร คำถามนี้ค่อนข้างตอบยาก หากจะตอบแบบโรแมนติกก็คงบอกว่ารักคือการให้ รักคือความสวยงามรักคือการไม่ครอบครอง ถ้าหากตอบแบบพวกลัทธิสงสัยนิยมหรือ ก็คงตั้งคำถามเกี่ยวกับความรักว่า รักแท้มีจริงหรือไม่. ..บางพวกที่ต่อต้านความคิดแบบแก่นสารนิยม (essentialism) อาจปฏิเสธว่ารักแท้ไม่มีมีแต่สิ่งที่เกิดจากการประกอบสร้าง .. แต่หากเรามองว่ามันเป็นเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึกที่มันแกว่งไปมา ขึ้นลง เดี๋ยวมี เดี๋ยวหาย เดี๋ยวรัก เดี๋ยวเลิก มันคือสิ่งที่อยู่ภายใน วัดยาก เข้าใจยาก..มันก็ยิ่งตอบยากไปอีกเมื่อมันเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล เป็น self experience คนมีความรักเท่านั้นถึงจะเข้าใจความรัก คนอกหักเท่านั้นถึงจะรู้ถึงสิ่งที่เรียกว่าความเจ็บปวด..      เอาเป็นว่าในทัศนะของผมความรักมันคือส่วนประกอบที่อาจจะเล็กหรือใหญ่ในชีวิตของคนทุกคน ไม่ว่าคุณจะรักตัวเอง  รักคนอื่น รักสัตว์ รักต้นไม้ รักพ่อแม่  รักโลก รักธรรมชาติ หรือรักข้างเดียว รักสังคม รักประเทศ รักสถาบัน มันก็ค...

ความสกปรก ความสะอาดและข้อห้าม โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

 ระหว่างนั่งอ่านหนังสือของแมรี่ ดักลาส เพื่อร่างประเด็นที่จะสอนในเทอมหน้า...ทำให้เห็นมุมมองในประเด็นเกี่ยวกับมนุษย์และเชื้อโรคที่น่าสนใจและสามารถขบคิดกับประเด็นเหล่านี้ต่อได้อีกหลากหลายแง่มุม เลยร่างความคิดไว้เดี๋ยวลืม ...เพราะนึกถึงกะลาตาเดียวที่เจ้าวัดกะเหรี่ยงแจกพี่น้องในช่วงโควิด กรณีสลัมคลองเตย ความเกลียดกลัวคนเป็นโควิด..เป็นต้น   ขอเริ่มจากคำกล่าวของแมรี่ ดักลาสที่ว่า  “The human body is alway treated as an image of society”. หรือร่างกายมนุษย์ได้รับการปฏิบัติในฐานะภาพลักษณ์ของสังคมเสมอมา....       ร่างกายมนุษย์สัมพันธ์กับเรื่องของความสะอาดและความสกปรกที่เชื่อมโยงกับภาวะชายขอบ ความเป็นอันตรายและความเจ็บป่วย ในฐานะของสิ่งที่สะท้อนให้เห็นความคิดและการปฏิบัติที่มีต่อเรื่องดังกล่าว ดังที่แมรี่ ดักลาสบอกว่า  “ที่ใดมีสิ่งสกปรก (Dirt) ที่นั่นย่อมมีระบบ(System) สิ่งสกปรกถือเป็นผลพลอยได้ที่เกิดจากการจัดลำดับและการจำแนกแยกประเภทของสสารหรือสิ่งต่างๆอย่างเป็นระบบ ไปจนถึงการสร้างกฏเกณฑ์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการปฏิเสธองค์ประกอบบางอย่างที่ไม่เหมาะสม”....  ...