ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

โควิดกับการมองการแก้ปัญหาและปัญหาเชิงพฤติกรรมและโครงสร้าง

 ระหว่างสนทนากับพ่อที่ต่างจังหวัด เราคุยกันเกี่ยวกับเรื่องโควิดถามข่าวกันด้วยความเป็นห่วงใยกัน..คำถามของพ่อคือ ทำไมงบประมาณมากมายของรัฐบาล ถึงไม่เอามาแก้ปัญหาโควิดเช่นการซื้อวัคซีนมาฉีดให้คนอย่างทั่วถึง..คำพูดที่พ่อมักพูดกับผมคือดูแลตัวเองให้ดี เพราะฟ้าใสยังเล็กอยู่ ส่วนพ่อแม่แก่แล้วไม่ต้องเป็นห่วง...คำพูดนี้กระแทกหัวใจของผมและคิดเกี่ยวกับประเด็นเรื่องนี้ที่อยากสะท้อนความคิดของตัวเอง โดยเอาเลนส์มานุษยวิทยากับสุขภาพมามองต่อปรากฏการณ์นี้ ได้ดังนี้

   ท่ามกลางภาวะวิกฤตสุด...คนที่มีวิสัยทัศน์ก้าวไกลจะออกมาเผชิญหน้าอย่างกล้าหาญและจัดการปัญหาอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ...

   ท่ามกลางภาวะวิกฤต คนที่ขี้ขลาดจะไม่ทำอะไรและจัดการปัญหาอย่างไร้ประสิทธิภาพและไร้ทิศทาง...

   ท่ามกลางภาวะวิกฤต เรามักจะเห็นผู้กล้าที่เป็นคนเล็กคนน้อยที่พยามเอาตัวรอด และแก้ปัญหาด้วยต้นทุนและศักยภาพที่ตัวเองมี พร้อมจะช่วยเหลือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตัวเอง ในภาวะนี้ เราจะเห็นองค์กรภาคีต่างๆทั้งรัฐและเอกชน สื่อสารมวลชน มาร่วมมือกันในการหาทางออกแก้ไขปัญหา ทั้ง พ่อเมือง ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่บุคลากรทางการแพทย์ ที่วางเงื่อนไข กฏเกณฑ์ในการควบคุมดูแลพี่น้องของตัวเอง โดยที่ไม่ต้องรอคอยความหวังจากผู้มีอำนาจบริหารสูงสุดแห่งรัฐ อย่างชุมชนที่ผมอยู่พวกเราบอกต่อกันในเฟสชุมชนคนสามพรานในการดูแลกันเองไม่ต้องรอประกาศใครทั้งการใส่หน้ากาก การอยู่ในบ้านตั้งแต่ช่วงเวลา 21.00-05.00น. ที่ไม่ออกจากบ้านไปเที่ยวหรือพบปะกันข้างนอก เกิดเป็นประเด็นการสร้างการป้องกันร่วมกันเพื่อสกัดโควิด19..เป็นต้น

   เราจะเห็นการทำงานของเครือข่ายในระดับต่างๆเพื่อนำเสนอปัญหาและทำความเข้าใจปัญหาอย่างรอบด้านเพิ่มมากขึ้น ..ที่ยิ่งตอกย้ำความไร้ประสิทธิภาพขององค์กรที่ประชาชนเลือกเข้ามาทำหน้าที่บริหารประเทศ..

  มิติทางระบาดวิทยาให้ความสำคัญกับ ตัวเชื้อโรค ตัวพาหะ สิ่งแวดล้อม (Host , Agent and environment) ดังนั้นการทำความเข้าใจบริบทวิถีชีวิตของแรงงาน การกิน การพักอาศัย  การทำงาน จึงมีความสำคัญ เหมือนที่ตัวเองเคยลงแหล่งชุมชนที่แออัดและเต็มไปด้วยแรงงานหาเช้ากินค่ำ ตึกหลังหนึ่งสองชั้น สามารถซอยเป็นห้องได้มากกว่า10ห้อง บางห้องแรงงานอยู่ด้วยกัน3-5 คน ห้องน้ำเป็นห้องน้ำรวมที่ใช้ร่วมกัน ระหว่าง..ลักษะของตึกที่มืดทึบ แต่ละห้องและทางเดินเต็มไปด้วยของระเกะระกะ ไม่มีแสงสว่างเล็ดลอด คนเหล่านี้ต้องออกไปทำงานหาเข้ากินค่ำ รับจ้าง งานบริการ ทำงานโรงงาน.. ไม่แปลกที่ภาวะการติดเชื้อของกลุ่มคนในพื้นที่เหล่านี้มีเพิ่มสูงขึ้น...มุมมองพวกนี้ต้องถูกสะท้อนให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจวิถีการดำรงชีวิตของผู้คนที่สัมพันธ์กับโรคและความเจ็บป่วย..การแก้ปัญหาต้องแก้รอบด้าน ไม่ใช่เรื่องความเจ็บป่วยอย่างเดียว ต้องมองภาวะระหว่างเจ็บป่วยและหลังเจ็บป่วยด้วย..

  สิ่งหนึ่งคือเราต้องยอมรับเรื่องความไม่เท่าเทียม ความไม่ยุติธรรม หรือความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่จริงในสังคมของเรา.. การมองประเด็นเรื่องโควิดเป็นเรื่องเฉพาะตัว ใครมีเงิน ใครมีโอกาสที่ดีกว่าย่อมเข้าถึงบริการสุขภาพ สามารถเข้าถึงวัคซีนได้ก่อนคนอื่น นอกจากจะเป็นความเข้าใจที่บิดเบี้ยว ผิดร่องผิดรอยหรือแยกส่วนของการมองปัญหาแล้วนั้น ก็ยังไม่สามารถนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างองค์รวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องเอาเรื่องการถอดบทเรียนอิสราเอลมาใช้ในประเทศเรา. เพราะแค่การใช้งบประมาณให้คนในประเทศเข้าถึงวัคซีนในทุกกกลุ่มอย่างทั่วถึงยังไม่สามารถทำได้หรือทำได้ยาก..รวมถึงความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับทั้งโรงพยาบาล มาตรฐานของโรงพยาบาลสนาม ความพร้อมของอุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องช่วยหายใจ เตียงคนไข้ หรือจำนวนบุคลากรทางการแพทย์  ความสามารถในการจ่ายเงินของคนไข้ในการตรวจวินิจฉัยโรค และอื่นๆ

   ที่กล่าวมาคือปัญหาในเชิงโครงสร้าง ที่มีความสำคัญพอๆกับปัญหาเรื่องพฤติกรรมส่วนบุคคลของคน ในการเที่ยวสถานบันเทิง การจัดปาร์ตี้ การรวมกลุ่มกัน การไม่สวมหน้ากาก การแพร่เชื้อ หรือการเคลื่อนย้ายของผู้คนฯลฯ ที่มีส่วนในการแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้อย่างปฎิเสธไม่ได้ ยังรวมถึงการขาดความรู้เกี่ยวกับโรค หรือความเชื่อและความไม่รู้สึกเกี่ยวกับความร้ายแรงของโรค การมีมุมมองว่าโควิดคือไข้หวัด เป็นแล้วเดี๋ยวก็หาย เป็นต้น..เพราะเป็นโรคใหม่

  ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น มันคงไม่ใช่แค่ความเจ็บป่วยทางกาย แต่ยังรวมถึงความเจ็บป่วยและความทุกข์ทางสังคม(social suffering) ที่เกิดจากความไม่ยุติธรรมธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับความ้จ็บป่วย การเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพ สิทธิทางสุขภาพที่ควรได้รับ การต้องรักษาตัวเองทีทำให้ขาดรายได้ในการเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัว โดยเฉพาะคนในระดับล่างที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม หรือมีประกันทางสุขภาพ ยังไม่นับภาวะการถูกตีตราจากคนรอบข้างภายหลังจากออกจากโรงพยาบาล เพราะโควิดถือเป็นโรคใหม่ หลายคนยังมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้น้อย อีกทั้งโรคนี้ยังไม่มียารักษา รวมถึงข่าวสารข้อมูลที่ได้รับอย่างหลากหลายได้ขยายไปสู่ความรู้สึกกลัวต่อความรุนแรงของโรค ในทางตรงกันข้ามยังส่งผลให้คนเหล่านี้ปกปิดอาการของโรค ไม่เข้าสู่กระบวนการรักษาที่เหมาะสม

  การทำความเข้าใจความเจ็บป่วยหรือมิติทางสุขภาพ จึงจะต้องทำความเข้าใจในเชิงวัฒนธรรม ที่เกี่ยวกับความเชื่อที่เขื่อมโยงกับการให้ความหมายและการปฏิบัติต่อความเจ็บป่วย  โครงสร้างทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง  รวมทั้งสถาบันทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับโรคความเจ็บป่วย ทั้งรัฐบาล กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค เจ้าหน้าที่ บุคลากรทางการแพทย์  สังคม ชุมชน  จนถึงตัวปัจเจกบุคคลแต่ละคน

  สังคมไม่ได้ต้องการผู้บริหารที่อ้างตัวเองว่ามีอำนาจเหนือมนุษย์คนอื่น ไม่ยอมรับฟังคนอื่น แต่ต้องการมนุษย์ธรรมดาที่เข้าใจธรรมชาติของความเป็นมนุษย์และอ่อนโยนต่อความเป็นมนุษย์ มองมนุษย์ทั้งผองที่เท่ากันมาบริหาร..

**ห่วงใยทุกคน โดยเฉพาะพ่อแม่นะครับ...

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...