ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Decolonizing Methodologies ของ Linda Smith. วิพากษ์ความรู้ของเจ้าอาณานิคม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

หาวัตถุดิบลง Blog ….ว่าด้วยการวิพากษ์ความรู้ หนังสือชื่อ Decolonizing Methodologies (1999) เขียนโดย Linda Tuhiwai Smith (เชื้อสายเมารีชาวนิวซีแลนด์) ซึ่งสรุปแนวคิดหลักและประเด็นสำคัญจากทั้งเล่มอย่างเป็นระบบ โดยแบ่งเป็น 5 หัวข้อหลัก ประกอบด้วย 1. Colonialism & Research – งานวิจัยในฐานะเครื่องมือของจักรวรรดินิยม 2. Decolonizing Knowledge – การฟื้นฟูอำนาจของความรู้ท้องถิ่นและชนพื้นเมือง 3. Indigenous Research Projects – รูปแบบการวิจัยที่ชุมชนเป็นผู้กำหนดเอง 4. Ethical Frameworks – จริยธรรมและอำนาจในการกำหนดการวิจัย 5. Institutional Change – การเปลี่ยนแปลงในมหาวิทยาลัยและสถาบันวิชาการ คำถามของนักวิจาการจากประเทศอาณานิคม มัก ตั้งคำถามว่า การวิจัยคือเครื่องมือของอาณานิคมใช่หรือไม่ ซึ่ง Smith เริ่มต้นด้วยประโยคอันทรงพลังว่า “Research is probably one of the dirtiest words in the indigenous world’s vocabulary.”ซึ่งหมายถึง งานวิจัยเคยถูกใช้เป็นเครื่องมือควบคุมและจัดการชนพื้นเมือง เช่น การวัดกะโหลก, การจัดจำแนกเชื้อชาติ, การสร้างภาพว่าชนพื้นเมืองล้าหลังหรือป่าเถื่อน โดยแนวคิดนี้นำไปสู่การเรียกร้องให้ “เลิกใช้” วิธีวิจัยแบบอาณานิคม และ “สร้างใหม่” ผ่านวิธีวิจัยที่ยึดโยงกับผู้ถูกวิจัยมากขึ้น โดยในหนังสือเล่มนี้มีคำสำคัญ (Key Concepts & Terms) ที่น่าสนใจ ได้แก่ Decolonization คือ การปลดปล่อยความรู้จากอำนาจอาณานิคม Indigenous Epistemology คือ ระบบความรู้ของชนพื้นเมือง ซึ่งความรู้ของชนพื้นเมืองถูกละเลยหรือด้อยค่าโดยระบบอาณานิคม Smith เสนอให้ยอมรับ ความรู้ในรูปแบบอื่น ๆ เช่น ตำนาน นิทาน เพลง พิธีกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น Self-determination คือสิทธิในการกำหนดอนาคตและความรู้ของตนเอง ผ่านการให้ชื่อ (Naming) และอธิปไตยในการเล่าเรื่อง ตัวอย่างเช่น ชนพื้นเมืองถูกตั้งชื่อและจัดจำแนกโดยคนนอก (เช่น “primitive,” “backward,” “exotic”) ซึ่ง Smith เสนอว่า สิ่งสำคัญในการปลดปล่อยอาณานิคม คือ การเรียกชื่อ-ตนเอง (self-naming) ตัวอย่างเช่น กลุ่มเมารีในนิวซีแลนด์ที่รณรงค์ให้ใช้ชื่อภาษาตนเองในโรงเรียนและสถานที่ราชการ Critical Methodology คือวิธีวิทยาที่ตั้งคำถามกับอำนาจและโครงสร้างเดิม Refusal คือการปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลหรือเข้าร่วมวิจัยที่กดขี่ และ Storytelling as Knowledge คือ การเล่านิทานเป็นการถ่ายทอดความรู้ ผมชอบคำว่า Decolonization (การปลดปล่อยตัวเอง จากอาณานิคม) ที่ไม่ใช่แค่การถอนตัวของเจ้าอาณานิคมจากดินแดน แต่คือ การสร้างทางเลือกด้านวิธีวิทยา, การสะท้อนอำนาจความรู้, และการกำหนดกลับมาให้ความสำคัญกับการกำหนดคุณค่าทางสังคมโดยชุมชนเอง ดังนั้นหลักฐานเชิงประจักษ์หลายชิ้น ชี้ให้เห็นว่า งานวิจัย (research) เป็นเครื่องมือที่อาณานิคมนำมาใช้เพื่อควบคุมพื้นที่ จัดจำแนกมนุษย์ และผลิตความรู้ที่สนับสนุนการปกครอง ที่ทำให้การเขียนประวัติศาสตร์ของชนพื้นเมืองส่วนใหญ่ มักเขียนโดยคนนอก คนที่มีสถานะทางเศรษฐกิจสังคมที่เหนือกว่า ด้วยมุมมองของผู้ปกครองมากกว่าผู้ถูกปกครอง ดังเช่น ตัวอย่างของนักเดินเรือจากประเทศ๖ะวันตก ที่เป็นเจ้าอาณานิคม ที่เรารู้จัก นักสำรวจที่มีชื่อเสียงในศตวรรษที่ 19 อย่าง James Cook บันทึกว่าชนพื้นเมือง “ดุร้าย” และ “ขาดวัฒนธรรม” ซึ่งกลายเป็นเหตุผลในการล่าอาณานิคมในนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย คำถามที่ท้าทายและน่าคิดต่อคือ ใครคือผู้มีสิทธิเขียนประวัติศาสตร์ของเรา(ชนพื้นเมือง)? ทำไมงานวิจัยแบบวิทยาศาสตร์ตะวันตกถึงถูกมองว่า “เป็นกลาง” แต่ความรู้ของชนพื้นเมืองกลับถูกมองว่า “งมงาย”? และไร้เหตุผล? นั่นคือเรื่องของอคติทางความรู้ และการ Takeside ความเชื่อ ความรู้ที่ตัวเอง คุ้นชิน การเมืองของอาณานิคม (Colonizing Knowledges) ปรากฏผ่านความสัมพันธ์เชิงความรู้และอำนาจ โดยเฉพาะการจัดหมวดหมู่ความรู้แบบตะวันตก เช่น วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา มานุษยวิทยา มีรากฐานจากการ “ศึกษา” ผู้อื่นในฐานะ “วัตถุ” ทำให้ความรู้ของชนพื้นเมือง (Indigenous Knowledge) ถูกลดทอน จัดอยู่ในระดับล่างสุดของสิ่งมี่เรียกว่า ลำดับชั้นของความรู้ ดังเช่น ระบบการรักษาของชาวเมารี ซึ่งเชื่อมโยงร่างกาย วิญญาณ บรรพบุรุษ และสิ่งแวดล้อม ถูกมองว่า ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ จึงนำไปสู่ความรู้ ที่ไม่ถูกรับรองในระบบสุขภาพสมัยใหม่ นักวิชาการแนววิพากษ์ จึงเสนอสิ่งที่่เรียกว่า ระเบียบวิธีวิจัยแบบทำลายอาณานิคม (Decolonizing Methodologies) โดยเสนอทางเลือกการทำวิจัยที่ยึดโยงกับชุมชน ผ่านการนำแนวคิดการวิจัยที่ควบคุมโดยชุมชน ( Community-Controlled Research ) มาใช้ ที่เน้นว่า โครงการวิจัยที่ดี ควรเกิดจากความต้องการของชุมชน ไม่ใช่คำถามของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย เช่น โครงการวิจัยสุขภาพของชาวเมารี ที่ชาวบ้านเป็นผู้ร่วมออกแบบคำถาม เก็บข้อมูล วิเคราะห์ และตีความผลการศึกษาด้วยตนเอง กระบวนการวิจัยแบบอาณานิคมทำให้ผู้ถูกวิจัยกลายเป็น “วัตถุศึกษา” ไร้เสียง โดย Smith เสนอให้เกิดการ “คืนสิทธิ” ในการควบคุมงานวิจัยกลับคืนสู่ชุมชน หรือที่เธอเรียกว่า “Self-determination in research” ตัวอย่าง ในอดีต ชนพื้นเมืองถูกเก็บดีเอ็นเอไปศึกษาโดยไม่รู้ตัว เช่น โครงการ Human Genome Diversity Project ซึ่งชนพื้นเมืองบางกลุ่มขัดขืนและยกเลิกการมีส่วนร่วมเพราะเห็นว่าเป็น “biocolonialism” โดยSmith เสนอ 25 รูปแบบการวิจัยของชนพื้นเมือง ที่ควรสนับสนุน เพื่อปลดแอกอาณานิคมของความรู้ อาทิเช่น Reclaiming คือ การทวงคืนที่ดิน ประวัติศาสตร์ ภาษา (เช่น รณรงค์เปลี่ยนชื่อเมืองกลับเป็นชื่อภาษาพื้นเมือง) Renaming คือ เปลี่ยนคำที่กดทับ (เช่น จาก “เผ่าล้าหลัง” เป็น “กลุ่มชาติพันธุ์”) Storytelling คือ เล่านิทานพื้นบ้านเพื่อส่งต่อความรู้ระหว่างรุ่น Protecting คือ การปกป้องพืชพันธุ์ พิธีกรรม สมุนไพร จากการถูกขโมย และCelebrating Survival คือการเฉลิมฉลองว่าชนพื้นเมืองยังอยู่รอดได้ท่ามกลางการกดขี่ Smith แสดงความกังวลเกี่วยวกับสถาบันที่ผลิตความรู้และงานวิจัย อย่างเช่น มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นสถาบันการศึกษายังคงผลิตวิธีวิทยาที่กดทับ เธอเรียกร้องให้มีพื้นที่สำหรับ “ภาษา ความรู้ และพิธีกรรม” ของชนพื้นเมืองในมหาวิทยาลัย โดยเสนอแนวคิด Self-determination คือการให้สิทธิของชุมชนในการควบคุมคำถาม กระบวนการ และการใช้ข้อมูลในงานวิจัย Refusal คือ สิทธิของชุมชนในการปฏิเสธการเข้าร่วมวิจัย หรือแนวคิด ความปลอดภัยทางวัฒนธรรม Cultural Safety คือ การวิจัยที่ไม่ทำร้าย ไม่ตัดสิน และยอมรับความแตกต่างของวัฒนธรรม และ Knowledge Sovereignty คือ อธิปไตยของชุมชนในการดูแลความรู้ เช่น พันธุกรรม ภาษา อาหารและสมุนไพร เป็นต้น ดังนั้นผมว่า หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่แค่การวิพากษ์ “ตะวันตก” หรือ “อาณานิคม” แต่เป็นการ สร้างพื้นที่ใหม่ให้กับความรู้ของผู้ถูกกดทับ โดยเฉพาะในฐานะผู้วิจัยที่มีอำนาจร่วมในการนิยามตนเอง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พิธีกรรม สัญลักษณ์ และ Victor Turner โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

  พิธีกรรมวิเคราะห์แบบ  Victor turner  ที่ได้รับอิทธิพลทางความคิดจาก  Arnold Van Gennep  ที่มองภาวะภายในของจักรวาลที่ถูกจัดการให้มีลักษณะของการเปลี่ยนผ่านหมุนเวียนของช่วงเวลา  (Periodicity)  ที่จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของมนุษย์   จะทำอะไร   จะปลูกอะไร   ชีวิตของมนุษย์ก็เหมือนกับภาวะของธรรมชาติ   ทั้งตัวปัจเจกชนและกลุ่มสังคม ล้วนแล้วแต่เชื่อมโยงสัมพันธ์ไม่มีส่วนใดที่สามารถแยกขาดได้อย่างอิสระ   โดยพิธีกรรมดังกล่าวจะแบ่งออกเป็น  3  ระยะคือ 1.rite of separation  หรือขั้นของการแยกตัว   ถือว่าเป็นส่วนของพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแยกตัวเองจากสถานภาพเดิม   ผ่านพิธีกรรมที่ทำให้บริสุทธิ์  (purification rites)  เช่น   การโกนผม   การกรีดบนเนื้อตัวร่างกาย   รวมถึงการตัด   การสร้างรอยแผลเป็น   การขลิบ  (scarification or cutting)  ที่เกิดขึ้นกับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง 2.rite of transition  เป็นส่วนของพิธีกรรมที่ว่าด้วยการเปลี่ยนสภาพ   โดยบุคคลที่ร่วมในพิธีกรรมจะมีก...

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...