ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วัฒนธรรมและร่างกาย โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

หนังสือชื่อ Culture and the Human Body: An Anthropological Perspective เขียนโดย John W. Burton ที่เขาสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายมนุษย์กับวัฒนธรรมในหลากหลายมิติ ตั้งแต่ชีววิทยา สังคม ไปจนถึงความเชื่อทางศาสนาและอุดมการณ์ หนังสือให้ภาพรวมเกี่ยวกับวิธีที่มนุษย์ปรับเปลี่ยนร่างกายของตนเองและสร้างความหมายผ่านพฤติกรรม วัตถุ และพิธีกรรมทางสังคม ถือเป็นเป็นงานสำคัญที่อธิบายว่าร่างกายไม่ได้เป็นเพียงหน่วยชีวภาพ แต่เป็น “สิ่งก่อสร้างทางวัฒนธรรม” ที่ถูกปรับเปลี่ยนและให้ความหมายในบริบทที่แตกต่างกันทั่วโลก ตั้งแต่การเจาะ การสัก ไปจนถึงศัลยกรรมพลาสติกและเทคโนโลยีร่างกายในอนาคต หนังสือเล่มนี้เปิดมุมมองใหม่ให้กับการศึกษาร่างกายในทางมานุษยวิทยา แนวคิดสำคัญในหนังสือเล่มนี้ ที่ช่วยเปิดมุมมองทางด้านมานุษยวิทยาว่าด้วยร่างกายคือ 1. ร่างกายเป็นผลิตภัณฑ์(Product)ของทั้งชีววิทยาและวัฒนธรรม โดย Burton โต้แย้งว่าร่างกายมนุษย์ไม่ได้มีอยู่เพียงแค่ในแง่ชีวภาพ แต่ยังถูกกำหนดโดยวัฒนธรรม ตัวอย่างเช่น อุดมคติความงามของร่างกาย ในแต่ละสังคมแตกต่างกัน เช่น ร่างกายที่ผอมเพรียวในตะวันตก กับรูปร่างอ้วนอวบอิ่มในบางวัฒนธรรมแอฟริกันที่เชื่อมโยงกับความมั่งคั่งและสมบูรณ์ กลายเป็นมาตรฐานร่างกายและความสวยงามที่สังคมนั้นยอมรับ ดังเช่นร่างกายในสังคมสมัยใหม่ เราจะเห็นฟิตเนสและวัฒนธรรมการออกกำลังกายที่สะท้อนถึงอุดมคติร่างกายที่ “แข็งแรง” และ “ควบคุมได้” หรือการ ศัลยกรรมเสริมความงาม ในเกาหลีใต้ การทำศัลยกรรมเป็นที่ยอมรับในเชิงวัฒนธรรมมากกว่าประเทศอื่น หรือประเด็นการจัดการร่างกายและการใช้ร่างกายในบริบททางสังคมและเศรษฐกิจ เช่น แรงงานและร่างกาย ในบางอาชีพต้องใช้ร่างกายอย่างเข้มข้น เช่น นักกีฬาโอลิมปิก ที่ต้องควบคุมอาหารและออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายบรรลุศักยภาพสูงสุด แรงงานในโรงงาน ที่ต้องใช้ร่างกายในรูปแบบซ้ำ ๆ จนเกิดปัญหาสุขภาพ หรือSex Work ที่ใช้อารมณ์และร่างกายเป็นสินค้า ผ่านอุตสาหกรรมเซ็กส์ (Sex Industry) ที่เปลี่ยนร่างกายให้เป็น “สินค้า” เช่น อุตสาหกรรมเว็บแคมและการขายภาพ OnlyFans เป็นต้น รวมถึงการค้าอวัยวะผิดกฎหมาย ซึ่งสะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและการเข้าถึงบริการสุขภาพ 2. ร่างกายเป็น “วัตถุ” (Object) ทางวัฒนธรรม มนุษย์ใช้ร่างกายเป็นสื่อกลางในการแสดงอัตลักษณ์และสถานะทางสังคม ตัวอย่างเช่น การสักและการเจาะร่างกาย ซึ่งอาจเป็นเครื่องหมายของชนเผ่า กลุ่มชาติพันธุ์ สัญลักษณ์ทางศาสนา หรือการต่อต้านวัฒนธรรมกระแสหลักก็ได้ หรือการดัดแปลงร่างกายในวัฒนธรรมต่าง ๆเช่น การรัดเท้าในจีนโบราณ เป็นค่านิยมที่สะท้อนถึงอุดมคติความงามและสถานะทางสังคมของสตรี หรือ การขยายคอของชาวกะเหรี่ยง (Karen Padaung): ใช้ห่วงทองแดงเพื่อทำให้คอยาวขึ้น ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความงามและอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ Burton มองว่า วัฒนธรรมเกี่ยวโยงกับร่างกายในเชิงสุนทรียะ ความงาม (Body Culture and Aesthetics มาตรฐานความงามเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นทางสังคมและเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ตัวอย่างเช่น การแต่งหน้าของเกอิชา ในญี่ปุ่น ที่เป็นทั้งศิลปะและสัญลักษณ์ของความสง่างาม หรือกระแส Korean Beauty ซึ่งส่งออกค่านิยมด้านศัลยกรรมความงามไปทั่วโลก 3. การควบคุมร่างกาย (Body Regulation) วัฒนธรรมมีบทบาทในการควบคุมพฤติกรรมทางร่างกาย เช่น การแต่งกาย มารยาททางสังคม และข้อห้ามเกี่ยวกับร่างกาย ตัวอย่างเช่นการสวมใส่ฮิญาบของผู้หญิงในอิสลาม ที่ใช้ควบคุมและกำหนดบทบาททางเพศในสังคม หรือการสร้างร่างกายทางเพศ (Gendered Bodies) อย่างเช่นกีฬามวยปล้ำซูโม่ของญี่ปุ่น ไม่ใช่แค่กีฬา แต่เป็นการแสดงออกถึงค่านิยมเกี่ยวกับร่างกายชายในสังคมญี่ปุ่น หรือ การคาดเข็มขัดรัดเอว (Corset) ในยุโรปศตวรรษที่ 19 เป็นเครื่องมือกำหนดบทบาททางเพศ โดยเน้นความงามแบบสตรีชนชั้นสูง สิ่งเหล่านี้สะท้อนสิ่งที่Burton บอกว่า ร่างกายเป็นทั้งสื่อกลางและพื้นที่ของอำนาจ (The Body as a Site of Power and Meaning) ซึ่งร่างกายมนุษย์ถูกควบคุมโดยบรรทัดฐานทางสังคมและโครงสร้างอำนาจ เช่น ศาสนา รัฐ และตลาด ตัวอย่างเช่น กฎหมายเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายในประเทศที่เคร่งศาสนา เช่น อิหร่านบังคับให้ผู้หญิงสวมฮิญา หรือ นโยบายแรงงานที่จำกัดรูปร่างและเพศของผู้ที่สามารถเข้าทำงาน เช่น การเลือกนางแบบตามมาตรฐานรูปร่าง เป็นตัน 4. พิธีกรรมทางสังคมและร่างกาย พิธีกรรมเป็นวิธีการที่วัฒนธรรมสร้างความหมายให้กับร่างกาย เช่น พิธีบรรลุนิติภาวะ (rites of passage) ตัวอย่างเช่น การขลิบ (circumcision) ในชาวยิวและมุสลิม หรือ การยืดริมฝีปากโดยใช้แกนไม้หรือจานดินกลมนัดเข้าไปในริมผีปาก ในสตรีเผ่า Mursi ในแอฟริกา ที่เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนผ่านสถานภาพทางสังคม จากเด็กสู่วัยหนุ่มสาว ดังที่ Burton บอกว่า ร่างกายเป็น “พื้นที่ของอัตลักษณ์” (The Body as Identity and Expression) โดยผู้คนใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือแสดงอัตลักษณ์ เช่น เพศ วัย เชื้อชาติ และสถานะทางสังคม ตัวอย่างเช่น LGBTQ+ และการแสดงอัตลักษณ์ทางเพศ เช่น Drag Queen ที่ใช้ร่างกายและเครื่องแต่งกายเพื่อท้าทายแนวคิดเรื่องเพศ หรือ วัฒนธรรมย่อยของนักเพาะกาย (Bodybuilding Subculture) ที่แสดงความแข็งแกร่งผ่านการเปลี่ยนแปลงร่างกาย ร่างกายถูกใช้ในพิธีกรรมและศาสนา (Rituals and the Sacred Body) เช่น พิธีกรรมใช้ร่างกายเป็นสื่อกลางในการเปลี่ยนแปลงสถานะทางสังคมและศาสนาตัวอย่าง พิธีขลิบ (Circumcision) ของชาวยิวและมุสลิม ที่เกี่ยวข้องกับความบริสุทธิ์และอัตลักษณ์ทางศาสนา หรือ พิธีไถ่บาปด้วยร่างกาย (Self-flagellation) ในบางกลุ่มคริสเตียน ที่ใช้ความเจ็บปวดเป็นวิธีการแสดงความศรัทธา 5. เทคโนโลยีและร่างกาย เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงแนวคิดเกี่ยวกับร่างกาย เช่น การศัลยกรรมพลาสติก อวัยวะเทียม หรือ VR ตัวอย่างเช่น นักกีฬาพาราลิมปิกที่ใช้ขาเทียมไฮเทคซึ่งท้าทายขอบเขตระหว่าง “มนุษย์” กับ “เครื่องจักร”ในปัจจุบัน ดังนั้นประเด็นเทคโนโลยีและร่างกาย (Technology and the Transformed Body) จึงมีความน่าสนใจ โดยเกาฉพาะความรู้ทางการแพทย์และเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงความเข้าใจเกี่ยวกับร่างกายตัวอย่างเช่น Cyborg และ Biohacking เช่น การฝังชิป NFC ในร่างกายเพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อัจฉริยะ หรือ การพิมพ์อวัยวะ 3 มิติ (3D-Printed Organs) ที่ช่วยให้มนุษย์สามารถสร้างร่างกายใหม่ โดยเฉพาะประเด็นร่างกายและอัตลักษณ์ในโลกดิจิทัล ร่างกายในโลกเสมือน โดยอัตลักษณ์ออนไลน์เปลี่ยนความหมายของร่างกายเช่น VTuber ที่ใช้ “ร่างกายดิจิทัล” แทนร่างกายจริง Meta-Human และ AI-generated avatars ที่เบลอเส้นแบ่งระหว่างร่างกายมนุษย์และเครื่องจักร หรือการ Selfies และการสร้างร่างกาย การสร้างตัวตนในโลกออนไลน์ ผ่านวัฒนธรรม Instagram และ TikTok ทำให้ร่างกายกลายเป็น “สินค้า” ที่ถูกบริโภคผ่านไลก์และคอมเมนต์ เป็นต้น คำสำคัญ (Key Terms) 1. Embodiment คือกระบวนการที่วัฒนธรรมแสดงออกผ่านร่างกาย ภายใต้การบ่มเพาะ ปลูกฝัง 2. Body Modification คือ การเปลี่ยนแปลงร่างกายด้วยการสัก เจาะ การมัด การกรีด การร้อย หรือศัลยกรรมร่างกาย 3. Rites of Passage คือ พิธีกรรมเปลี่ยนผ่านในชีวิต เช่น การบรรลุนิติภาวะ การเปลี่ยนสถานภาพ 4. Medical Anthropology คือมานุษยวิทยาทางการแพทย์ ศึกษาความหมายของสุขภาพและโรค 5. Gendered Body คือร่างกายที่ถูกกำหนดโดยเพศและบทบาททางสังคม 6. Technobody คือการผสานร่างกายกับเทคโนโลยี เช่น อวัยวะเทียม เป็นต้น บทสรุปหนังสือ Culture and the Human Body ของ John W. Burton ชี้ให้เห็นว่าร่างกายไม่ใช่เพียงกายภาพ แต่เป็นพื้นที่ของอำนาจ อัตลักษณ์ และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรมสามารถกำหนดวิธีที่มนุษย์เข้าใจและปฏิบัติต่อร่างกายของตนเอง ไม่ว่าจะผ่านศาสนา ความงาม เทคโนโลยี หรือเศรษฐกิจ ร่างกายจึงเป็นทั้งภาพสะท้อนของวัฒนธรรมและเครื่องมือในการสร้างอัตลักษณ์ใหม่ตลอดเวลา

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...