ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ผีในห้าง ความเพลิดเพลินของผู้คนต่อเรื่องผีๆ โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

ผีในห้าง : เมื่อผมเห็นคนแต่งผีเดินเต็มห้าง…มันทำให้ผมรู้สึกเพลิดเพลินมากกว่าความน่ากลัว สินค้าเกี่ยวกับผีวางขายในห้าง ทั้งโดนัท พวกขนมต่างๆล้วนตกแต่งธีมอาโลวีน ผู้คนที่รอเข้าคิวซื้อบัตรชมภาพยนตร์ สัปเหร่อ และธี่หยด ใครว่าผีและความตายขายไม่ได้ เป็นสินค้าไม่ได้….นักมานุษยวิทยาเริ่มทำงาน ด้วยถ่ายภาพและสัมภาษณ์.. ความเพลิดเพลินต่อความกลัวเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบทางอารมณ์ของปัจเจกบุคคลยุคใหม่ สุนทรียศาสตร์ทางวรรณกรรมของเรื่องลึกลับจึงเป็นการตอบสนองต่อความต้องการของผู้อ่านโดยเฉพาะชนชั้นกลางที่มีการศึกษาที่เริ่มต้นจากชนชั้นกลางในอเมริกาและยุโรป (Barrow, 1986; Garoutte, 1992; Treitel, 2004; Tromp, 2006; McGarry, 2008; Monroe, 2008) ที่ทำให้เรื่องผีและวิญญาณกลายเป็นความตื่นเต้นท้าทายของผู้คน เช่นเดียวกับการต่อสู้การใช้ชีวิตในสังคมที่คาดเดาหรือมองไม่เห็นอนาคตได้ เรื่องของผีและวิญญาณของผู้ตายที่เคยเป็นมรดกตกทอดในยุคก่อนสมัยใหม่ เคยถูกมองว่าเป็นความโง่เขลา เป็นความงมงายและเป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์ ไม่ได้ถูกมองเช่นนั้นในปัจจุบัน แต่ผีกลายเป็นองค์ประกอบหนึ่งของความทันสมัย ลัทธิความเชื่อเรื่องผีและวิญญาณกลายเป็น "ศาสนาของคนยุคใหม่" ไปโดยปริยาย (Hochgeschwender, 2011) รวมทั้งผีกลายเป็นสิ่งที่มนุษย์พยามแสวงหาความเชื่อมโยงระหว่างอดีต (ภพชาติ) ปัจจุบัน (การมีชีวิตอยู่) และอนาคต (โลกหลังความตาย) ดังเช่นปรากฏการณ์การค้นหาผีและความสัมพันธ์ระหว่างสื่อวิญญาณกับสื่อเทคโนโลยี (Sconce, 2000): การสื่อสารทางวิญญาณหรือโทรจิตเป็นตัวอย่างหนึ่งที่บอกความเชื่อมโยงนั้นได้ (Noakes, 1999) การถ่ายภาพวิญญาณเป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง (เช่น Chéroux, 2005; Harvey, 2007) เสมือนเป็นแบบจำลองสำหรับการทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้ การมองเห็นกับการมองไม่เห็น หรือการไม่รู้จักไปสู่ความรู้จักเป็นต้น โดย “เทคนิค” และ “ความแปลกประหลาด” (Techniques and Uncanny) นั้นมีความเชื่อมโยงกัน และเชื่อมโยงกับภูมิหลังทางวัฒนธรรมร่วมกัน ตราบเท่าที่สิ่งเหล่านี้ถูกกำหนดภายใต้บริบททางวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่งนั้น ในการตีความว่าความลึกลับนั้นเป็นธรรมชาติหรือไม่เป็นธรรมชาติ หรือเป็นสิ่งที่ค่อนข้างเหนือธรรมชาติ เทคนิคและกระบวนการเหล่านี้ทำให้เกิดภาวะรูปธรรมและนามธรรมที่เชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเกาะเกี่ยวเชื่อมโยงจากประสบการณ์ส่วนบุคคลไปสู่ระดับความคิดทั่วไปพื้นฐานร่วมกันและกลายเป็นประสบการณ์ของกลุ่ม ในสังคมร่วมสมัย เราจะเห็นการจัดฉากเรื่องลึกลับในวรรณกรรม ภาพยนตร์และศิลปะ ดังเช่นเนื้อหาของเรื่องลึกลับ (ผี ปิศาจ สัตว์ประหลาด บ้านผีสิง) รวมถึงเทคนิคด้านสื่อที่ใช้การสร้างเอฟเฟกต์เพื่อให้ดูลึกลับ คำถามที่ท้าทายก็คือ ผี ปิศาจและอสุรกาย มีความน่าขนลุกและลึกลับ เหตุใดวัฒนธรรมร่วมสมัยจึงหมกมุ่นอยู่กับสิ่งเหนือธรรมชาติ สิ่งลี้ลับในยุคก่อน ที่สร้างแรงดึงดูดและมนุษย์ยอมที่จะถูกหลอกหลอน สำหรับ Derrida ผีก็คือผี ผีไม่ใช่สัญลักษณ์ของอดีต แต่สิ่งต่าง ๆ มักถูกจินตนาการออกมาจากปัจจุบันและฉายภาพอนาคตออกมาและเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานทางจริยธรรม (Derrida, 1994) ผีจึงเป็นตัวแทนของอนาคต ผีกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังและเป็นตัวแทนความรับผิดชอบทางจริยธรรมที่ถูกกำหนดขึ้น Derrida (1994) มองว่าการดำรงอยู่และการหลอกหลอนเป็นแนวคิดที่เกี่ยวข้องกัน ภาวะอาการผีสิง เปรียบเหมือนบางสิ่งที่เข้ามาบุกรุกในทุกด้านของชีวิตของเรา ตั้งแต่การเมืองและเทคโนโลยีไปจนถึงวัฒนธรรมและวรรณกรรม ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้เราสามารถบันทึกและย้อนอดีตได้ นับเป็นกระบวนการที่ทำให้พวกเราเริ่มรู้สึกได้ถึงผลกระทบที่แปลกประหลาด ในช่วงศตวรรษที่ 19 เนื่องจากสื่อรูปแบบใหม่ เช่น โทรเลข การถ่ายภาพ และภาพยนตร์ ทำให้เราสามารถจับภาพและควบคุมเวลา นำอดีตกลับมามีชีวิตอีกครั้งและทำให้เราสามารถย้อนเวลากลับไปดูที่บ้านของเราได้ในเวลาว่าง  ในปัจจุบันวิธีคิดเกี่ยวกับผีจึงเปลี่ยนแปลงไป ผีจึงไม่ใช่ Animism ที่มีสภาวะศักดิ์สิทธิ์ด้วยตัวมันเอง ผีไม่ได้เป็นเรื่องทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ ทั้งความเจ็บป่วยและความตายเท่านั้น แต่ปัจจุบันผีถูกทำให้กลายเป็นวัตถุสิ่งของบางอย่างที่ถูกทำให้เกี่ยวโยงกับเรื่องของเศรษฐกิจ การทำให้การกลายเป็นสินค้า ผีเป็นผู้บันดาลความร่ำรวยและโชคลาภ ผีถูกเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมและชุมชนหมู่บ้านก่อนสมัยใหม่ ผีกลายเป็นสิ่งที่โลดแล่นอยู่ในทีวี ภาพยนตร์ เพลง เกม หรือโลกออนไลน์ เช่น รายการล่าท้าผี สำรวจถานที่ที่มีตำนาน เดอะโกตส์เรดิโอ หรือแม้แต่ในวัดก็มีผี ที่เชื่อมโยงกับวิถีของผู้คนในสังคมเมืองที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมหรือมีความเป็นพหุทางวัฒนธรรม และผู้คนต่างๆหยิบฉวยเรื่องของผีมาสร้างให้เกิดมูลค่าในรูปแบบต่างๆ คาเฟ่ผี ร้านอาหารเกี่ยวกับผี งานเทศกาลเกี่ยวกับผี ที่ทำให้ผีทำหน้าที่ที่หลอกหลอน ล่อลวงให้เราหลงใหลไปกับความลึกลับและความน่ากลัว ที่ผลิตซ้ำและตอกย้ำให้ดูราวกับว่าผีมีอยู่จริงและเรารู้สึกถึงเกี่ยวกับมันได้จริงๆ…

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...