****มานุษยวิทยาและการเคลื่อนย้าย...รีวิวความคิดคร่าวๆ (ว่างๆเซ็งๆก็นั่งเขียนงานดีกว่าครับ ก่อนเริ่มทำมคอ.3ป.โท )
การเคลื่อนย้ายมกลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจร่วมกันในโลกแห่งชีวิตของผู้คนที่กำลังปั่นป่วนอลหม่าน การคลื่อนย้ายไม่เพียงแต่เกี่ยวโยงกับผู้คนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงมิติทางวัฒนธรรม มิติทางประวัติศาสตร์ที่บอกเราถึงเรื่องราวที่ซับซ้อนของการเคลื่อนไหวของมนุษย์ ที่เป็นการเคลื่อนไหวที่มีลักษณะซับซ้อน เชื่อมโยงกับจินตภาพทางสังคม และประสบการณ์ (Cresswell, 2006) ผู้คนทั่วโลกเชื่อมต่อถึงกันมานานแล้ว ประชากรมีลักษณะเป็นผู้ที่เคลื่อนไหว และอัตลักษณ์ของพวกเขามักจะลื่นไหล หลากหลายและมีบริบท สิ่งสำคัญในการทำความเข้าใจก็คือเราต้องยอมรับรูปแบบต่างๆ (ในเชิงประวัติศาสตร์ เชิงบริบทของพื้นที่) ที่การเคลื่อนย้ายได้เกิดขึ้น เนื่องจากวิธีการที่ผู้คนเคลื่อนไหวมีความเชื่อมโยงอย่างมากต่ออิทธิพลทางวัฒนธรรมและสังคมของพวกเขา (Casimir and Rao, 1992)
วรรณกรรมในเชิงวิชาการเต็มไปด้วยคำอุปมาอุปมัยที่พยายามอธิบายและสร้างการรับรูการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่และการเคลื่อนไหวเชิงเวลาเช่น การทำลายเส้นแบ่งเดินและสร้างเส้นแบ่งไหม (deterritorialization and reterritorialization )และภูมิทัศน์ หรือ “scapes” (Appadurai, 1996); การบีบอัดของพื้นที่เวลา “time-space compression” (Harvey, 1989), ระยะห่าง “distantiation” (Giddens, 1991) หรือเครื่องหมายวรรคตอน punctuation(Smart and Smart, 2008) สังคมเครือข่ายและพื้นที่แห่งการลื่นไหล “the network society and its space of flows” (Castells, 2000); ความตายของระยะทางและการเร่งความเร็วของชีวิตสมัยใหม่ the death of distance and the acceleration of modern life (Virilio, 2006) และการศึกษาเกี่ยวกับการร่อนเร่ หรือnomadology (Deleuze and Guattari, 1986). ความสนใจทางวิชาการในการเคลื่อนไหวควบคู่ไปกับแนวทางเชิงทฤษฎีที่ปฏิเสธ "อภิปรัชญาประจำที่หรือการอยู่กับที่ตั้ง" “sedentarist metaphysics”(Malkki, 1992) เพื่อสนับสนุน "อภิปรัชญาการร่อนเร่" “nomadic metaphysics”. (Cresswell, 2006) และการศึกษาเชิงประจักษ์เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวประเภทต่างๆ ที่หลากหลายที่สุด ( Adey et al., 2013) รวมถึงการตั้งคำถามเกี่ยวกับการติดต่อระหว่างผู้คน สถานที่ และวัฒนธรรมต่างๆที่ได้รับก่อนหน้านี้ วิธีการใชคำเหล่านี้ ได้ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวและเกิดการสร้างสิ่งที่มากกว่าการเคลื่อนไหวทางกายภาพ (Marzloff, 2005) และนำไปสู่ความคิดที่ค่อนข้างถูกมองว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่ผสมผสานกับความหมายทั้งที่เป็นตัวของตัวเองและการประกอบสร้างกับสิ่งอื่น (Frello, 2008) กล่าวอีกนัยหนึ่ง การเคลื่อนย้าย (Mobilities) สามารถเกิดขึ้นได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น จนกว่าจะถูกทำให้ปรากฏผ่านผู้คน สิ่งของ คำพูด และรูปแบบอื่นๆ ที่เป็นตัวเป็นตน ที่สำคัญก็คือการเคลื่อนย้ายหมายถึงสิ่งที่แตกต่าง สำหรับคนที่แตกต่าง ในสถานการณ์ทางสังคมที่แตกต่างกัน (Adey, 2010)
การเคลื่อนย้าย (Mobilities )เป็นศูนย์กลางในการจัดโครงสร้างชีวิตของผู้คน ในหลายส่วนของโลก การเคลื่อนย้ายเป็นวิธีที่สำคัญในการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมปัจจุบัน เราสามารถระบุ "ผู้เคลื่อนย้าย" (movers) ได้หลายประเภททั้งนักท่องเที่ยวและผู้แสวงบุญ ผู้อพยพและผู้ลี้ภัย นักการทูต นักธุรกิจ และผู้ที่ทำงานให้กับองค์กรระหว่างประเทศ มิชชันนารี คนทำงาน ภาครัฐ ธุรกิจ องค์กรพัฒนาเอกชน และบุคคลที่อยู่ในเครือข่ายข้ามชาติที่มีความหลากหลายมากที่สุด นักเรียน ครู และนักวิจัย นักกีฬาและศิลปิน ทหารและนักข่าว เด็ก และเจ้าหน้าที่บริการ ผู้ติดตามที่มาพร้อมกับบุคคลดังกล่าว และผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมการจราจรและการขนส่งที่เคลื่อนย้ายผู้คน (รวมทั้งตัวเอง) ไปยังที่ต่างๆทั่วโลก
การศึกษาด้านการเคลื่อนย้ายเรียกร้องความสนใจไปยังวิธีการต่างๆ จำนวนมาก ที่ดึงเอาผู้คนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายและการเชื่อมโยงหลายทางที่มีคุณลักษณะไม่เท่าเทียมกันอย่างสูง บางครั้งจะมีการเคลื่อนย้ายโดยไม่สมัครใจหรือถูกบังคับหลายประเภท (ส่วนใหญ่เชื่อมโยงกับสถานการณ์ความขัดแย้ง การกดขี่ข่มเหง หรือภัยคุกคามสิ่งแวดล้อม) แต่กระนั้นเองวาทกรรมที่มีอำนาจเหนือกว่าของประเทศที่ไม่เทียมที่ปรากฏทั่วโลกในปัจจุบันก็ยังคงเชื่อมโยงการเคลื่อนย้ายไปยังคุณลักษณะที่มีคุณค่าในเชิงบวกสามประการ (1) ความสามารถในการเคลื่อนย้าย (2) ความสะดวกหรืออิสระในการเคลื่อนไหว และ (3) แนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงได้ง่ายหรือรวดเร็ว (Salazar, 2010b; Salazar & Glick Schiller, 2014; Salazar and Smart, 2011) สิ่งนี้สามารถถูกแปลเป็นสมมติฐานได้สามข้อโดยส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลจากอุดมการณ์เสรีนิยมใหม่และทุนนิยม ซึ่งแพร่กระจายอย่างกว้างขวางผ่านวาทกรรมและภาพตัวแทนเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ (1) มีการเคลื่อนย้าย (เพิ่มขึ้น) (2) ความคล่องตัวเป็นปรากฏการณ์ที่เห็นได้ชัดในตัวเอง และ (3) การเคลื่อนไหวทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางบวก มักมองว่าเป็นการปรับปรุงสถานภาพของตนเองและเครือญาติ (เช่น ในกรณีของผู้ย้ายถิ่นฐาน) หรือเพื่อผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง (เช่น ในกรณีของคนงานที่เข้าไปทำงานเพื่อสร้างความเจริญให้ประเทศปลายทาง หรือองค์กรพัฒนาเอกชนที่เข้าไปทำงานพัฒนา)
สิ่งสำคัญคือการเน้นย้ำไม่เพียงแต่รูปแบบต่างๆ ของการเคลื่อนไหวข้ามพรมแดนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสร้าง (การผลิตซ้ำ) ของความหมายที่แบ่งปันทางสังคมผ่านแนวปฏิบัติที่หลากหลายของการเคลื่อนย้าย หลายคนเชื่อมโยงการเคลื่อนย้ายทางภูมิศาสตร์โดยสมัครใจกับสัญลักษณ์ “การเลื่อนขึ้น”( moving up)โดยอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม หรือวัฒนธรรม กล่าวอีกนัยหนึ่ง การเคลื่อนย้ายเชื่อว่าเป็นตัวบ่งชี้ถึงการเข้าถึงและการสะสมทุนประเภทต่างๆ ที่หลากหลาย (Bourdieu, 1986) ทำให้เกิดความแตกต่าง ซึ่งย้อนกลับมาสู่การผลิตทางสังคมผ่านแนวคิดเรื่องการเคลื่อนย้ายที่ผันผวนทางวัฒนธรรม เช่น คำว่า "ท้องถิ่น" กับ "ผู้อพยพ" (local versus migrant) ยกตัวอย่างเช่น การเคลื่อนย้ายข้ามชาติมักถูกมองว่าเป็นสัมพันธ์ของความเป็นท้องถิ่นที่นำไปสู่กระแสโลกาภิวัตน์และเป็นหนึ่งในปัจจัยการแบ่งชั้นที่ทรงพลังที่สุด ซึ่งนำไปสู่ลำดับชั้นของการเคลื่อนไหวในที่ต่างๆทั่วโลก (Bauman, 1998) กล่าวอีกนัยหนึ่ง การเคลื่อนไหวของผู้คนและการเชื่อมโยงข้ามท้องถิ่นต่างๆ อาจสร้างหรือเสริมสร้างความแตกต่างและความเหลื่อมล้ำ ตลอดจนการผสมหรือลบความแตกต่างดังกล่าวได้เช่นกัน (Salazar, 2010a)
การเคลื่อนย้ายไม่ได้เป็นเพียงวัตถุประสงค์ของการศึกษาเท่านั้น แต่ยังเป็นเลนส์ในการวิเคราะห์ด้วย ซึ่งสนับสนุนโดยผู้ที่พูดถึงการเคลื่อนย้ายกลับเข้าสู่ทฤษฎีทางสังคม การนำเสนอกระบวนทัศน์การเคลื่อนที่แบบใหม่เพื่อปรับแนวทางที่เราคิดเกี่ยวกับสังคมใหม่ การพลิกกลับของการเคลื่อนไหวนี้บ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่รับรู้ของสังคมศาสตร์เพื่อตอบสนองต่อความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของการเคลื่อนไหวรูปแบบต่างๆ (Urry, 2000; 2007) กระบวนทัศน์การเคลื่อนที่แบบใหม่ได้รวมเอาวิธีการใหม่ๆ ในการสร้างทฤษฎีว่าผู้คน วัตถุ และความคิดเคลื่อนที่ไปอย่างไรโดยการมองปรากฏการณ์ทางสังคมผ่านเลนส์ของการเคลื่อนไหว (Hannam et al., 2006) เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ทางวิชาการของทั้งทฤษฎีการอยู่นิ่งในที่ตั้งและการทำลายดินแดน( theories of sedentism and deterritorialization)
นักทฤษฎีที่ทรงอิทธิพลเช่น Anthony Giddens, Arjun Appadurai, Ulrich Beck, Manuel Castells, Bruno Latour, David Harvey, Zygmunt Bauman และ John Urry ต่างก็นึกถึงลัทธิทุนนิยมร่วมสมัยและโลกาภิวัตน์ในแง่ของจำนวนที่เพิ่มขึ้นและความหลากหลายของการเคลื่อนย้ายในบักษณะที่ลื่นไหล ต่อเนื่อง และมักจะราบรื่น การเคลื่อนไหวของผู้คน ความคิด และสินค้าผ่านและทั่วพื้นที่ (Trouillot, 2003) การเคลื่อนไหวดูเหมือนจะเป็นศูนย์กลางของความทันสมัยอย่างเห็นได้ชัดว่าเป็นกระบวนการทางสังคมที่สำคัญ ผู้คนต่างมีจินตนาการว่าการเคลื่อนย้ายคือการข้ามพรมแดน ราวกับว่าพรมแดนมาก่อน และการเลคื่อนย้ายเป็นสิ่งที่รองหรือตามลงมา” (Ludden, 2003, p. 1062)
การพิจารณาการเคลื่อนย้ายเป็นแนวโน้มตามธรรมชาติในสังคม เป็นธรรมชาติตามความเป็นจริงของชีวิตและเป็นหลักการทั่วไปที่ไม่ค่อยต้องการเหตุผลอะไรมาอธิบายเพิ่มเติม การพึ่งพาและการเคลื่อนย้ายทุนเป็นบรรทัดฐานที่ทำกันทั่วไป อย่างไรก็ตาม วาทกรรมต่างๆที่ใช้เพื่อหารือและตั้งคำถามเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวย่อมได้รับการพิจารณาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (Bergmann and Sager, 2008; Frello, 2008) การวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ของการเคลื่อนไหวมุ่งความสนใจไปที่กระบวนการทางการเมืองและเศรษฐกิจโดยที่ผู้คนถูกจำกัด ถูกวาง อนุญาต หรือถูกบังคับให้เคลื่อนไหว (Abram et al., 2017; Casas-Cortes et al., 2015; Cunningham and Heyman, 2004) การศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการเคลื่อนย้ายนั้นมีเหตุผลสำคัญเสมอ ดังเช่น การเคลื่อนไหวทางกายภาพของผู้คนไม่เพียงนำมาซึ่งการวัดการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงวิวัฒนาการที่สอดคล้องกันของสถาบันและวงจรการเคลื่อนตัวของมนุษย์ (Circuits of human Mobility) ที่มีการกำหนดไว้อย่างดี (Lindquist, 2009, p. 7) ที่สำคัญสาระสำคัญของวงจรดังกล่าวคือ “การเคลื่อนไหวของผู้คน (และเงิน สินค้า และข่าว แต่หลักๆ แล้วคือผู้คน) เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ของความไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ของผู้ที่ไม่ได้เดินทางในวงจร” (Rockefeller, 2010, p. 222) ในการประเมินขอบเขตหรือธรรมชาติของการเคลื่อนไหว หรือแม้แต่ "สังเกต" ในบางครั้ง เราต้องใช้เวลามากในการศึกษาสิ่งที่หยุดนิ่ง (หรือเปลี่ยนแปลงด้วยความเร็วที่ช้าลงมาก)
แม้ว่าประเด็นดังกล่าวจะได้รับความสนใจอย่างเต็มที่ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา นักวิจารณ์บางคนมีความเห็นว่าก็ยังมีความล้มเหลว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมศาสตร์ที่พยามสะท้อนความหมายของการเคลื่อนย้าย (Papastergiadis, 2010, p. 347) เมื่อตระหนักว่าการเคลื่อนย้ายบนโลกที่เห็นในทุกวันนี้ไม่ใช่กระบวนการใหม่ทั้งหมด เรากำลังพูดถึงอะไรจริงๆกันแน่ เมื่อเราดูสภาพของมนุษย์ในปัจจุบัน ผ่านเลนส์ของการเคลื่อนย้ายเชิงวิเคราะห์ แนวความคิดเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวมีประวัติศาสตร์อันยาวนานในด้านมานุษยวิทยา (Salazar, 2013a) สิ่งเหล่านี้มีอยู่แล้วในการแพร่กระจายข้ามวัฒนธรรมช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งเข้าใจการเคลื่อนไหวของผู้คน วัตถุ และความคิดว่าเป็นลักษณะสำคัญของชีวิตทางวัฒนธรรม ในขณะที่มานุษยวิทยาคลาสสิกมักจะเพิกเฉยหรือถือว่าการเดินทางข้ามพรมแดนเป็นการเบี่ยงเบนจากชุมชนที่ผูกกับสถานที่เชิงบรรทัดฐาน ความเป็นเนื้อเดียวกันทางวัฒนธรรม และการรวมตัวทางสังคม
ในช่วงทศวรรษ 1990 โลกาภิวัตน์ซึ่งถูกสร้างทฤษฎีขึ้นมาในแง่ของกระแสการข้ามพรมแดน การเคลื่อนย้ายกลายเป็นลักษณะเด่นของโลกยุคโลกาภิวัตน์สมัยใหม่ สิ่งนี้นำไปสู่จุดสนใจใหม่ในการเคลื่อนย้ายข้ามชาติที่บั่นทอนสิ่งที่เรียกว่าอัตลักษณ์ ดังที่ Arjun Appadurai (1996) ที่กระตุ้นแนวคิดเรื่อง “ethnoscapes” เช่น สิทธิพิเศษของกลุ่มข้ามชาติที่เคลื่อนย้ายได้และบุคคลธรรมดา เช่น ผู้อพยพ ผู้ถูกเนรเทศ นักท่องเที่ยว และพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ตามที่ Aihwa Ong (1999, p. 4) อธิบายว่า “Trans หมายถึงทั้งการเคลื่อนย้ายผ่านอวกาศหรือข้ามเส้นแนวเขต ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของบางสิ่งบางอย่าง” ในขณะที่การศึกษาโลกาภิวัตน์ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น นักมานุษยวิทยาก็หายไปเป็นเวลานานในการอภิปรายในมุมมองแบบสหวิทยาการเกี่ยวกับการศึกษาการเคลื่อนย้าย
ในช่วงเปลี่ยนผ่านของสหัสวรรษ ที่สร้างรอยแตกแยกที่ร้ายแรงในการบรรยายหลักเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายที่เป็นอิสระ ซึ่งมาพร้อมกับวาทกรรมของผลประโยชน์และความจำเป็นของโลกาภิวัตน์ (เศรษฐกิจ) ตามคำกล่าวของ Engseng Ho ผู้ซึ่งศึกษาการเคลื่อนที่ของผู้พลัดถิ่นเก่าที่ข้ามมหาสมุทรอินเดียในช่วงห้าร้อยปีที่ผ่านมา “มานุษยวิทยาแห่งการเคลื่อนไหวแบบใหม่ได้แนะนำความก้าวหน้าทางการสื่อสารแบบโทรเลขซึ่งเคยถูกเย้ยหยันมาก่อน และดูเหมือนมันก็ถูกละทิ้งไปแล้วในปัจจุบัน [... ] ทว่าสังคม วัฒนธรรม และศาสนาต่างก็มีเคลื่อนย้ายมาเป็นเวลานาน” (Ho, 2006, p. 10) นักมานุษยวิทยายังตั้งคำถามถึงธรรมชาติของการเคลื่อนไหวด้วยเพราะ “การละเลยการปฏิบัติที่สร้างวัตถุและกระบวนการของการเคลื่อนย้ายทำให้นักวิเคราะห์ผิดพลาดกับการประกอบสร้างทางเลือกที่ท้าทายการบรรยายภววิทยาของโลกาภิวัตน์อย่างจริงจัง” (Maurer, 2000, p. 688)
ความสามารถในการเคลื่อนที่ "อย่างอิสระ" นั้นแพร่กระจายอย่างไม่เท่าเทียมกันภายในประเทศต่างๆทั่วโลก สำหรับกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายที่สร้างอิสระและสร้างความเชื่อมโยงทั่วโลก ในทางตรงกันข้ามยังมีการส่งเสริมให้เกิดความไม่เคลื่อนไหว มีการกีดกัน และการตัดการเชื่อมต่อด้วย (Cunningham and Heyman, 2004; Salazar and Smart, 2011; Söderström et al., 2013) นี่เป็นการวิพากษ์วิจารณ์อย่างจริงจังต่อวาทกรรมที่เกิดขึ้นจริง โดยไม่ต้องมีการวิจัยใดๆ ที่จะต้องหามารองรับหรือสนับสนุนว่าโลกทั้งโลกกำลังเคลื่อนไหว มีการเคลื่อนย้าย หรือในขณะเดียวกันก็อาจไม่มีผู้คนหรือสิ่งของต่างๆที่เคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนระหว่างประเทศด้วยเช่นกัน” (Friedman, 2545 น. 33)
การเดินทางข้ามชาติยังคงเป็นสิ่งที่มีข้อยกเว้นมากกว่าจะเป็นเรื่องปกติ นักมานุษยวิทยาเป็นหนึ่งในกลุ่มคนแรกๆที่มีการวิพากษ์วิจารณ์และชี้ให้เห็นว่ารูปแบบการเคลื่อนย้ายร่วมสมัยไม่จำเป็นต้องมีความหมายถึงความมีสิทธิพิเศษ (Amit, 2007) ขอบเขตที่ผู้คนต้องเผชิญไม่เพียงมีความเกี่ยวข้องกับการขาดทรัพยากร (ส่วนใหญ่เป็นเศรษฐกิจ) แต่ยังสามารถเชื่อมโยงกับชนชั้นทางสังคม เพศ อายุ วิถีการดำเนินชีวิต ชาติพันธุ์ สัญชาติ และความทุพพลภาพ ซึ่งทั้งหมดนี้ได้รับการกล่าวถึงโดยการวิจัยทางมานุษยวิทยา ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
อ้างอิง
Abram, Simone et al. (2017), “The free movement of people around the world would be utopian”. Identities: Global Studies in Culture and Power, 24 (2): 123-155.
Adey, Peter. (2010), Mobility. London, Routledge.
Adey, Peter et al. (eds.). (2013), The Routledge handbook of mobilities. London, Routledge. Aldenderfer, Mark. (2011), “Editorial: Keywords”. Current Anthropology, 52 (4): 487.
Appadurai, Arjun. (1996), Modernity at large: cultural dimensions of globalization. Minnepolis, University of Minnesota Press.
Bauman, Zygmunt. (1998), Globalization: the human consequences. New York, Columbia University Press.
Bourdieu, Pierre. (1986), “The forms of capital”. In: Richardson, John G. (ed.). Handbook of theory and research for the sociology of education. Westport, Greenwood, pp. 241-258.
Braidotti, Rosi. (1994), Nomadic subjects: embodiment and sexual difference in contemporary feminist theory. New York, Columbia University Press.
Cresswell, Tim. (2006), On the move: mobility in the modern Western world. London,
Routledge.
Cunningham, Hilary & Heyman, Josiah. (2004), “Introduction: Mobilities and enclosures at borders”. Identities: Global Studies in Culture and Power, 11 (3): 289-302.
De Certeau, Michel. (1984), The practice of everyday life. Berkeley, University of California Press. Deleuze, Gilles & Guattari, Félix. (1986), Nomadology: the war machine. New York,Semiotext.
Giddens, Anthony. (1991), Modernity and self-identity: self and society in the late modern age. Stanford, Stanford University Press.
Harvey, David. (1989), The condition of postmodernity: an enquiry into the origins of cultural change. Oxford, Blackwell.
Ho, Engseng. (2006), The graves of Tarim: genealogy and mobility across the Indian Ocean.Berkeley, University of California Press
Peters, John D. (2006), “Exile, nomadism and diaspora: the stakes of mobility in the Wester canon”. In: Morra, Joanne & Smith, Marquard (eds.). Visual culture: spaces of visual culture. London, Taylor & Francis, pp. 17-41.
Salazar, Noel B. (2010b), “Towards an anthropology of cultural mobilities”. Crossings: Journal of Migration and Culture, 1 (1): 53-68.
Salazar, Noel B. (2011), “Tanzanian migration imaginaries”. In: Cohen, Robin & Jónsson,
Gunvor (eds.). Migration and culture. Cheltenham, Edward Elgar, pp. 673-687.
Tsing, Anna L. (1993), In the realm of the diamond queen: marginality in an out-of-the-way place. Princeton, Princeton University Press.
Urry, John. (2000), Sociology beyond societies: mobilities for the twenty-first century. London, Routledge.
Urry, John. (2007), Mobilities. Cambridge, Polity.
Uteng, Tanu Priya & Cresswell, Tim (eds.). (2008), Gendered mobilities. Aldershot, Ashgate. Van den Abbeele, Georges. (1992), Travel as metaphor: from Montaigne to Rousseau. Minneapolis, University of Minnesota Press
เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา... ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่ หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น.. การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร.. ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น