ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ร่างกายสมัยใหม่(MODERN BODIES) โดยนัฐวุฒิ สิงห์กุล

ร่างกายสมัยใหม่(MODERN BODIES)
          กรอบคิดในการมองและการอธิบายร่างกายในสังคมสมัยใหม่อยู่ภายใต้จุดยืนทางทฤษฎีที่มีความแตกต่างกันซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น3ลักษณะคือ 1. การวิเคราะห์แนวการประกอบสร้างทางสังคม(Social Construction analysis)ภายใต้วิธีคิดแบบโครงสร้างนิยม(Structuralism)ที่สร้างให้เกิดลักษณะของร่างกายที่ถูกกำหนดหรือวางกฏเกณฑ์บางอย่าง(Ordered Body) 2.การวิเคราะห์เชิงการกระทำ(Active)และการปรับตัวเชิงปรากฏการณ์วิทยา(Phenomenological) ที่นำไปสู่ร่างกายที่มีชีวิต(live body) 3.แนวคิดร่างกายแบบStructuration theoryที่มองความสัมพันธ์ของโครงสร้าง(Structure)และความเป็นผู้กระทำการ(Agency) ซึ่งสะท้อนให้เห็นความแตกต่างของสนามในการศึกษาเกี่ยวกับร่างกายและความสำคัญของร่างกายในฐานะที่เป็นศูนย์กลางไปสู่ทฤษฎีทางสังคม
การแสดงออกของการครอบงำในสังคมสมัยใหม่เป็นสิ่งที่ถูกจัดการโดยวาทกรรมทางการแพทย์แบบชีวะ(biomedical discourse)ที่ซึ่งกลายเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลกับร่างกายของมนุย์อย่างมากในศตวรรษที่19 ภายใต้กระบวนการที่ร่างกายถูกทำให้เป็นความรู้ที่สากล กระบวนการทำให้เป็นร่างกายทางการแพทย์(Medicalized bodies) ในขณะเดียวกัยการแพทย์แบบชีวะก็เป็นวิกฤตการณ์ของมาตรฐานและทางเลือกที่จำกัดมากกว่าที่จะเป็นแนวคิดแบบองค์รวมของการแพทย์และการบ่มเพาะปลุกฝังที่เป็นสิ่งที่ท้าทายและวิพากษ์การครอบงำ(hegemony)
ร่างกายของผู้บริโภค (Consumer bodies) โดย Liz Jagger (2010 )ได้ให้แนวทางและทัศนะส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงใหญ่ทางสังคมของยุคทันสมัย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงในเชิงของการทำงานการจัดการและเทตโลโลยี ภายใต้การเสื่อมสลายของอุตสาหกรรมหนัก ความสัมพันธ์ที่เพิ่มขึ้นของอุตสากรรมบริการและการใช้เวลาว่าง รวมถึงการเพิ่มขึ้นของสื่อและการโฆษณา(the media and advertising)ที่ได้สร้างรากฐานของวัฒนธรรมผู้บริโภค(Featherstone 1991a) ในช่วงทุนนิยมตอนปลาย[1] ที่ได้สร้างแรงขับเคลื่อนของการบริโภค (consumption driven) เศรษฐกิจที่มีพื้นฐานอยู่ที่การบริการ (service based) การเพิ่มขึ้นของการขายปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ (Sell human interactions) และการแลกเปลี่ยนทางด้านอารมณ์ (Emotional exchanges) ทำให้เกิด 2 กระแสสำคัญจากอิทธิพลดังกล่าว (Brabara G.Brents and Kathryn Hausbeck,2010;9)
สำหรับปิแอร์ บูดิเยอร์ นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส มองว่าทางเลือกของผู้บริโภคเป็นสิ่งที่ถูกสลักไว้ในร่างกายและสร้างพื้นที่ของสังคม(Site of Social )และชนชั้น(Class)ที่แตกต่างกันเฉพาะ ดังนั้นพวกเราจึงบริโภคให้สอดคล้องกับสิ่งที่เราเป็น(we consume according to who we are) สอดคล้องกับนักทฤษฎีแนวโพสต์โมเดิร์นที่มองว่าเรากลายเป็นสิ่งที่เราบริโภค(we become what we consume) มนุษย์ถูกทำให้เต็มไปด้วยสัญญะทางวัฒนธรรม(cultural signs)ที่ไม่ได้ถูกจำกัดกับการอ้างอิงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเพียงกลุ่มเดียว(no fixed referents) เช่นเดียวกับคุณลักษณะที่ได้รับมา(consequence) ความหลากหลายที่ถูกผลิต(produces multiple)และการข้ามผ่านของอัตลักษณ์(shifting identities)ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา(Jameson 1985; Baudrillard 1988b)
ร่างกายของการทำงาน (WORKING BODIES) ในงานของ Philip Hancock and Melissa Tyler(2002) ได้เปิดการบรรยบายเกี่ยวกับการพัฒนาและความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ของการพัฒนาทางเศรษฐกิจกับการจัดการร่างกายในการทำงาน(the management of the body at work) โดยการยำเอามิติมุมมองทางประวัติศาสตร์(historical perspective)ที่ครอบคลุมกว้างขวางที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ(management)และการทำให้เป็นเหตุผล(rationalization) มาตรฐานของการทำงาน(Standardization)ของร่างกายในการทำงาน พร้อมกับการอ้างอิงเฉพาะกับการพัฒนาเกี่ยวกับค่าจ้างแรงงาน(wage labour)ในสังคมทุนนิยมตะวันตก(western capitalist societies) โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพของความสามารถของร่างกายที่นำไปสู่การเป็นแรงงาน(labour) ร่างกายของความขัดแย้ง(Body Conflict) ร่างกายเป็นสิ่งที่สร้างเกี่ยวกับความมั่นคง(firm)และความแข็งแรง(strong) ได้ถูกทำให้กลายเป็นในสังคมสมัยใหม่ สัญญะของคุณค่าทางศีลธรรม(a sign of moral worth)และการบูชาหรือให้ความสำคัญของวัยรุ่น(the worship of youth)และความสวยงานได้สร้างความแตกต่างของคนที่มีอายุ
แนวคิดเรื่องร่างกายชรา(Old bodies)  ของ Emmanuelle Tulle-Winton บรรยายเร่งกายว่าเป็นเสมือนกับพื้นที่ของการแข่งขัน(contested site)สำหรับการประกอบสร้างของความมีอายุมาก(old age) และคนแก่(old people) การปรากฏขึ้นของคนที่อายุมากเช่นเดียวกับวัตถุของการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญ(object of professional study) และการปฏิบัติในปลายศตวรรษที่18 ได้ให้การดำรงอยู่ของคำบอกเล่าหรือเรื่องเล่าที่เป็นไปได้เกี่ยวกับประสบการณ์ของผู้มีอายุหรือผู้สูงวัย  ตัวแปรที่เน้นย้ำอยู่บนการอธิบายเกี่ยวกับอำนาจที่กำหนดการผลิตร่างกาย(the bodily manifestations)ของการกลายเป็น การเป็นผู้มีอายุ ความชราภาพและศักยภาพของพวกเขาที่จะปลดปล่อยตัวเอง ที่ถูกกำหนดภายใต้คำอธิบายเหล่านี้ ดังเช่น วาทกรรมของความสมัยใหม่ของความเป็นผู้สูงวัย เช่นเดียวกับความเสื่อมถอยของชีววิทยา(biological decline) และความอ่อนแอทางกายภาพและทางจิตใจ(physiological and mental decrepitude)รวมถึงความสูญเสีย(loss) การประกอบสร้างจองการมีอายุหรือความเป็นผู้สูงอายุ
การประกอบสร้างของความเป็นผู้สูงอายุ(old age)เช่นเดียวกับสภาวะหรือเหตุการณ์ทงาชีววิทยา(biological event)ที่กำหนดอยู่เหนือประสบการณ์ที่แท้จริงของชีวิตในช่วงเวลาที่เหลือ(later life)เป็นสิ่งที่ได้รับการเสริมให้เพิ่มขึ้นโดยการปรากฏขึ้นของวิชาเกี่ยวกับชราภาพหรือชราวิทยา(gerontology) การศึกษาเกี่ยวกับผู้สูงอายุที่ซึ่งถูกสะท้อน(reflected)  ถูกตัดสิน(justified)และถูกประกอบสร้าง(constructed) ทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสัญลักษณ์ของความล้าสมัย(symbolic obsolescence)ของคนสูงวัย(Lynott and Lynott 1996) มันคือเป้าหมายที่เป็นการสร้างยุทธศาสตร์สำหรับการปรับตัว(daptation)ที่พร้อมกับการสูญเสีย(loss)ที่นำไปสู่ร่างกายที่ถูกกำกับด้วยจิต(The mindful Bodies)ความคิดเกี่ยวกับความชราภาพที่นำไปสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
บรรณานุกรม
Bakhtin, M.M. (1968) Rabelais and His World. Trans. Hélène Iswolsky. Cambridge, MA: MIT Press.
Douglas, Mary. Purity and Danger: An Analysis of the Concepts of Pollution and Taboo. New York: Praeger, 1966.
 —————. Natural Symbols: Explorations in Cosmology. 1970; New York: Routledge, 1996.
Featherstone, Mike, Mike Hepworth, and Bryan S. Turner, eds. The Body: Social Process and Cultural Theory. Newbury Park: Sage, 1991.
Foucault, Michel. The History of Sexuality: Volume 1: An Introduction. New York: Vintage, 1978.
 —————. Discipline & Punish: The Birth of the Prison.New York: Vintage, 1975.
Goffman, Erving. Stigma: Notes on the Management of Spoiled Identity. New York: Simon & Schuster, 1963.
Turner, Bryan S. The Body and Society: Explorations in Social Theory. 2nd ed. London: Sage, 1996.
Turner, Terrence 1980 The Social Skin. In Not Work Alone. J. Cherfas and R. Lewin, eds. Pp. 112- 140. London: Temple Smith.
Scheper-Hughes, Nancy, and Margaret Lock 1986 Speaking Truth to Illness: Metaphors, Reification, and a Pedagogy for Patients. Medical Anthropology Quarterly 17(5):137-140.
Shilling, Chris. The Body and Social Theory. London: Sage, 1993.



[1]  Anthony Giddens ใช้คำว่า late capital หรือทุนนิยมช่วงปลาย ว่าเป็นยุคที่เกิดขึ้นหลังจากยุคสมัยใหม่นิยม (modernism) โดยที่เขามองว่าคำคำนี้เหมาะจะใช้เรียกยุคสมัยปัจจุบันมากกว่าคำว่า postmodernism ซึ่งเป็นยุคของการเปลี่ยนแปลงทั้งในแง่ของอุตสาหกรรม การเติบโตของกระบวนกลายเป็นเมือง และวิธีคิดของการบริหารจัดการภายใต้พื้นฐานของกฎหมายและเหตุผล ทำให้สังคมยุคสมัยใหม่แตกต่างจากยุคก่อนหน้า รวมทั้งการเติบโตของเทคโนโลยีการสื่อสารที่สร้างผลกระทบต่อวิถีชีวิต และความสัมพันธ์ทางสังคมของมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวที่รวดเร็วและเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดข้อถกเถียงว่าสังคมรูปแบบใหม่แตกต่างจากสังคมแบบเดิมก่อนหน้ามากน้อยแค่ไหน ทุนนิยมและความทันสมัยแบบเดิมก็ยังคงดำรงอยู่  ดังนั้น Giddens จึงมองว่าน่าจะเหมาะสมกว่าถ้าจะใช้ทุนนิยมตอนปลายในการอธิบายสังคมยุคปัจจุบัน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...