ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ร่างกายคลาสสิค (CLASSIC BODIES) นัฐวุฒิ สิงห์กุล

ร่างกายคลาสสิค (CLASSIC BODIES)
ในยุคเริ่มต้นของการศึกษาร่างกายในทางสังคมศาสตร์ แนวคิดร่างกายภายใต้อยู่ภายใต้อิทธิพลของนักคิดทางสังคมศาสตร์ที่สำคัญคือ คาร์ลมาร์กและเดอร์ไคม์ โดยเดอร์ไคม์มองว่าร่างกายเป็นเช่นเดียวกับแหล่งกำเนิด(Source)หรือผู้รับ(Recipient)ของสัญลักษณ์ร่วม(Collective Symbolism)ทางสังคม ที่สะท้อนให้เห็นการการรวมปัจเจกบุคคลไปยังชีวิตแห่งศีลธรรม(Moral life)ของกลุ่ม ในขณะที่คาร์ล มาร์กมองว่าร่างกายเป็นแหล่งกำเนิดความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ(Sourcee of economic relation)และเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับผลกระทบที่เกิดขึ้นภายใต้การลดทอนร่างกายในระบบทุนนิยม(Chris Shilling,2005) เมื่อร่างกายกลายเป็นสินค้าและบริการ ดังนั้นเมื่อวิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับร่างกายสามารถสรุปได้เป็น3แบบคือ
1.ร่างกายสามารถมีคุณสมบัติของการเป็นแหล่งทรัพยากรหรือแหล่งกำเนิด(Source)ของการสร้างสรรค์ชีวิตทางสังคม(Creation of Social life)ซึ่งตรงกันข้ามกับแนวคิดแบบหลังโครงสร้างนิยม(post structuralist)ที่มองว่าภาวะความเป็นองค์ประธานของมนุษย์ถูกบ่มเพาะหรือปลูกฝังภายใต้สิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรม(cultural artifact) โดยแนวคิดดังกล่าวมองว่าร่างกายของมนุษย์เป็นผู้ผลิต เป็นผู้กระทำมากกว่าที่จะมองว่าเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดโดยสังคม แต่ร่างกายเป็นแหล่งให้กำเนิดทางสังคม
2.ร่างกายมีคุณสมบัติของการเป็นพื้นที่ตั้ง(location)สำหรับคุณสมบัติเชิงโครงสร้างของสังคม ดังเช่นที่มาร์กซ์ เน้นย้ำอยู่บนคุณสมบัติเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจที่สัมพันธ์กับการทำงาน การสร้างวัตถุ ความเป็นวัตถุ(material)และเทคโนโลยี ในขณะที่เดอร์ไคม์มองคุณสมบัติเชิงโครงสร้างของวัฒนธรรมในเชิงของพิธีกรรมและระบบสัญลักษณ์ เช่นเดียวกับที่Simmel ก็มองคุณสมบัติเชิงโครงสร้างของรูปแบบทางสังคม(Social Forms)
3.ร่างกายมีคุณสมบัติของการเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกันระหว่างความสามารถในการผลิตของร่างกายและสะท้อนให้เห็นการดำรงอยู่หรือมีอยู่ของโครงสร้างทางสังคมด้วย ดังนั้นปัจเจกบุคคลจึงเป็นสิ่งที่ถูกจัดวางอยู่ภายในขอบเขตและปรับตัวให้สอดคล้องกับสังคม
ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าอิทธิพลของมาร์กซ์และเดอร์ไคม์มีผลต่อวิธีคิดเกี่ยวกับเรื่องของร่างกายทั้งการมองว่าร่างกายเป็นสิ่งเริ่มต้นของการผลิตหรือการสร้างสรรค์ของมนุษย์ ดังเช่น มาร์กซ์พูดถึงความสัมพันธ์ของร่างกายที่เป็นสิ่งธรรมชาติ(natural)ที่สัมพันธ์กับความต้องการของสังคม(Social need) ดังเช่นมือเป็นอวัยวะของแรงงาน(hand as the organ of labor) ที่มีความสำคัญต่อการปรับตัวและการพัฒนาสิ่งแวดล้อมรอบตัวของมนุษย์เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเองและสังคม โดยเฉพาะความสามารถในการผลิต(productive capacities) ที่นำไปสู่การประดิษฐ์คิดค้นและการพัฒนาเครื่งมือเครื่องใช้ที่มีควาซับซ้อนเพื่อการดำรงอยู่และใช้ในการดำรงชีวิตทางเศรษฐกิจของมนุษย์
ปัญหาเกี่ยวกับจิตใจและร่างกาย (MIND-BODY PROBLEM)

ภายใต้มรกดกของแนวคิดแบบทวิลักษณ์(Dualism) คู่แย้ง(dichotomous pairs)หรือผู้ที่นิยมเดการ์ต (The Cartesian Legacy) ความคิดเกี่ยวกับจิตใจและร่างกาย คือสิ่งที่สัมพันธ์กับแนวความคิดอื่นๆที่อยู่ตรงกันข้ามกับญาณวิทยาแบบตะวันตก เช่นความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับวัฒนธรรม(nature and culture) ธรรมชาติและเหตุผล(passion and reason) มีเหตุผลกับไร้เหตุผล (rationality and irrationality)ปัจเจกบุคคลกับสังคม(individual and society)  ดังเช่น การจัดลำดับชั้นในเรื่องเพศสภาพ สามารถเป็นสิ่งที่สนุบสนุนกับความเป็นผู้ชายและความเป็นผู้ใหญ่ซึ่งเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับขอบเขตของวัฒนธรรม  ความคิด เหตุผลและความมีเหตุผล ในขณะที่ผู้หญิงและเด็กเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดภายใต้ขอบเขตของธรรมชาติ ร่างกาย ความไร้เหตุผลและอารมณ์ความรู้สึก (Lloyd 1984; MacCormack and Strathern 1980)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...