ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ทำไมต้องศึกษาเศรษฐกิจด้วยมุมมองทางมานุษยวิทยา

ทำไมต้องศึกษาเศรษฐกิจด้วยมุมมองทางมานุษยวิทยา
ความแตกต่างระหว่างมุมมองทางเศรษฐศาสตร์กับมุมมองทางมานุษยวิทยาในการศึกษาเรื่องเศรษฐกิจ (Economic Perspective, Anthropology Perspective)
   เศรษฐกิจ” (Economy) มาจากกรีกว่า “oikos” แปลว่าบ้าน(House) และ “Nemein” แปลว่า การจัดการ (to manage) ดังนั้น เศรษฐกิจจึงหมายถึง การจัดการครอบครัว (Household management) คือ มีความชำนาญในการจัดการเรื่องครอบครัว (Skilled in the management of a household) ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Economics” หรือ เศรษฐกิจ คือ เศรษฐกิจเป็นส่วนหนึ่งของวิชาเศรษฐศาสตร์การศึกษาเรื่องเศรษฐกิจ ก็คือการศึกษาถึงวิชาเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเศรษฐศาสตร์เป็นสาขาวิชาหนึ่งในวิชาสังคมศาสตร์ศึกษาถึงเรื่องของมนุษย์และเศรษฐกิจควบคู่กันไป 
ในความหมายของคำว่าเศรษฐศาสตร์กับเศรษฐกิจ ทั้งแนวคิดเรื่องเศรษฐศาสตร์ กับ เศรษฐกิจมีความต่างกัน  ในแง่ที่เศรษฐกิจคือแบบแผนของกิจกรรมที่มีเป้าหมายเป็นผลตอบแทนทางวัตถุ  ในขณะที่เศรษฐศาสตร์คือแนวคิดทฤษฎี หรือสมมุติฐานเพื่อใช้สำหรับวิเคราะห์กิจกรรมที่หวังผลตอบแทน  ทุกๆสังคมจะมีระบบความคิดเพื่อแยกประเภท และให้คำปรึกษาในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ    ความคิดเรื่องเศรษฐกิจของนักปรัชญาออย่างอริสโตเติล มองว่าเศรษฐกิจเกี่ยวข้องกับเรื่องระบบคุณค่าที่ยุติธรรม และการทำให้ชุมชนอยู่รอดอย่างมั่นคง
การศึกษาเศรษฐกิจ (ECONOMIC STUDY) ศึกษาอะไร?
   การศึกษาเศรษฐกิจ ศึกษากิจกรรมการแลกเปลี่ยนสิ่งของระหว่างคนในสังคม โดยใช้เงินหรือสิ่งของในการแลกเปลี่ยน การศึกษาวิธีการเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดนำไปผลิตสินค้าต่างๆและจ่ายแจกระหว่างสมาชิกในสังคมเพื่อการบริโภค การศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์ในธุรกิจธรรมดาของชีวิต ได้แก่การหาเลี้ยงชีพ ความสนุกสนานของชีวิต และการศึกษาวิธีการที่มนุษย์ดำเนินการธุรกิจในการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบริโภคและการผลิต สุดท้ายคือศึกษาเกี่ยวกับการผลิต การบริโภค การแจกจ่ายและการแลกเปลี่ยน
สาระหลักของเศรษฐกิจ (Subject matter of economic)
               เริ่มต้นจาก Aristotle นักคิดนักปรัชญาที่ยิ่งใหญ่บอกว่าสาระหลักของเรื่องเศรษฐกิจคือ การจัดการเศรษฐกิจของรัฐและครัวเรือน “economic management   of state and household” ในขณะที่ อดัม สมิธ (Adam Smith) มองว่าเศรษฐกิจคือการศึกษาสาเหตุและความมั่งคั่งของชาติ  แต่มาร์แชล ชาร์ลิน (Marshall Shalin) มองว่าเศรษฐกิจคือการศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมของมนุษย์ในสังคมทั้งหมดที่เชื่อมโยงกับวัตถุที่มีความสำคัญจำเป็นเกี่ยวกับความมั่งคั่ง(welfare) อีกด้านหนึ่ง Paul A Samuelson, Boulding, Leftwitch etc. ให้ความหมายของเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกับเนื้อหาสาระหลักของเศรษฐกิจที่ต้องประกอบด้วย3ประเด็นคือ 1.กิจกรรมทางเศรษฐกิจ Economic activities 2.ระบบเศรษฐกิจ( Economic Systems) 3.นโยบายทางเศรษฐกิจ(Economic Policies)
ในเรื่องของกิจกรรมทางเศรษฐกิจสามาถแบ่งแยกออกเป็น 2ลักษณะคือ 1. ประเภทหรือลักษณะของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่นเป็นลักษณะทางเศรษฐกิจแบบไหน เช่นเศรษฐกิจที่สัมพันธ์กับการผลิต การแจกจ่าย การแลกเปลี่ยนหรือการบริโภค เป็นต้น  และวัตถุประสงค์ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทำเพื่ออะไร ทำไมต้องทำ เป้าหมายเพื่อใครดังที่ Ragnar Frisch  กล่าวว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจมี2 วัตถุประสงค์หลัก คือการจัดสรรทรัพยากรที่เหมาะสมมาใช้ประโยชน์ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ
ภายใต้การมองเศรษฐกิจใน2ระดับ ระดับแรกคือระดับมหภาคที่สัมพันธ์กับการจ้างงานอย่างเต็มที่ รายได้ประชาชาติ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เส้นทางการค้า การค้าระหว่างประเทศ และการคลังสาธารณะ
ในขณะที่ในระดับจุลภาคหรือเศรษฐศาสตร์แบบจุลภาคจะมองไปที่เรื่องของสวัสดิการ ทฤษฎีเกี่ยวกับความต้องการซื้อ ทฤษฎีเกี่ยวกับการผลิต การกำหนดราคาและการแจกจ่าย
ในเรื่องของระบบเศรษฐกิจโดยทั่วไปจะมี3ลักษณะ คือระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เศรษฐกิจแบบสังคมนิยมและเศรษฐกิจแบบผสม ซึ่งสัมพันธ์กับการให้อำนาจกับคนกลุ่มต่างๆในทางเศรษฐกิจ การแข่งขัน การลงทุนและการผลิต บางประเทศจะเปิดให้แข่งขันเสรี โดยรัฐจะไม่เข้าไปแทรกแซง ในขณะที่บางประเทศรัฐบาลจะเข้าไปดำเนินการควบคุม บางประเทศก็จะมีทั้งการเปิดเสรีและการควบคุมในกิจกรรมบางอย่างที่อาจจะกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่ หากปล่อยให้บริษัทเอกชนบางกลุ่มผูกขาด ดังเช่น ไฟฟ้าและน้ำประปา รัฐจะเข้าไปลงทุนร่วมหรือผูกขาดกิจการประเภทนี้แต่เพียงผู้เดียวเป็นต้น
  เศรษฐกิจคือการศึกษาว่ามนุษย์และสังคมมีวิถีทางในการเลือกที่จะใช้หรือไม่ใช้เงินกับผลผลิตจากทรัพยากรที่ขาดแคลนหายากที่สามารถนำไปสู่ทางเชือกในการใช้ประโยชน์ในการผลิตสินค้าที่มีความหลากหลายและการแจกจ่ายสำหรับการบริโภคทั้งในปัจจุบันและอนาคตระหว่างกลุ่มคนที่หลากหลายและกลุ่มต่างๆในสังคม

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...