อะไรคือมานุษยวิทยาเศรษฐกิจ
คำจำกัดความของมานุษยวิทยาเศรษฐกิจ
สิ่งที่เป็นพื้นฐานที่สุดของมานุษยวิทยาเศรษฐกิจคือการอธิบายพรรณนา(description)และวิเคราะห์(Analysis)ชีวิตทางเศรษฐกิจ(economic
life)โดยใช้มิติมุมมองทางมานุษยวิทยา(Carrier 2005:1) โดยนักมานุษยวิทยาเศรษฐกิจจะเน้นศึกษาเศรษฐกิจในมิติเชิงเปรียบเทียบ(comparative
perspective)
โดยเน้นศึกษาประเด็นทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิต(production) การแลกเปลี่ยน (exchange)การแจกจ่าย(distribution)และการบริโภคทรัพยากร(Consumption of resources)
มานุษยวิทยาเศรษฐกิจคือสนามที่พยายามอธิบายพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์
ที่เกิดขึ้นจากปฏิบัติการหรือการศึกษาโดยนักมานุษยวิทยา ภายใต้ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอันซับซ้อน(complex
relationship)กับระเบียบวิธีทางเศรษฐกิจ (Discipline of
economics) ซึ่งจุดเริ่มต้นมันมาจากสนามย่อยของนักมานุษยวิทยาชาวโปแลนด์ที่เป็นบิดาของมานุษยวิทยาคือ
Bronislaw Malinowski และนักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศสอย่าง Marcel
Mauss ในธรรมชาติของการตอบแทน(Reciprocity)เช่นเดียวกับทางเลือกไปยังการแลกเปลี่ยนทางการตลาด
(Market exchange)
นักมานุษยวิทยาเศรษฐกิจตั้งใจกับการดำรงอยู่ของกิจกรรมการผลิต(productive
activities) และรูปแบบของการแลกเปลี่ยน(Forms of exchange)และการบริโภค(Consumption) ในสังคมที่แผ่กว้าง(larger
social)และกรอบคิดทางวัฒนธรรม (Cultural Frame)
ที่จะทำให้มองเห็นว่าพวกเขาสร้างผลกระทบหรือได้รับผลกระทบโดยพื้นที่ชีวิตอื่นอย่างไร
(other areas of life) ในบางสังคมรูปแบบของงานศิลปะ(Artistic
Styles) เป็นทรัพย์สมบัติของกลุ่มเครือญาติสายตระกูล สมาชิกหรือเครือญาติของสายตระกูลเท่านั้นที่จะได้รับอนุญาตให้ผลิตสิ่งเหล่านั้น
นักมานุษยวิทยาเศรษฐกิจ(Economic
Anthropology)บางคน
ได้แยกความแตกต่างระหว่างการศึกษาของนักเศรษฐศาสตร์กับนักมานุษยวิทยาว่า
นักเศรษฐศาสตร์เน้นย้ำอยู่บนเรื่องของการผลิต
การแจกจ่ายและการบริโภคภายในโลกอุตสาหกรรม(industrialized world) ในขณะที่นักมานุษยวิทยาเศรษฐกิจก็สนใจศึกษาการผลิต
การแจกจ่ายและการบริโภคเหมือนกันแต่สนใจศึกษาในลักษณะเปรียบเทียบในสังคมต่างๆทั่วโลกทั้งสังคมอุตสาหกรรม(industrialized)และไม่ใช่อุตสาหกรรม(nonindustrialized)
คำถามที่น่าสนใจคือนักมานุษยวิทยาศึกษาระบบเศรษฐกิจอย่างไร
(How
Do Anthropologists Study Economic Systems?)
นักมานุษยวิทยาศึกษาว่าสินค้าเป็นสิ่งที่ถูกผลิต
ถูกจ่ายแจกและถูกบริโภคอย่างไรในบริบทของวัฒนธรรมทั้งมวลและสังคมที่มีความเฉพาะ
นักมานุษยวิทยาระลึกเสมอว่า
ทฤษฎีที่ได้รับจากการศึกษาเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจตลาดแบบทุนนิยม(capitalist
market economies) มีข้อจำกัดในการนำไปประยุกต์ใช้กับระบบเศรษฐกิจในสังคมที่ซึ่งประชาชนไม่ได้ผลิตหรือแลกเปลี่ยนสินค้าเพื่อผลกำไรส่วนตัว(private
profit)ซึ่งตรงกันข้ามกับวิถีคิดแบบตลาดทุนนิยมปัจจุบันที่เน้นเรื่องของผลประโยชน์และผลกำไรสูงสุด
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น