ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

มุมมองทางมานุษยวิทยา (ANTHROPOLOGY PERSPECTIVE) นัฐวุฒิ สิงห์กุล

มุมมองทางมานุษยวิทยา (ANTHROPOLOGY PERSPECTIVE)
การหายไปของมนุษย์ในมิติทาง (Absent of man)
  มานุษยวิทยาเศรษฐกิจเริ่มแรกเน้นเกี่ยวกับชีวิตทางเศรษฐกิจของกลุ่มคนดั้งเดิม ที่ซึ่งองค์ประกอบที่หลากหลายไม่ถูกแสดงในเศรษฐกิจแบบตะวันตก เช่น การใช้เงิน ระบบตลาด การให้ความสำคัญของคนและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเป็นสิ่งที่ขาดหายไปจากการศึกษาทางเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันแม้จะเห็นมนุษย์ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการผลิตและการบริโภคที่เป็นผู้ถูกกระทำมากกว่าผู้กระทำหรือเป็นผู้เลือก(Choice being)
การนำเสนองานชาติพันธ์วรรณา (Present of ethnography)
     การสังเกตการณ์โดยตรงในสังคมที่ไม่ใช่ทุนนิยม โดยใช้งานสนามทางชาติพันธ์วรรณา(ethnographic fieldwork)ที่สร้างให้เกิดข้อมูลในเชิงบริบทที่มากมายซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ภายใต้วิถีหรือแนวทางที่นักมานุษยวิทยาค้นหาหรือมีปฏิกริยากับการเผชิญหน้ากับความหลากหลายนี้ และพวกเขาจัดการภายใต้กรอบคิดทฤษฎีที่นำไปสู่การโต้เถียงภายใต้มุมมองทางมานุษยวิทยาเศรษฐกิจอย่างไร
การถกเถียงภายใต้องค์ความรู้ในทางเศรษฐกิจ (The Intellectual Debates) ภายใต้คำถามหรือข้อถกเถียงใน4 ประเด็นคือ
    1) การนำไปใช้อย่างเป็นสากลของสังคมตะวันตกที่ผลิตประเภทของการวิเคราะห์ (the universal applicability of Western generated categories of analysis)
                2) คำถามเกี่ยวกับเรื่องคุณค่าหรือมูลค่า(the question of value)
   3) คำถามเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และความเชื่อมโยงกับการเมือง (the question of history and connectedness between polities)
       4) การให้น้ำหนักกับวัฒนธรรม(การให้ความหมาย) ในกระบวนการทางเศรษฐกิจ (the weight of culture (meaning) in economic processes)
ปัญหาของการนำไปใช้อย่างเป็นสากลของความคิดแบบตะวันตกที่ผลิตประเภทของการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ ภายใต้ทฤษฎีของการกระทำที่มีเหตุผลในการพิจารณาการสร้างการตัดสินใจทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่ถูกต้องเท่านั้นในบริบทของเศรษฐกิจระบบตลาดในตะวันตก และในคำจำกัดความที่แท้จริงเศรษฐกิจควรที่จะถูกให้ความหมายที่แตกต่างในสังคมอื่นๆ ที่นำไปสู่การตั้งคำถามเกี่ยวกับการศึกษาทางเศรษฐกิจ ที่แบ่งออกเป็น2กลุ่ม กลุ่มแรกคือ กลุ่มที่เรียกตัวเองว่าพวกรูปแบบนิยม(formalist) ในขณะที่กลุ่มที่2เรียกตัวเองว่า พวกสสารนิยม (substantivist)ที่ติดตามความคิดของนักมานุษยวิทยาเศรษฐกิจชื่อ Kant Polanyi
     ภายใต้คลื่นของการถกเถียงในช่วงปี1970 รวมถึงนักมานุษยวิทยาที่ทำงานกับโมเดลการตัดสินใจที่เป็นทางการ(formal decision-making models) และนักมานุษยวิทยาสายมาร์กซิสต์ (Marxian anthropologists) กับแนวคิดเรื่องของรูปแบบหรือวิถีการผลิต (mode of production) และประเด็นของการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจแบบทุนนิยม(capitalist economies)และการเชื่อมต่อของรูปแบบหรือวิถีของการผลิตที่แตกต่างหลากหลาย (Godelier 1977).
     คำถามเกี่ยวกับเรื่องของคุณค่า คือสิ่งที่สัมพันธ์กับหน้าที่ของการแลกเปลี่ยน(function of exchange) ภายใต้ความสำคัญของการค้นหาความคล้ายคลึงกันและความแตกต่างเพื่อนำไปสู่การเปรียบเทียบ เริ่มแรกคาร์ล มาร์กได้สร้างความแตกต่างระหว่างคุณค่าของการใช้ประโยชน์หรือคุณค่าใช้สอย(use value)กับคุณค่าเชิงการแลกเปลี่ยน(exchange value) และความสามารถที่จะนำแนวคิดดังกล่าวไปประยุกต์ใช้กับสังคมที่ไม่ใช่ทุนนิยม(noncapitalist societies)หรือสังคมชาวนา(peasant societies)ได้อย่างไร ที่ซึ่งปัจจัยต่างๆของการผลิตเป็นสิ่งที่ไม่ถูกทำให้เป็นสินค้าอย่างเต็มที่ เช่น ร่างกายตัวตนที่ยังไม่เป็นแรงงานในระบบตลาด หรือผลผลิตที่เป็นไปเพื่อการบริโภคมากกว่าเป็นสินค้าสำหรับขาย เป็นต้น ลำดับต่อมาก็คือทฤษฎีคลาสสิคของแรงงานเกี่ยวกับเรื่องมูลค่า(the classical labor theory of value) ว่ามันถูกใช้ในสังคมที่ซึ่งเป็นตลาดแรงงานได้อย่างไร ลำดับที่สามคือทฤษฎีอรรถประโยชน์ชายขอบของมูลค่าใช้สอย(the marginal utility theory of value) ว่ามันสร้างความคิดเกี่ยวกับสินค้าที่มีการใช้ประโยชน์ออย่างหลากหลายและเป็นสิ่งที่ถูกให้คุณค่าที่สอดคล้องกับมาตรฐานหรือเครื่องมือของการวัดค่าที่แตกต่างกัน สุดท้าย ทฤษฎีทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับคุณค่า(the cultural theory of value) เมื่อการให้ความหมายของท้องถิ่น(local meaning)เชื่อมโยงเกาะเกี่ยวกับวัตถุ(objects) ผู้คน(people)และสถานการณ์(situations) เป็นสิ่งที่ใช้วัดในเชิงคุณค่า ได้จัดวางปัญหาของความสามารถใช้เปรียบเทียบข้ามวัฒนธรรมในการเชื่อมโยงกับโลก
คำถามเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และการเชื่อมโยงทางการเมือง ความจำเป็นกับการคิดในเชิงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านของความสัมพันธ์ทางสังคมและความต้องการศึกษาการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างความแตกต่างทางสังคมกับเรื่องของเวลา ปัญหาเหล่านี้เป็นลักษณะเด่นเฉพาะที่มีอิทธิพลต่อนักมานุษยวิทยาโดยทฤษฎีว่าด้วยระบบและทฤษฎีของการพึ่งพา โดยนักมานุษยวิทยามาร์กซิสต์ชาวยุโรปที่มองในมิติมุมมองในทางเศรษฐศาสตร์การเมืองทางมานุษยวิทยา(Roseberry,1988) โดยเป้าหมายเพื่อนำไปสู่กระบวนการทำความเข้าใจท้องถิ่น เช่นเดียวกับทั้งการถูกจัดวางหรือออกแบบและการดำเนินการที่พึ่งพาบนกระบวนการที่ใหญ่กว่าในการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์(Wolf,1982)

          ลำดับสุดท้ายคือการให้น้ำหนักเกี่ยวกับวัฒนธรรม(The weight of culture)การให้ความหมาย / (Meaning) ในกระบวนการทางเศรษฐกิจ ลักษณะทางวัฒนธรรมได้จับยึดคำอธิบายในทางมานุษยวิทยาเศรษฐกิจเป็นหลัก ดังเช่นบริบทที่ซึ่งกิจกรรมในเชิงวัตถุ(Material activities)ได้เกิดขึ้น นักมานุษยวิทยาได้ใช้ชุดคำว่า เศรษฐกิจเชิงศีลธรรม(moral economies) เพื่ออ้างถึงศีลธรรมในระดับปัจเจกบุคคลและระดับกลุ่มและคุณค่าทางวัฒนธรรม(Cultural values) ที่แพร่ไปสู่ความสัมพันธ์ทางสังคมเศรษฐกิจ(economic social relations)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...