การสถาปนาตัวตนในเวทีโลก
: ของวาทกรรมว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน
หากจะเปรียบเทียบการประชุมของการประชุมขององค์กรสหประชาชาติที่กรุงโจฮันเนสเปิร์ก ประเทศแอฟริกา ในปี2002 ซึ่งเป็นการประชุมเพื่อความร่วมมือระดับโลก เป็นเสมือนตัวบท(Text)ขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยบทสนทนาและตัวละครอันหลากหลาย กำลังโลดแล่นและแสดงอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์การกำกับ ของแนวคิด มโนทัศน์ที่เรียกว่า”การพัฒนาที่ยั่งยืน” ที่เป็นเสมือน กรอบความคิดหรือเป้าหมายร่วมกันที่ทุกคนจะต้องทำให้บรรลุผล
การพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development) ก็ได้กลายมาเป็นคำศัพท์ยอดนิยมติดตลาดหรือภาษาที่บรรดาผู้นำ
นักการเมือง นักสิ่งแวดล้อมนักวิชาการ และนักพัฒนาจากประเทศต่างๆ
ได้นำไปประยุกต์ใช้เป้นยุทธศาสตร์การทำงานและเป็นนโยบายของการพัฒนาประเทศ
ตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่21 อาจกล่าวได้ว่าสิ่งที่ทำให้การพัฒนาที่ยั่งยืน
กลายเป็นประเด็นสำคัญที่ถูกกล่าวขานกันทั่วโลก
ก็เพราะมูลเหตุพื้นฐานร่วมกันในประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่โลกกำลังเผชิญและอยู่ในสภาวะวิกฤต
ตลอดระยะเวลาของการพัฒนา[1] และทำให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมกลายเป็นจิตสำนึกร่วมของมนุษยชาติบนโลก
ซึ่งทำให้ปัญหาดังกล่าวก้าวข้ามพรมแดนทางภูมิศาสตร์ระหว่างประเทศ
เกิดการเชื่อมโยงร้อยรัดความสัมพันธ์ของปัญหาและการแสวงหาแนวทางแก้ปัญหาในลักษณะข้ามพื้นที่
ปัญหาของประเทศหนึ่งจึงกลายเป็นปัญหาของคนทั้งโลก
ปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงมีฐานะ เป็นภาระกิจหลักร่วมกัน
เป็นพันธสัญญาที่ทุกประเทศต้องร่วมกันปฏิบัติให้บังเกิดผล
ภายใต้ความเป็นหุ้นส่วนร่วมกันของโลกใบนี้(Partnership)หรือเป็นพันธมิตรด้านสิ่งแวดล้อมและสันติสุขของโลก
รวมทั้งความร่วมมือ ภายใต้ประเด็นของการพัฒนาไปพร้อมกัน
ไม่มีใครที่จะปฎิเสธการพัฒนาที่ยั่งยืน การตกลงเจรจาซื้อขายระหว่างประเทศ
โดยมีกลุ่มทุนข้ามชาติ องค์กรการค้าโลก และองค์กรโลกบาล เป็นตัวกลาง
ความสามารถที่จะเจรจาการค้าได้อย่างราบเรียบและประสบความสำเร็จก็คือกลุ่มทุนข้ามชาติ
บริษัทธุรกิจเหล่านั้นจะต้องพูดถึงความรับผิดชอบต่อเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืนไม่ให้ถูกต่อต้านหรือคัดค้านจากบรรดาประเทศอุตสาหกรรมที่หันมาตระหนักในเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม
นั่นคือกระบวนการของการพูดภายใต้ตรรกะ กฎเกณฑ์ชุดเดียวกันที่กำกับให้การสื่อสารในบริบทนั้นสามารถดำเนินไปได้
การให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม ในประวัติศาสตร์นิเวศวิทยาของโลกนั้น
เริ่มต้นจากการที่มนุษย์ได้ตระหนักรู้
ถึงสภาพปัญหาและการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมของโลก ผ่านการถ่ายทอดและเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม(Environmental Stories) อย่างมากมาย เช่นในปี 1962 Rachel Carson ได้เขียนหนังสือเรื่อง Silent
Spring ทำให้มนุษย์ตระหนักถึงเงื่อนไขของโลก
การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ
ระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่เมื่อมนุษย์คนแรกได้เหยียบพื้นผิวดวงจันทร์(ดูPhil
Mcmanus,1996;sach,1994) ที่ทำให้มนุษย์ได้เห็นลักษณะมิติของโลก
เงื่อนไขข้อจำกัดต่างๆที่นำไปสู่การตั้งข้อสมมุติฐาน
ในเรื่องของโมเดลของการจำกัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลก ในงานของ Meadow เรื่องLimit
to Growth ในปี1972 จนได้มีการนำประเด็นในเรื่องของสิ่งแวดล้อมเข้าสู่เวทีการเมืองระดับโลกอย่างแท้จริงครั้งแรก
ในการประชุมสหประชาติ ที่กรุงสต็อคโฮม ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ในปี1972 ในหัวข้อ the Human environment ที่เป็นการเปิดประเด็นในเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมและการแสวงหาทางเลือกอื่นๆเพิ่มขึ้นในประเด็นการพัฒนาเชิงนิเวศน์eco-Development(ดูPhil
Mcmanus,1996;49) หลังจากนั้นการประชุมในประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมก็ถูกอภิปรายถกเถียงกันอย่างกว้างขวางมากขึ้น
ดังจะเห็นได้จากเอกสารรายงานการประชุมที่สำคัญมากมายเช่น ในปี1980 มีรายงานBrundtland
Report ชื่อ North-South A Program for Survival และในปี1989 รายงานPalm
Report Common CrisisและOur Threatend Future ที่พยายามพูดถึงวิกฤตการณ์ร่วมกันและความไม่มั่นคงต่ออนาคต
ระหว่างประเทศซีกเหนือ
ซีกใต้ที่มีความแตกต่างกันในเรื่องของการพัฒนาและความเจริญก้าวหน้า ซึ่งในรายงานทั้งสองฉบับนี้ล้วนเกี่ยวข้องกับประเด็นหลักคือเรื่องของการพัฒนาที่ยั่งยืน
ที่ปรากฎเด่นชัดในรายงานของBrundtland
Reportที่ชื่อ Our Common Future ถูกเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการเตรียมการประชุมระดับโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา(The World Commission on Environment and Development) ในปี1983 ณ กรุงริโอเดอเจเนโร ประเทศ บราซิล
เราอาจกล่าวได้ว่า บรรดานิยามความหมายอื่นๆเกี่ยวกับวาทกรรมว่าด้วย”การพัฒนาที่ยั่งยืน” ซึ่งมีความแตกต่างหลากหลายและมีบริบทเฉพาะทางประวัติศาสตร์นั้น ล้วนแต่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ในพื้นฐานของรายงาน
บรันท์แลนด์หรือBrundtland Report ที่ได้สร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาทางนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมที่ถูกคุกคามจากมนุษย์เพิ่มมากขึ้น
ภายใต้กระบวนการของทุนนิยม การทำให้เป็นอุตสาหกรรมและกระบวนการกลายเป็นเมือง
รวมถึงช่วงห่างของรายได้ระหว่างประเทศซีกหนือและใต้
การเกิดขึ้นของโลกเสรีนิยมแนวใหม่(Neo
Liberalism) ที่นำไปสู่การจัดระเบียบและเรียกร้องสิทธิในสังคมรูปแบบใหม่ๆ
รวมทั้งการสร้างเวทีในการต่อรองระดับประเทศ จนกระทั่งในปี1992 รายงานที่ถูกเสนอโดย Mrs. Gro Holen Brundtland นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมของนอร์เวย์จึงได้เข้าสู่เวทีการประชุมของสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาหรือEarth Summit ที่บราซิล โดยตัวแทนจากประเทศต่างๆ176 ประเทศ
ที่เขาร่วมประชุมปรึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาสภาวะความยากจน
และวิกฤตสิ่งแวดล้อมของโลก และให้ความเห็นชอบกับโครงการการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับโลก(อ้างจากMichale
Cahill,2002:19 และGilbert Rist,1978;178-179) ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการจัดทำแผนปฎิบัติการที่เรียกว่าAgenda21 เพื่อให้บรรดาประเทศต่างๆเข้าชื่อร่วมสัตยาบรรณในเรื่องของอนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ
อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ซึ่งเป็นสิ่งที่มีผลบังคับตามกฎหมายเมื่อได้ให้สัตยาบรรณแล้ว
รวมทั้งเรื่องปฎิญญาริโอว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา คำแถลงเกี่ยวกับป่าไม้ และAgenda21 ที่ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย ซึ่งในรายงานBrundtland Report ชื่อCommon Future ได้ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับกรพัฒนาที่ยั่งยืนคือ การพัฒนาที่สนองตอบความต้องการของคนรุ่นปัจจุบันโดยปราศจากการกระทบกระเทือนกับความสามารถของคนรุ่นหลังที่จะตอบสนองความต้องการของคนรุ่นตนได้[2] จะเห็นได้ว่าแม้ว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนในหลักการจะให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์
แต่ก็ยังคงเน้นและให้ความสำคัญกับการพัฒนาและการนำทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างชาญฉลาดสมดุลย์ระหว่างรุ่น
แม้ว่าการพัฒนาจะเป็นตัวการสำคัญในการเสื่อมโทรมของระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมของโลกมาหลายศตวรรษก็ตาม
ประเด็นที่น่าสังเกตก็คือ แม้ว่าแนวคิดเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะปรากฎชัดเจนเบื้องต้นในรายงานของ
บรันท์แลนด์ แต่ในช่วงเวลากว่า20 ปีคำว่าการพัฒนาที่ยั่งยืน (Substianable Development) ได้ถูกใช้ในประเทศต่างๆทั่วโลก
และมีความแตกต่างหลากหลายทางความหมายมากกว่า 70
ความหมาย(อ้างในสุริชัย,2546) นั่นแสดงให้เห็นว่าคำๆนี้ได้ยกระดับคุณค่าและมีพลังอำนาจของตนเองในทางนิเวศวิทยาการเมืองของสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับประเทศและระดับโลก
ซึ่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน
แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่มนุษยชาติบนโลกให้การยอมรับและเชื่อว่ามันเป็นแนวทางของการพัฒนาที่จะนำไปสู่ความมั่นคงสมดุลย์และแก้ปัญหาวิกฤตของโลกในอนาคต
แต่มันก็ถูกตั้งคำถามอย่างท้าทายว่า
แท้จริงแล้วการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นเป็นสิ่งที่จะทำให้มนุษย์ไปสู่เป้าหมายที่ยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมในอนาคตได้จริงหรือไม่
ในเมื่ออุดมการณ์ เบื้องหลังหรือเป้าหมายที่แท้จริงก็ยังคงเป็นเรื่องของการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
ดังที่Phil Mcmanus ได้กล่าวว่า “การประชุมของBrundtland Report เป็นการนิยามเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
ที่ต้องการจัดการให้เป็นหนึ่งเดียวสำหรับสิ่งที่หลากหลาย ในทิศทางของการสะสมทุนที่เพิ่มขึ้น
และสร้างความเป็นไปได้ภายใต้กรอบความคิดสีเขียว(Green Framework) ให้ผู้ที่รวยกว่าในประเทศอุตสาหกรรม สร้างวาทกรรมการพัฒนาให้กับประเทศที่ยากจนกว่า
อันนำไปสู่แนวทางร่วมกัน ในผลประโยชน์ทางวัตถุ(Material
Benefit)ที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของการผลิตและการบริโภค” นั่นคือการการพัฒนาที่ยั่งยืนก็ยังคงมีนิยามความหมายเท่ากับคำว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ(Economic Growth) และถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างแพร่หลายเช่น
Sach wolfgang[3] มองว่า
การเชื่อมโยงระหว่างการพัฒนากับยั่งยืน มันทำให้เกิดความกำกวม
และเป็นแนวคิดใหม่ที่เปลี่ยนความยั่งยืนจากธรรมชาติมาสู่การพัฒนาในเมื่อความหมายของคำว่ายั่งยืนเดิมคือ
ทรัพยากรที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่ปัจจุบันกลับหมายถึงการพัฒนา
ที่ทำให้มีผู้อ้างถึงความตั้งใจของตนเองในรูปแบบการพัฒนาต่างๆมากมาย
รวมทั้งผู้เชื่อมั่นและสนับสนุนลัทธิความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ใช้ทรัพยากรอย่างทำลายล้างในช่วง2-3
ทศวรรษที่แล้วด้วย อาจกล่าวได้ว่า
ความยั่งยืนได้แปรมาเป็นเรื่องของการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนา
มากกว่าเรื่องสิ่งแวดล้อมหรือปัญหาสิ่งแวดล้อม
และได้กลายมาเป็นรูปสัญญะแบบหนึ่งไม่แตกต่างจากที่ Andrew Dobson (1996;หน้า402) มองประวัติศาสตร์การศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน(Envirom\nment Sustainabilities)ว่า มีสองวิธีในการศึกษา
วิธีแรกก็คือการมองที่คำจำกัดความว่ามันเป็นสิ่งที่สามารถอธิบายตัวมันเอง(Self Explanatory) และถูกบรรจุไว้ด้วยความหมาย(Encapsulating meaning) ซึ่งเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนเข้าใจง่ายและนำไปสู่ข้อยุติเรื่องรูปแบบและความหมาย
ซึ่งต่างกับวิธีที่2 ที่ดูการต่อสู้แข่งขัน(Contested/Contestable) แย่งชิงความหมายที่อาจจะพบว่ามันมีความแตกต่างหรือคล้ายคลึงกัน
ซึ่งจะต้องอาศัยการพิจารณาเกี่ยวกับชุดของคำที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงเช่น Sustainability ,ecodevelopment sustain developmentและคำอื่นๆ
ซึ่งวิธีการที่สองไม่แตกต่างจากการพิจารณาเรื่องรูปสัญญะที่ล่องลอย
ที่จะดูวิธีการสร้างความหมาย
การหาความหมายเข้ามาเกาะเกี่ยวเพื่อสร้างคุณค่าให้กับคำว่าการพัฒนาที่ยั่งยืน
โดยสรุปอาจกล่าวได้ว่า วาทกรรมที่ว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ถูกสถาปนาขึ้นมาในกระแสโลกปัจจุบัน ที่มีการให้คุณค่าและนิยามที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการอนุรักษ์และการพัฒนาที่ปลอดภัย
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
การจำกัดการบริโภคและปล่อยของเสียสู่ระบบนิเวศน์ จริยธรรมและความเท่าเทียมระหว่างรุ่น หรือมองแบบนิเวศวิทยาเชิงลึกที่มนุษย์ต้องอยู่อย่างสอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติ
การสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจอย่างสัมพันธ์กับข้อจำกัดทางระบบนิเวศน์
หรือการจัดการทรัพยากรและการแบ่งปันอย่างเท่าเทียม เป็นต้น[4] ซึ่งได้ทำให้การพัฒนาที่ยั่งยืนกลายเป็นวาทกรรมกระแสหลักในการพัฒนาประเทศต่างๆในปัจจุบัน
[1]
การพัฒนา
ได้กลายมเแป็นวาทกรรมกระแสหลักตั้งแต่ช่วงยุคสงครามโลกครั้ที่2ที่ได้มีการสร้างความรู้
ความจริงและอัตลักษณ์ตัวตนของความด้อยพัฒนาที่เป็นเสมือนคู่ขัดแย้งกับการพัฒนา
และการจัดแบ่งประเภทลำดับชั้นของโลกตามการพัฒนาประเทศที่วัดโดยใช้มาตรฐานทางเศรษฐกิจ
รายได้เฉลี่ยต่อหัว
ซึ่งการพัฒนาประเทศได้กระทำผ่านสถาบันและทิศทางจากประเทศตะวันตกที่พัฒนาแล้ว
ผ่านรูปแบบการช่วยเหลือทางด้านการเงิน วิชาการและอื่นๆ
สิ่งเหล่านี้เรียกว่าภาคปฎิบัติการของวาทกรรม ดูแนวคิดที่วิพากษ์วิจารณ์แนวคิดการพัฒนาจากตะวันตกได้จาก
Wallernstein Immanuel เรื่อง world system theoryหรือนักวิชาการจากละตินอเมริกา Dos Santos เรื่องDependency
theory หรือดูงานศึกษาวาทกรรมการพัฒนาของไชยรัตน์
เจริญสิรฃนโอฬาร,2545
[2] อ้างจากต้นฉบับที่ว่า“Sustainable development is deveopmentthat meet the
needs of the present without compromising the ability of future generation to
meet their own need”
[3] ดูจากนฤมล อรุโณทัยและคณะ (มปพ.)
“การพัฒนา:ความเจริญและความเสื่อมของอุดมคติ” แปลจากบทความของวูล์ฟกัง ซาคส์ เรื่อง Development :The Rise and Decline of an Ideal
[4] ดูได้จาบทความและหนังสือเกี่ยวกับแนวคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืน Phil mcmanus(1996), Andrew
Dobson(1996), Tim O’Riordan and Heather
Voisey(1997), Richard J.Smith (1996),Robyn Eckersley(1999), Micael
Cahill(2002), W.M Adams(1996), Gilbert Rist(1997)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น