ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ปรัชญาในยุคกรีกเกี่ยวกับวิญญาณ (Soul) และร่างกาย (Body) จากสสารนิยม materialism ถึง จิตนิยม Idealism



1.2ปรัชญาในยุคกรีกเกี่ยวกับวิญญาณ (Soul) และร่างกาย (Body) จากสสารนิยม materialism  ถึง จิตนิยม Idealism
ก่อนเพลโต้ แนวคิดของพวกสสารนิยม นับได้ว่ามีความสำคัญมาก อิทธิพลของตะวันออก เช่น อินเดีย จากหลักฐานคัมภีร์ที่เก่าแก่ที่สุดของโลกเกี่ยวกับรากฐานทางศาสนา ที่บันทึกไว้ เรียกว่า คัมภีร์พระเวท (Vedas) ที่บันทึกศาสนาของเทพเจ้า ที่เทพเจ้าเป็นคนด้วย เป็นสัตว์ด้วย บางครั้งอาจกล่าวได้ว่ายุคนี้เป็น ยุคของเทววิทยา การเกิดขึ้นของระบบกษัตริย์หรือระบบราชะ ทำให้เกิดความคิดเกี่ยวกับเรื่องพระเจ้าองค์เดียว (The one God) แม้ว่าศาสนาพราหมณ์จะพูดถึงเทพเจ้าสามองค์คือ พระศิวะ พระวิษณุและพระพรหม แต่ก็มีความเชื่อว่าทั้งสามองค์คือองค์เดียวกัน แต่ปรากฏกายออกเป็นสามภาค และแบ่งแยกกันคุ้มครองโลก ซึ่งความเชื่อเรื่องของเทพระเจ้าองค์เดียวก็ทีปรากฏในทุกสังคม ในสังคมไทยเราอาจนึกถึง อินทร์หรือพระอินทร์ที่เป็นใหญ่บนสรวงสวรรค์ ในกรีซก็มีความเชื่อเรื่องเทพเจ้าบนยอดเขาโอลิมปัส ซึ่งมีเทพซีอุส (Zeus) เป็นเทพเจ้าสูงสุดหนึ่งเดียวของสวรรค์ ในสังคมโรมัน ก็มีเทพจูปิเตอร์ (Jupiter) ซึ่งเป็นใหญ่ที่สุด หรือยะโฮวา (Jehovah ) เทพเจ้าองค์เดียวของยิว เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีลัทธิบูชาธรรมชาติ โดยนำเรื่องของเทพเจ้ามาเชื่อมโยง เช่นการนิยมบูชาไฟ ของพวกนอร์แมดอริยัน ในพวกอริยันเปอร์เซีย มีศาสนาบูชาไฟเรียกว่า Zoroastrisnism ทั้งนี้เนื่องมาจากทางใต้ของทะเลสาบแคสเปี้ยนต่อกับประเทศอิหร่านนั้น มีแหล่งน้ำมันปิโตรเลียมใหญ่ใต้ดิน และแหล่งก๊าซธรรมชาติ ที่แหวกตัวขึ้นมาเหนือพื้นโลก บางแห่งสามารถลุกติดไฟได้ ทำให้พวกอริยันที่เห็นเปลวไฟดังกล่าวลุกตลอดเวลา ได้นำมาขบคิดและตั้งคำถามเชื่อมโยงกับปรัชญาแบบวิญญาณนิยมที่มีอิทธิพลมาอย่างช้านาน ว่าเป็นอภินิหารของเทพเจ้าแห่งไฟและแสงสว่าง จึงเกิดเทพเจ้าแห่งไฟและเทพอัคนีขึ้นมา
หรือลัทธิบูชาน้ำ เช่นการนับถือเทพวรุณ และการเกิดขึ้นของการบูชาโสม หรือ น้ำเมาชนิดหนึ่ง ที่พวกอริยัน เป็นอารยะชนพวกแรกที่รู้จักกลั่นและกินสุรา การดื่มสุราได้ทำให้เกิดจิตใจฮึกเหิม กล้าหาญที่จะเข่นฆ่าศัตรูโดยไม่เกรงกลัว อันนำมาซึ่งความเชื่อในเรื่องน้ำอมฤต ที่ทำให้คนไม่กลัวตายเพราะความมึนเมา และใช้ปรัชาญาแบบวิญญาณนิยม และคำอธิบายเกี่ยวกับการสร้างเทพเจ้าที่เรียกว่าโสม ซึ่งปรากฏในคัมภีร์พระเวท ที่มีบทสรรเสริญว่า
ข้าได้ดื่มโสม ข้าได้พบอมฤตภาพ ข้าได้พบแสงสว่าง ข้าได้พบเทพเจ้าทั้งหลาย
การเกิดขึ้นของเทพเจ้า นำไปสู่ความเชื่อทางไสยศาสตร์ ดังที่ได้มีการบันทึกไว้ในคัมภีร์ยชุรเวท ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ว่าด้วยคำสวดมนต์ ที่ใช้ประกอบในพิธีกรรมต่างๆ ได้นำไปสู่แนวคิดในเรื่องของหมอไสยศาสตร์ เป็นผู้ที่ติดต่อ หรือเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า (ที่เป็นวิญญาณของคนที่ตายหรือสัตว์ที่ตาย) และสามารถอันเชิญวิญญาณมาใช้ประโยชน์แก่ตัวเองและพวกพ้อง ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาในเรื่องศาสนาในเวลาต่อมา ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ก็ได้สร้างเรื่องราวและจินตนาการเกี่ยวกับโลกและการสร้างโลก  ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับการเกิดน้ำท่วมโลก เช่น เรือโนอาร์ ในพระคัมภีร์เก่า  หรือนารายณ์สิบปาง ในตอนปางมัตสยาวอวตารของอินเดีย หรือในจีนและอินเดียนแดงในอเมริกาก็มีเป็นต้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...