ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

อิทธิพลของสสารนิยม(Materialism)ในยุคแรกและปรัชญาของพวก โซฟิสท์ (Sophists) และสโตอิก (Stoicism)

1.3 อิทธิพลของสสารนิยม(Materialism)ในยุคแรก
ในยุคทางปัญญาของกรีก แนวความคิดเรื่องสสารนิยม ก็มีอิทธิพลมาจากแนวคิดเรื่องการบูชา น้ำและไฟของอินเดีย ความเชื่อในเรื่องธาตุทั้งสี่ คือ ดิน น้ำ ลมและไฟ  ในช่วงเวลา640-550 ปีก่อนคริสตกาล ทาเลส (Thales) ได้นำเสนอเกี่ยวกับการกำเนิดของมนุษย์บนโลก ที่เขาเชื่อว่าน้ำ เป็นส่วนประกอบ พื้นฐาน หรือเป็นต้นตอของทุกๆสิ่ง เช่นเดียวกับอียิปต์มีความเชื่อในเรื่องเทพเจ้าแห่งเมืองบาดาล ที่ชื่อโอซิรีส (Osiris) หรือแนวคิดของ Anaximenes (590-525 B.C) เชื่อว่าอากาศประกอบขึ้นเป็นสากลของโลก ในยุคแรกเริ่มแม้จะบอกว่า ธาตุดั้งเดิมเป็นสิ่งที่เรารู้ไม่ได้ หยั่งไม่ถึง  แต่ธาตุทั้งสี่คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ได้เกิดการระเหยและการกลั่นตัวเป็นกระบวนการซึ่งทำให้เกิดสรรพสิ่งขึ้นจากธาตุดั้งเดิมนั้น
นักคิดกลุ่มนี้ เลิกอ้างว่าวิญญาณอันเป็นเทพเจ้า เป็นเหตุบังเกิดสากลโลก แต่ยืนยันและไล่เลียงกำเนิดไปจากสิ่งที่เป็นธรรมชาติด้วยกัน แต่นักคิดเหล่านี้ก็ไม่ได้พ้นไปจากทรรศนะวิญญาณนิยม และค่อนข้างเชื่อมั่นว่า สสารกับจิตอยู่ร่วมกันอย่างแยกไม่ออก ดังนั้นพวกเขาจึงเป้นพวกชีวิตนิยม (Hylozoist) มากกว่าพวกสสารนิยม
1.4 ปรัชญาของพวก โซฟิสท์ (Sophists) และสโตอิก (Stoicism)
แนวคิดของนักปรัชญาของพวกกลุ่มนี้ ไม่เหมือนแนวคิดพวกกรีกโบราณที่เน้นไปในแนวทางของพวกสสารนิยม ที่เน้นศึกษาธรรมชาติ แม้ว่าแนวคิดของสองกลุ่มนี้จะอยู่ก้ำกึ่งระหว่างสสารนิยมและจิตนิยมแต่ก็โน้มเอียงไปทางจิตนิยม โดยพวกโซฟิสท์มองว่า แนวความคิดเป็นเหตุให้คนเรากระทำสิ่งต่างๆ โลกนี้ก็เป็นโลกแห่งมโนภาพหรือจินตนาการของมนุษย์ไม่ได้มีอยู่เองโดยปราศจากมนุษย์ คือไม่เชื่อความจริงในวัตถุนั้นเอง  ในขณะที่พวกสโตอิก มองว่า ความรู้ได้มาด้วยผัสสะ และความรู้สึกทางผัสสะ (Sense Impression) ก็สร้างความจริงขึ้นมา โดยพวกเขามองว่า วิญญาณ (Soul) เป็นที่ตั้ง แห่งกระบวนการทางความรู้สึกโดยทั่วไป และให้คำสอนตามเฮราคริตุส ที่ว่าไฟเป็นธาตุแท้ดั้งเดิมที่สุด ทำให้พวกนี้มองว่า ธรรมชาติเป็นสสาร เป็นเอกภาพที่มีชีวิตและเคลื่อนไหวอยู่เสมอ
รากฐานของจิตนิยม(Idealism) ดังกล่าวพัฒนามาจากวิญญาณนิยม (Animism) ของพวกมนุษย์ถ้ำซึ่งเชื่อว่า คนตายไปแล้วไม่สูญ เพราะวิญญาณของเขาจะมีอยู่ต่อไป ดังนั้นวิญญาณจึงเป็นความแท้จริงอย่างหนึ่ง ที่มีอยู่ได้ด้วยตัวเอง ไม่เกี่ยวกับสสารวัตถุ (Matter) ถือได้ว่าเป็นแนวคิดพื้นฐานสำคัญของปรัชญาจิตนิยม และเป็นปรัชญาเริ่มแรกที่ดำรงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าจะมีปรัชญาเกี่ยวกับวัตถุนิยมเข้ามาโต้แย้งก็ตาม แต่ความเชื่อของมนุษยชาติบนโลกเกี่ยวกับการกราบไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ บรรพชนก็ยังปรากฏอยู่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นความยิ่งใหญ่ของจิตที่ไม่แตกดับไปพร้อมกับร่างกาย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...