โลกทัศน์และความเชื่อต่อเรื่องชีวิตหลังความตาย ได้นำมาสู่ข้อถกเถียงเกี่ยวกับ เรื่องความตาย
และชีวิตหลังความตายของมนุษย์ เป็นเช่นไร โดยหลักๆ แล้วอาจจะแบ่งได้เป็นได้เป็น 4
ประเด็นที่น่าสนใจ คือ
1.
ความตาย(Death) และสภาวะใกล้ตาย (Dying) กับ
ความเป็นอมตะหรือชีวิตที่นิรันดร
2.
ชีวิตที่นิรันดร์หรือความเป็นอมตะ(Immortality) และความเชื่อในพระเจ้า (God)
3.
ความคิด จิตใจ
และร่างกาย และความเป็นอมตะ หรือนิรันดร
4.
อัตลักษณ์ของปัจเจกบุคคล
และความเป็นอมตะหรือนิรันดร (Immortality)
ปรัชญาเกี่ยวกับความตาย[1]
1.
ความตาย คือ
การหยุดชะงักหรือขัดขวาง การมีชีวิต (Death
an interruption to life) เหมือนกับการนอน (Sleep) การเจ็บป่วย (Disease) ที่ถาวร
เปรียบเสมือนกับการสิ้นสุดโครงการที่ดำเนินงานมายาวนาน หรือเป็นโครงการระยะสั้น
ดังนั้นความตายจึงเป็นเสมือนสิ่งที่แทรกแซง กับทุกๆคน
ไม่ว่าจะเป็นตัวเราเองหรือคนที่เรารัก
2.
ความตาย(Death)หรือสภาวะใกล้ตาย(dying) ควรเป็นสิ่งที่ถูกจ้องมอง
พิจารณาว่า เป็น การกระทำที่เราต้องคิดคำนวณ หรือคาดคะเนไว้ล่วงหน้า
(The Culminating act of Life) เกี่ยวกับชีวิต ที่บุคคลแสดงออกมาทั้งภายในและภายนอก
ซึ่งเขาและเธอหมายถึง หรือให้ความหมายกับชีวิตอย่างไร และชีวิตของเขาและเธอเป็นอย่างไร
3.
ความตายเป็นสิ่งที่ถูกพิจารณาเช่นเดียวกับ
ส่วนหนึ่งของชีวิต (Part of Life) ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องสัมผัสหรือทำความรู้จักกับคำคำนี้ (คือ คำว่า
ความตายหรือตาย) และต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับมัน
ในฐานะส่วนหนึ่งของชีวิต หรือวงจรชีวิต ที่จะมาถึงเมื่อไหร่ไม่รู้
จะเร็วหรือว่าช้าไม่มีใครกำหนดหรือรู้ได้ชัดเจน
ดังนั้นคนทุกคนต้องเตรียมพร้อมและยอมรับมัน ถ้าในภาษาของไฮเดกเกอร์ (Martin
Heidegger)[2]
บอกว่า มันคือ “Human being is being toward-Death” ดังนั้นความตายจึงเป็นส่วนหนึ่งของลักษณะทางโครงสร้างในการดำรงอยู่ของมนุษย์
4.
ความตายคือสิ่งที่ควรพิจารณาเช่นเดียวกับการส่งผ่าน
(Transition)
จากชีวิตที่นับได้อย่างแท้จริง หรืออาจกล่าวให้ง่ายก็คือ ชีวิตที่เคลื่อนไหว ชีวิตที่ประกอบด้วยเนื้อหนังมังสา
ชีวิตของมนุษย์ที่ดำรงอยู่ในปัจจุบัน ที่เปลี่ยนแปลงไปสู่ชีวิตที่นิรันดร์ (Eternal Life) เป็นอมตะ ไม่มีที่สิ้นสุด
หรือการเปลี่ยนแปลงจากสถานภาพเดิมไปสู่สถานภาพใหม่
ซึ่งในความเชื่อของแตะละสังคมหรือแต่ละศาสนา ก็มักจะมองว่า ร่างกายเป็นสิ่งที่แตกดับ
หรือเสื่อมสลายได้ง่ายมากกว่า จิตวิญญาณ ซึ่งเป็นลักษณะทางนามธรรม ไม่ใช่รูปธรรม
ซึ่งสามารถเข้าไปรวมหรือเป็นอันหนึ่งเดียวกับพระเจ้าได้ ดังเช่น ศาสดาเยซู
หรือจิตวิญญาณสามารถเดินทางไปดินแดนของพระเจ้า
หรือโลกอันศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่เบื้องบนได้ ในทางพุทธศาสนาก็พูดเรื่องนิพพาน
และสภาวะสูญตา
ดังนั้น
ปรากกฎการณ์เหล่านี้ จึงเป็นเสมือนองค์ความรู้
หรือแบบแผนของการรับรู้และการสำนึกของมนุษย์ ที่มีต่อเรื่องของความตาย
ความเชื่อในเรื่องการดำรงอยู่หรือการหลงเหลือของจิตวิญญาณ (Soul) ที่ไม่ได้เสื่อมสลายไปพร้อมกับร่างกาย แต่ยังดำรงอยู่ในอีกภพภูมิ
หรือดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์อื่นๆที่คนธรรมดาเข้าไปไม่ได้ นอกจากคนตายเท่านั้น
5. ความตาย คือ
สิ่งที่ควรพิจารณาเช่นเดียวกับ การส่งผ่านจากชีวิตที่ Eventually
ไปยังชีวิตอื่น ที่อาจจะเหมือนเดิม แบบเดียวกัน ดีกว่า หรือแย่กว่า ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องกรรม
หรืออผลของการกระทำในชาตินี้ต่อชาติหน้า หรือผลจากอดีตมาสู่ภพภูมิปัจจุบัน
ซึ่งเป็นความคิดของพวกลัทธิชื่อในการกลับมาเกิดใหม่ (Doctrines
of Re-Incarnation)
[2] มาร์ติน ไฮเด็กเกอร์ มองว่า ปรัชญาตะวันตก
ละเลยหรือลืมคำถามพื้นฐานเกี่ยวกับ “ความหมายของการเป็นอยู่” ดังนั้นการตระหนักถึงตัวเองของมนุษย์
ขึ้นอยู่กับความรู้สึกเรื่องเวลา และความรู้สึกว่า วันหนึ่งเราต้องตาย
ความกังวลและความกลัวต่อความตาย งานของเขาถูกนำไปพัฒนาต่อในทางปรัชญาของพวก
Existentialism นอกจากนี้เขายังได้อธิบายถึงชะตากรรมของโลกที่ถูกครอบงำโดยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งเขาเห็นว่าละเลยความเป็นมนุษย์
งานของเขาพัฒนามาจากงานของพวกปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology) อย่าง Edmund Husserl
ในเรื่องโครงสร้างรูปธรรมของการดำรงอยู่ของมนุษย์
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น