ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การมองความตายจากยุคสมัย :ปรัชญาก่อนประวัติศาสตร์ ปรัชญาประเภทวิญาณนิยม (Animism)



1 ปรัชญาและแนวคิดเกี่ยวกับความตาย การมองความตายจากยุคสมัย
1.1ปรัชญาก่อนประวัติศาสตร์ ปรัชญาประเภทวิญาณนิยม (Animism)
การเกิดขึ้นของมนุษย์ลิงหรือมนุษย์วานร ที่อาศัยอยู่บนต้นไม้ อาจจะเป็นตัวเดียว เป็นคู่หรือเป็นกลุ่มครอบครัวขนาดเล็ก ซึ่งนักมานุษยวิทยากายภาพได้ศึกษาเปรียบเทียบกับลิงอุรังอุตัง กอริลล่าและลิงชิมแปนซี ที่แสดงให้เห็นการครอบครองอาณาเขต และการป้องกันไม่ให้คนอื่นมาล่วงล้ำ การหากินก็จะหากินตามต้นไม้ ผลไม้ บางทีก็ลงมาบนทุ่งหญ้าพื้นราบ หาปลาหรือจับสัตว์เล็กๆกินเป็นอาหาร เมื่อมนุษย์วานรลงมาจากต้นไม้เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของอาหารบนต้นไม้ลดลง อวัยวะบางอย่างก็ต้องปรับตัว เช่นขาที่ใช้ในการเดินตั้งฉากกับพื้นดินมากขึ้น มือไม่ได้ใช้ในการปีนป่ายต้นไม้ แต่ใช้ในการหยิบจับอาหาร นอกจากนี้สมองก็ยังมีการพัฒนามากขึ้น ซึ่งมีผลต่อการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือ ระบบสัญลักษณ์และสร้างวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต  โดยมีพิธีกรรมความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องของศิลปะ ภาษา  ความอุดมสมบูรณ์ การบูชาสิ่งเหนือธรรมชาติ และความตาย เป็นต้น
มนุษย์วานรนีแอนเดอทรัล ( Homo Neanderthal) มนุษย์ยุคแรกเริ่ม ที่มีร่างกายคล้ายลิง ตัวใหญ่มีขนเต็มตัว แต่มันสมองมีขนาดเล็กมากได้ปรากฏตัวขึ้นเมื่อประมาณ 450,000 ปี ลักษณะของนีแอนเดอทรัล เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดจินตนาการทางวรรณคดีเกี่ยวกับ ยักษ์ ที่กินเนื้อเป็นอาหาร ในช่วงนี้อาจจะเรียกว่ายุค Palaeolithic หรือยุคมนุษย์ถ้ำ (หินเก่า) ที่สามารถทำเครื่องมือหิน (หินเหล็กไฟ) อย่างง่ายได้ ทำให้สามารถต่อสู้และล่าช้างแมมมอธซึ่งตัวใหญ่ได้ คนกลุ่มนี้มกอาศัยอยุ่ตามถ้ำ โดยการขับไล่สัตว์ที่อาศัยอยู่ในถ้ำให้ออกมา เช่น หมาใน หมี และเข้ามาอยู่แทน รู้จักใช้ไฟ
จนเมื่อสังคมมีการเปลี่ยนแปลง มนุษย์ก็ต้องเปลี่ยนแปลงและปรับตัวตามกระบวนการดังกล่าว มนุษย์ที่สามารถปรับตัวได้ดีจึงจะสามารถดำรงอยู่รอดได้ตามทฤษฎีของชาร์ล ดาร์วิน สภาพแวดล้อมทางกายภาพ สภาพอากาศ ความหนาวเย็น ความอุดมสมบูรณ์ของอาหาร อันตรายของสัตว์ร้าย เช่น งู หรือสัตว์ขนาดใหญ่อื่นๆก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ มนุษย์วานรในยุคโบราณ สูญพันธุ์ ดังจะเห็นว่าในช่วงเวลาระหว่าง 40,000-25,000 ปี ได้ปรากฏมนุษย์อีกพวกหนึ่งที่เรียกว่า โครมันยอง (Cro-mangnon) หรือ Homo Sapien อพยพมาจากเอเชียใต้ หรือแอฟริกาเข้ามาในยุโรป ทั้งนี้สันนิษฐานว่าน่าจะตามสัตว์ที่ตัวเองล่า จนเข้ามาพบดินแดนทุ่งหญ้าที่อบอุ่น อันเนื่องมาจากน้ำแข็งละลาย พวกนี้ชอบอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าโล่งแจ้ง ใช้ชีวิตโดยการล่าสัตว์มาเป็นอาหาร
มนุษย์โครมันยองเมื่อล่าสัตว์มาได้ก็จะนำมาแบ่งปันแก่กัน  โดยส่วนใหญ่จะกินกันบริเวณถ้ำ ดังที่ได้พบซากสัตว์ จำพวกวัวกระทิง ควายป่า กวางเรนเดียร์ ม้าป่าและแมมมอธ ในถ้ำ การล่าสัตว์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ได้นำมาสู่มโนภาพหรือจินตนาการความเป็นศิลปิน ที่ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นงานศิลปะภาพเขียนบนผนังถ้ำ รวมถึงงานศิลปะ หัตถกรรมอื่นๆ  ดังหลักฐานที่ปรากฏว่ามนุษย์กลุ่มนี้ มีการประดิษฐ์ เข็มเย็บผ้าจากกระดูกสัตว์ ทำเบ็ดตกปลาและฉมวก รวมถึงการนำสัตว์ป่ามาเลี้ยง และเริ่มรู้จักทำการเพาะปลูก จนพัฒนามาเป็นมนุษย์ในยุคปัจจุบัน ที่ไม่ได้อยู่ถ้ำ แต่สร้างที่อยู่เป็นหลักแหล่งภายนอกถ้ำ และเปลี่ยนผ่านจากยุค Neolithic ราว 10,000-12,000 ปีมาสู่ยุคสมัยใหม่
สิ่งที่น่าสนใจของมนุษย์ถ้ำก็คือ ถึงแม้ว่า พวกเขาจะไม่มีภาษาพูด รวมทั้งความรู้ของพวกเขาก็เป็นความรู้ในธรรมชาติเกี่ยวกับสัตว์ป่าต่างๆ ที่ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นภาพวาดบนผนังถ้ำ และเป็นภาษายุคแรกเริ่มที่สุด ซึ่งเรียกว่า ภาษาภาพ และมนุษย์ถ้ำก็ใช้กริยาท่าทางในการแสดงออกหรือทำความเข้าใจระหว่างกัน  ซึ่งลักษณะเหล่านี้ก็อาจสะท้อนให้เราเห็นหลักคิดของมนุษย์กลุ่มนี้ในทางปรัชญาได้บ้าง แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ประเพณี พิธีกรรมบางอย่างของมนุษย์ถ้ำกลุ่มนี้ ก็สะท้อนโลกทัศน์และความคิดเกี่ยวกับจักรวาลวิทยาและเรื่องวิญญาณของมนุษย์  ดังเช่น ที่สมัคร บุราวาศ กล่าวไว้ว่า
นักธรณีวิทยาได้ค้นพบโครงกระดูกของมนุษย์ในหลุมฝังศพเดิม มีเครื่องมือหิน สีทาตัวและอาหารใส่ไว้ด้วย แสดงว่ามีประเพณีและความคิดเกี่ยวกับความตายนี้ มนุษย์นีแอนเดอธัล เป็นมนุษย์ประเภทแรกเริ่มที่สุด ฉะนั้นประเพณีแรกเริ่มที่สุดของมนุษย์ก็จะเป็นประเพณีในการฝังศพ
จากการศึกษาของ Imthrun เกี่ยวกับชนเผ่าอินเดียนแดง ที่เมือง Guiana ในอเมริกาใต้ พบว่า เมื่อคนกลุ่มนี้ฝันไปว่า เพื่อนคนใดคนหนึ่งหนึ่งทำร้ายเขา พอตื่นขึ้น เขาไปลงโทษเพื่อนคนนั้นเป็นการตอบแทน เราจะอธิบายไปในทางที่ว่า มนุษย์โบราณมีความฝันแจ่มชัดมาก และพวกเขาเข้าใจว่าเป็นความจริง  โดยระหว่างความฝัน ตัวเขาส่วนที่เป็นวิญญาณได้ออกจากร่างท่องเที่ยวไป คนที่เห็นในฝันก็ถูกเข้าใจว่าเป็นวิญญาณที่ท่องเที่ยวไปเหมือนกัน มนุษย์โบราณเข้าใจว่าในตัวคนเรามีวิญญาณสิงอยู่  เป็นสิ่งแทนตัวผู้นั้นที่เรียกว่าตัวตน (Self) ในยามหลับสิ่งนี้(วิญญาณ)จะออกจากร่างกายและกลับเข้าร่างเมื่อตื่น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...