หนังสือเรื่อง The Art of Not Being Governed: An Anarchist History of Upland Southeast Asia (2009)ของ James C. Scott มานุษยวิทยาและนักรัฐศาสตร์ ผู้ซึ่งเสนอว่ากลุ่มชนที่อาศัยอยู่ใน Zomia มักเป็นกลุ่มที่ หลีกเลี่ยงรัฐและการควบคุมของรัฐ ผ่านวิถีชีวิตแบบเร่ร่อน การเพาะปลูกแบบไร่หมุนเวียน และโครงสร้างสังคมที่กระจายอำนาจ
เมื่อเชื่อมโยงกับแนวคิเ Zomia เป็นแนวคิดทางภูมิรัฐศาสตร์และมานุษยวิทยาที่ใช้เรียกพื้นที่ภูเขาสูงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งครอบคลุมบางส่วนของ เวียดนาม ลาว กัมพูชา ไทย เมียนมา จีน และบางส่วนในอินเดีย และบังกลาเทศ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์จำนวนมากที่ จงใจหลีกเลี่ยงการถูกควบคุมโดยรัฐ แนวคิดนี้ได้รับความสนใจจากนัก
แนวคิดหลักของ Zomia โดยสรุป เน้นเรื่อง
1. การหลีกหนีรัฐ โดยพื้นที่ที่เรียกว่า Zomia ถูกมองว่าเป็น “ภูมิประเทศแห่งเสรีภาพ” ที่กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ใช้เพื่อหลีกเลี่ยงอำนาจของรัฐที่อยู่ในที่ราบ Zomia จึงเป็นพื้นที่ต่อต้านรัฐ โดยผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภูเขาเลือกที่จะใช้ชีวิตในแบบที่ทำให้รัฐควบคุมได้ยาก เช่น เคลื่อนย้ายที่อยู่บ่อย ๆ ปลูกพืชที่ไม่สามารถถูกเก็บภาษีได้ง่าย และไม่ใช้ภาษาเขียน
ชุมชนแบบนี้จึงมีโครงสร้างสังคมแบบหลวม ๆ ที่ไม่มีอำนาจรวมศูนย์ เช่น ราชา หรือระบบชนชั้นที่ตายตัว ทำให้ควบคุมยาก
2. วิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่เฉพาะตัว ชุมชนในพื้นที่นี้มักมีระบบสังคมและเศรษฐกิจที่ไม่ขึ้นกับรัฐ เช่น การแลกเปลี่ยนแบบเครือญาติ หรือเศรษฐกิจแบบยังชีพ ระบบไร่หมุนเวียน โดยเฉพาะวิถีชีวิตแบบไร่หมุนเวียน ชุมชนใน Zomia ใช้การทำไร่หมุนเวียน (shifting cultivation) แทนการตั้งถิ่นฐานถาวร ทำให้รัฐไม่สามารถจัดเก็บภาษีหรือบังคับให้พวกเขาทำงานให้รัฐได้
3. ภาษาและอัตลักษณ์ที่หลากหลาย พื้นที่ที่เรียกว่าZomia เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ภาษา และวัฒนธรรมสูงมาก มีการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงผ่านภาษาและอัตลักษณ์ หลายกลุ่มใน Zomia ไม่ใช้ภาษาเขียน เพราะการเขียนช่วยให้รัฐสามารถจดทะเบียน ควบคุม และบริหารจัดการประชากรได้ง่ายขึ้น การไม่เขียน การไม่บันทึก การไม่มีความชัดเจนในการจัดระเบียบ ทำให้รัฐควบคุมได้ยาก
James C. Scott ให้เหตุผลว่า Zomia ไม่ใช่เพียงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ แต่เป็นแนวคิดเชิงการเมือง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่ใช่ทุกกลุ่มต้องการถูกควบคุมโดยรัฐเสมอไปในวิวัฒนาการของการตั้งถิ่นฐาน Scott โต้แย้งกับแนวคิดดั้งเดิมที่มองว่าผู้คนในพื้นที่ภูเขาเป็น “กลุ่มล้าหลัง” หรือ “กลุ่มที่ยังไม่ได้พัฒนา” โดยเสนอว่าแท้จริงแล้ว คนเหล่านี้เลือกที่จะใช้ชีวิตอย่างอิสระและหลีกเลี่ยงการถูกเกณฑ์แรงงาน จ่ายภาษี หรือถูกบังคับเข้าสู่ระเบียบของรัฐ
ดังเช่นตัวอย่าง ชาวกะเหรี่ยง (Karen), ม้ง (Hmong), และอาข่า (Akha) – กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในภูเขาทางตอนเหนือของไทยและพม่า มีประวัติของการต่อต้านอำนาจรัฐและการลี้ภัยขึ้นภูเขา
หรือชนเผ่าละว้า (Lua) และลาหู่ (Lahu) มีกลยุทธ์การเคลื่อนย้ายชุมชนบ่อย ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการเก็บภาษีและการควบคุมของรัฐบาล รวมถึงชาวไทใหญ่ (Shan) และไทลื้อ (Tai Lü) ที่มีประวัติการปฏิเสธการรวมเข้ากับรัฐผ่านวิถีการปกครองแบบกระจายอำนาจมากกว่ารวมอำนาจ
ข้อถกเถียงและข้อวิจารณ์ที่เกี่ยวกับแนวคิดของ Scott ผมมองว่า
1. แนวคิด Zomia ถูกมองว่าเป็นการตีความที่กว้างเกินไป เช่นเดียวกับนักประวัติศาสตร์บางคนโต้แย้งว่าผู้คนในพื้นที่เหล่านี้ไม่ได้จงใจหลีกเลี่ยงรัฐเสมอไป แต่บางครั้งพวกเขาก็มีปฏิสัมพันธ์และพึ่งพารัฐด้วยเช่นกันเพื่อการอยู่รอด การสร้างการยอมรับและการมีตัวตน
2. การเน้นที่ “การต่อต้านรัฐ” อาจลดทอนความซับซ้อนของวัฒนธรรมชาติพันธุ์ บางกลุ่มมีการสร้างอาณาจักรและโครงสร้างอำนาจของตนเอง เช่น อาณาจักรไทใหญ่ หรืออาณาจักรล้านนา ซึ่งไม่ได้อยู่ในสถานะ “ไร้รัฐ” อย่างสมบูรณ์อย่างที่เข้าใจ
3. มุมมองของอนาธิปไตย (Anarchism) อาจไม่สอดคล้องกับทุกชุมชน แม้หลายกลุ่มจะหลีกเลี่ยงรัฐ แต่ไม่ได้หมายความว่าพวกเขามีแนวคิดทางการเมืองแบบอนาธิปไตยชัดเจนโดยตรง
อย่างไรก็ตามแนวคิดของ Scott ได้นำเสนอข้อมูล ที่เปลี่ยนแปลงวิธีคิดเกี่ยวกับ กลุ่มชาติพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยให้มุมมองที่พวกเขาเลือกที่จะอยู่นอกอำนาจรัฐแทนที่จะเป็น “คนป่าเถื่อน” ที่ต้องได้รับการพัฒนาจากรัฐหรือคนข้างนอก รวมทั้งสามารถเป็นแนวคิดที่นำมาใช้ศึกษา ประวัติศาสตร์ของรัฐ และ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชากรชายขอบ ที่จะช่วยให้เราเข้าใจรูปแบบของการต่อต้านอำนาจรัฐ ที่ไม่ใช่แค่การก่อจลาจล แต่รวมถึงวิธีการใช้ชีวิตและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติด้วย
แนวคิดของ James C. Scott ใน The Art of Not Being Governed มีตัวอย่างเชิงรูปธรรมหลายกรณีที่แสดงให้เห็นว่ากลุ่มชาติพันธุ์ใน Zomia ใช้ชีวิตและพฤติกรรมแบบ “ต่อต้านรัฐ” อย่างไร โดยเขาให้ความสำคัญกับวิธีที่พวกเขาหลบเลี่ยงการควบคุมของรัฐ ไม่ใช่ด้วยความรุนแรง แต่ด้วยวิถีชีวิตที่ทำให้รัฐควบคุมได้ยากมากกว่าดังตัวอย่างเช่น การเพาะปลูกแบบไร่หมุนเวียนของชาวม้งและกะเหรี่ยง ที่เป็นการต่อต้านรัฐผ่านรูปแบบการทำเกษตรโดยชาว ม้ง (Hmong) และ กะเหรี่ยง (Karen) ในไทยและพม่ามักใช้ ไร่หมุนเวียน (shifting cultivation) แทนการตั้งถิ่นฐานถาวร พืชหลักของพวกเขา เช่น ข้าวไร่ ข้าวโพด ฝิ่น สามารถปลูกบนพื้นที่สูงได้ดีและไม่ต้องใช้ระบบชลประทานของรัฐ แต่รัฐส่วนใหญ่นิยมให้ประชากรทำเกษตรแบบถาวร เพื่อจัดเก็บภาษีได้ง่าย แต่ ไร่หมุนเวียนทำให้รัฐควบคุมไม่ได้ ยิ่งไปกว่านั้น ฝิ่นที่ปลูกในอดีตมักใช้ในการค้าเสรี ไม่ผ่านรัฐ ทำให้พวกเขามีอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจ
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือระบบเศรษฐกิจแบบนี้ทำให้รัฐไม่สามารถเก็บภาษีหรือบังคับแรงงานได้ง่าย ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์สามารถเคลื่อนย้ายได้ตลอดเวลา หากรัฐพยายามเข้ามาควบคุม
ตัวอย่างของการไม่มีภาษาเขียนของบางกลุ่มใน Zomia การต่อต้านรัฐผ่านการปฏิเสธภาษาเขียน ดังเช่น ชาวลาหู่ (Lahu), ละว้า (Lua), และอาข่า (Akha) เป็นกลุ่มที่มีภาษาเป็นของตัวเองแต่ ไม่มีระบบภาษาเขียนแบบเป็นทางการ การไม่มีภาษาเขียนหมายถึง ไม่มีบันทึกประวัติศาสตร์ที่รัฐสามารถใช้ควบคุมประชากร เช่น การเก็บสำมะโนประชากร หรือการใช้เอกสารราชการ โดยรัฐมักใช้ภาษาเขียนเป็นเครื่องมือสร้างอัตลักษณ์ เช่น การใช้ภาษาไทยเป็นภาษากลางเพื่อรวมกลุ่มชาติพันธุ์ในไทย กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้จึงเลือกที่จะรักษาระบบ การเล่าปากเปล่า (oral tradition) ซึ่งทำให้พวกเขาเคลื่อนที่และปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ได้ง่ายและยืดหยุ่นกว่า
ผลลัพธ์ก็คือทำให้รัฐยากต่อการควบคุมหรือกำหนดอัตลักษณ์ของพวกเขาผ่านระบบราชการ พวกเขาสามารถเปลี่ยนอัตลักษณ์และชื่อได้ตามสถานการณ์เพื่อหลีกเลี่ยงการเกณฑ์แรงงานหรือการเสียภาษี
ตัวอย่างการตั้งถิ่นฐานแบบกระจายตัวของชาวไทใหญ่และไทลื้อ ถือเป็นการต่อต้านรัฐผ่านการจัดระเบียบทางสังคม ดังเช่น ชาว ไทใหญ่ (Shan) และ ไทลื้อ (Tai Lü) มักมีระบบการปกครองแบบกระจายตัว (decentralized governance) ซึ่งต่างจากระบบรัฐรวมศูนย์ (centralized state) เช่น จีน หรือสยาม ที่มีการควบคุมผ่านกษัตริย์หรือจักรพรรดิ ดังนั้นชุมชนของพวกเขามักมี หัวหน้าหมู่บ้านหลายกลุ่ม ที่สามารถเคลื่อนย้ายและปรับเปลี่ยนผู้นำได้ง่าย
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ การทำให้ยากต่อการเข้าควบคุมโดยอำนาจรัฐ เพราะไม่มีอำนาจศูนย์กลางที่รัฐสามารถเจรจาหรือกำราบได้ มีการเปลี่ยนผู้นำได้ตลอดเวลาทำให้ไม่มีผู้นำคนใดต้องถูกบังคับให้ขึ้นตรงต่อรัฐ แต่มีผู้นำของตนเองที่หลากหลาย เช่น ผู้นำทางจิตวิญญาณ
ตัวอย่างการใช้เทคนิค “หลบหนี” ของชาวมอญและชาวปะโอในพม่า ที่ใช้ การต่อต้านรัฐผ่านการเคลื่อนย้ายและเปลี่ยนอัตลักษณ์ โดยเฉพาะในช่วงที่พม่าพยายามรวบรวมอำนาจในช่วงศตวรรษที่ 18–19 ชาวมอญ (Mon) และปะโอ (Pa-O) ใช้กลยุทธ์หลบหนีโดยเปลี่ยนอัตลักษณ์ของตนเอง เช่น เปลี่ยนชื่อ พูดภาษาท้องถิ่นอื่นเพื่อไม่ให้ถูกจับได้ มีการเคลื่อนย้ายไปยังป่าหรือภูเขาที่รัฐไม่สามารถตามไปถึง รวมถึงการใช้การแต่งกายแบบเรียบง่าย ไม่โดดเด่นเพื่อไม่ให้รัฐจับตามอง
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ ทำให้พวกเขารอดพ้นจากการถูกเกณฑ์แรงงานหรือถูกควบคุม พวกเขายังคงรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเองได้แม้ว่าจะอยู่ในอาณาเขตของรัฐ
สรุปก็คือ Scott แสดงให้เห็นว่า Zomia เป็นตัวอย่างของการต่อต้านรัฐที่ไม่ใช่ผ่านการปฏิวัติหรือความรุนแรง แต่ผ่านวิถีชีวิต วัฒนธรรม และการจัดระเบียบทางสังคม เช่น การเคลื่อนย้ายที่ตั้ง เพื่อไม่ให้รัฐควบคุม การปฏิเสธภาษาเขียน เพื่อหลีกเลี่ยงการขึ้นทะเบียนและถูกบังคับเป็นประชากรของรัฐ และการทำเกษตรแบบไร่หมุนเวียน ที่ทำให้รัฐไม่สามารถควบคุมเศรษฐกิจได้ รวมทั้งการมีโครงสร้างอำนาจแบบกระจายตัว ที่ทำให้รัฐเข้าไปควบคุมได้ยาก
แนวคิดนี้ช่วยให้เราเข้าใจว่าหลายกลุ่มชาติพันธุ์ ไม่ได้ “ล้าหลัง” แต่เลือกที่จะอยู่ในระบบที่พวกเขาควบคุมได้เอง ซึ่งท้าทายแนวคิดเดิมที่มองว่ารัฐคือหน่วยอำนาจที่ทุกคนต้องการเข้าร่วม
ผมนึกถึงแนวคิดเรื่อง Anarchist Anthropology เป็นแนวทางทางมานุษยวิทยาที่ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมที่สามารถดำรงอยู่ได้โดยปราศจากโครงสร้างอำนาจแบบรัฐรวมศูนย์ (centralized authority) หรืออำนาจที่เป็นลำดับชั้น (hierarchical power) แนวคิดนี้ได้รับอิทธิพลจาก อนาธิปไตย (anarchism) ซึ่งเป็นปรัชญาทางการเมืองที่ต่อต้านการปกครองแบบบังคับและให้ความสำคัญกับ ความเท่าเทียม เสรีภาพ และการจัดการตนเอง (self-organization) โดยใช้กรณีศึกษาสังคมที่ดำรงอยู่โดยไม่มีรัฐหรือโครงสร้างอำนาจที่ตายตัว
แนวคิดหลักของ Anarchist Anthropology
1. การดำรงอยู่โดยไม่มีรัฐ (Stateless Societies) แนวคิดของอนาธิปไตยมองว่า รัฐไม่ได้เป็นโครงสร้างที่จำเป็นต่อสังคม มนุษย์สามารถอยู่ได้โดยไม่มีรัฐ โดยวิชาการทางมานุษยวิทยาได้ศึกษาหลายชุมชนที่ ไม่เคยมีรัฐ หรือ สามารถต่อต้านรัฐได้สำเร็จ ตัวอย่างเช่น ชาวซาปารา (Zápara) ในแอมะซอนใช้เครือข่ายเครือญาติและฉันทามติของคนในเผ่าแทนรัฐบาล หรือชนเผ่าต่าง ๆ ใน Zomia หลีกเลี่ยงการถูกผนวกรวมเข้ากับรัฐชาติโดยใช้รูปแบบการจัดการตัวเองในเผ่า
2. การปกครองตนเองและประชาธิปไตยแบบแนวราบ (Horizontal Democracy) ต่างจากประชาธิปไตยแบบรัฐสภาที่มีตัวแทน สังคมที่ศึกษาโดยนักมานุษยวิทยาแบบอนาธิปไตยมักใช้ ประชาธิปไตยแบบฉันทามติ (consensus-based decision-making) เช่น ชุมชนซาปาติสตา (Zapatista) ในเม็กซิโก ที่ปกครองโดยการประชุมหมู่บ้านและไม่มีผู้นำถาวร หรือ ประชาคมของชาวเคิร์ด (Rojava) ในซีเรีย ที่ใช้ระบบประชาธิปไตยแบบไร้ศูนย์กลาง
3.การต่อต้านลำดับชั้นและอำนาจบังคับ (Anti-Hierarchical and Anti-Coercion) โดยอนาธิปไตยมองว่าลำดับชั้นไม่จำเป็นต่อสังคม และมานุษยวิทยาพบว่าหลายสังคมสามารถดำรงอยู่ได้โดยไม่มีลำดับชั้นที่เข้มงวด เช่น ชาวปิ (Piaroa) ในเวเนซุเอลา ที่ปฏิเสธการมีผู้นำถาวร ชาวซาน (San) ในแอฟริกาใต้ ใช้การประชุมเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้ง แทนที่จะมีระบบศาลหรือตำรวจ
ในขณะเดียวกันก็มีข้อถกเถียงเกี่ยวกับ Anarchist Anthropology โดยมองว่าแนวคิดนี้โรแมนติไซส์สังคมไร้รัฐเกินไป โดยนักวิจารณ์บางคนมองว่าแนวคิดนี้อาจมองโลกในแง่ดีเกินไป และละเลยความขัดแย้งภายในกลุ่มชาติพันธุ์ที่ไร้รัฐเช่นเดียวกับชุมชนที่มีรัฐ
ปัญหาในการประยุกต์ใช้ในโลกสมัยใหม่ บางคนมองว่าแนวคิดอนาธิปไตยใช้ได้กับชุมชนขนาดเล็ก แต่จะใช้กับสังคมสมัยใหม่ที่ซับซ้อนได้อย่างไร?
สุดท้ายการปะทะกันเกี่ยวกับการต่อต้านหรือร่วมมือกับรัฐ นักวิชาการมีการถกเถียงว่าควรต่อต้านรัฐอย่างสมบูรณ์ หรือมีวิธีการผสมผสานบางส่วนระหว่างการปกครองตนเองกับโครงสร้างรัฐ
ดังนั้น Anarchist Anthropology เป็นแนวคิดที่ศึกษา วิธีที่มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันได้โดยไม่ต้องพึ่งพารัฐ และ สำรวจสังคมที่มีการจัดระเบียบแบบไร้ศูนย์กลาง โดยใช้หลักการของ เสรีภาพ ความเท่าเทียม และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แนวคิดนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการศึกษาสังคมไร้รัฐ วัฒนธรรมต่อต้านอำนาจ และการจัดการตนเองในสังคมสมัยใหม่
โลกที่เปลี่ยนไป กลุ่มชาติพันธุ์ตั้งถิ่นฐานถาวรมากขึ้น ถูกจำกักพื้นทีอยู่อาศัยและพื้นที่ทำกิน การเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐ ภายใต้การบริหารจัดการแบบชุมชนหมู่บ้าน แม้ว่าจะยังมีผู้นำทางจิตวิญญญาณ แต่บทบาทของผู้นำที่เป็นทางการก็มีเพิ่มมากขึ้น …สิ่งเหล่านี้เชื่อมโนงกับกฏหมายป่าไม้ ที่ดิน ชาติพันธุ์ ที่สะท้อน เครื่องมือที่ทำให้รัฐ สร้างขอบเขตใหม่ของการควบคุมที่มากขึ้นกว่าในอดีต
ในความคิดของผมอยากให้มีการกระจายอำนาจที่แท้จริง ให้กลุ่มชาติพันธุ์มีสิทธิในการดูแลทรัพยากร ธรรมชาติและอนุรักษณ์ประเพณีวัฒนธรรมของตนเองอย่างอิสระ และลดอำนาจควบคุมของรัฐในประเด็นทางวัฒนธรรม การเมืองและเศรษฐกิจ
เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา... ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่ หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น.. การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร.. ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น