ชีวิตทางสังคมของยา …(The Social Lives of Medicines)
หนังสือที่ชื่อว่า Social Lives of Medicines (2012) เขียนโดย Whyte, Susan Reynolds และคณะ หนังสือเล่มนี้มีความน่าสนใจ ในการศึกษาและวิเคราะห์ว่า ยาถูกใช้งานและได้รับความหมายทางสังคมอย่างไร ในบริบทที่แตกต่างกัน โดยผู้เขียนใช้แนวทางมานุษยวิทยาเพื่อสำรวจว่า ยาเป็นมากกว่าสารเคมีทางชีวภาพ แต่เป็นสิ่งที่มีบทบาทในโครงสร้างสังคมและเศรษฐกิจ อีกทั้งผู้เขียนนำเสนอมุมมองทางมานุษยวิทยาต่อ “ยา” ว่าไม่ได้เป็นเพียงสารเคมีที่มีผลต่อร่างกายเท่านั้น แต่เป็นวัตถุที่มีชีวิตทางสังคม (social lives) ซึ่งถูกสร้างความหมาย ปรับเปลี่ยน และใช้ในบริบทที่แตกต่างกันทั่วโลก
แนวคิดสำคัญที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ มีหลายแนวคิดเช่น
1. ยามี “ชีวิตทางสังคม” (Social Lives) หรือเรียกว่าชีวิตทางสังคมของยา (The Social Lives of Medicines)แนวคิดนี้ได้รับอิทธิพลจากแนวคิด The Social Life of Things ของ Arjun Appadurai (1986) ซึ่งอธิบายว่าวัตถุทางวัตถุวิสัยไม่ได้มีความหมายคงที่ แต่ได้รับการให้ความหมายใหม่เมื่อถูกใช้ในบริบทที่แตกต่างกัน
ดังนั้นยาไม่ได้เป็นเพียง “เครื่องมือรักษาโรค” เท่านั้น แต่มีบทบาทในระบบเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ที่สามารถมองผ่านประเด็น วิธีที่ผู้คนได้รับ แจกจ่าย ใช้ และให้ความหมายกับยานั้นแตกต่างกันไปในแต่ละบริบท ความสำคัญของยาที่ยาไม่ได้เป็นแค่สิ่งที่ใช้รักษาโรคเท่านั้น แต่ยังเป็น สินค้าที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ และมีบทบาทในความสัมพันธ์ทางสังคมเช่น ตัวอย่างยาที่แพทย์จ่ายอาจถูกแลกเปลี่ยนหรือส่งต่อภายในครอบครัว แทนที่จะใช้ตามคำสั่งของแพทย์
ดังนั้นในแอฟริกา ผู้ป่วยมักแลกเปลี่ยนยาที่ได้รับมา เนื่องจากมองว่ายาเป็นทรัพยากรของครอบครัว มากกว่าของเฉพาะบุคคล
2. ยาในฐานะ “วัตถุที่ถูกทำให้เป็นสังคม” (Pharmaceutical Objectification) การที่ผู้คนให้ความหมายกับยาแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับบริบท เช่น ในบางวัฒนธรรม การรับยาจากโรงพยาบาลเป็นสัญลักษณ์ของการได้รับการดูแล ไม่ใช่แค่การรักษาโรคเท่านั้น
ตัวอย่าง ในแอฟริกา ยาปฏิชีวนะมักถูกมองว่าเป็นยารักษาโรคทุกชนิด เพราะเข้าถึงง่ายและได้รับแจกจ่ายจาก NGO โดยในหลายประเทศแอฟริกา ยาปฏิชีวนะถูกใช้เป็น “ยาครอบจักรวาล” เพราะเข้าถึงง่ายและมีภาพจำว่าสามารถรักษาได้ทุกโรค รวมถึงในบางชุมชน การได้รับยาไม่ได้หมายถึงการรักษาโรคเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นการยืนยันถึงสถานะทางสังคมของผู้ป่วย ว่าพวกเขามีคุณค่าพอที่จะได้รับการดูแล
3. ระบบยาที่แตกต่างกัน (Plural Medical Systems) ในหลายสังคม ผู้คนไม่ได้พึ่งพายาจากแพทย์แผนปัจจุบันเพียงอย่างเดียว แต่ยังใช้ ยาแผนโบราณ ยาหมอพื้นบ้าน หรือยาที่ซื้อตามตลาดมืด
ตัวอย่างเช่น ในบางประเทศ คนใช้ยาแผนปัจจุบันร่วมกับสมุนไพรพื้นบ้าน หรือซื้อยาจากร้านขายยาท้องถิ่นโดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ ที่สะท้อนให้เห็นระบบการแพทย์พหุลักษณ์ (Plural Medical Systems) โดยแนวคิดนี้มาจากมานุษยวิทยาการแพทย์ที่ชี้ให้เห็นว่า ผู้คนไม่ได้พึ่งพาการแพทย์แผนปัจจุบันเพียงอย่างเดียว แต่ใช้ยาและการรักษาจากหลากหลายระบบควบคู่กันไป ตัวอย่างเช่น ในอินเดีย คนไข้บางคนเลือกใช้ยาปฏิชีวนะจากร้านขายยาแบบดั้งเดิมโดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ เพราะเชื่อว่ายาช่วยให้ฟื้นตัวเร็ว แม้จะใช้ผิดประเภทก็ตาม ขณะเดียวกันก็ยังเชื่อมั่นในการใช้สมุนไพรอายุรเวทเพื่อบำรุงสุขภาพ หรือในจีน คนจำนวนมากใช้ยาจีนแผนโบราณร่วมกับยาสมัยใหม่ในการรักษาโรคมะเร็ง เป็นต้น
4. อำนาจและการกระจายยา (Power and Distribution) โดยบริษัทยาข้ามชาติมีอำนาจควบคุมการเข้าถึงยาในประเทศกำลังพัฒนา ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียม ตัวอย่างเช่นยารักษาโรคเอดส์ในแอฟริกามีราคาสูงมากเนื่องจากสิทธิบัตร ทำให้ NGO ต้องต่อรองเพื่อให้ได้ราคาถูกลง ที่ทำให้เราเห็นอำนาจทางการแพทย์และตลาดยา (Pharmaceutical Governance and Markets) แนวคิดนี้ศึกษาว่าบริษัทยา รัฐบาล และองค์กรระหว่างประเทศ มีบทบาทในการกำหนดว่า ใครเข้าถึงยาอะไร ในราคาเท่าใด
ตัวอย่างเช่น ยาต้านไวรัสเอชไอวี (ARV) มีราคาสูงมากในช่วงแรก เนื่องจากบริษัทยาข้ามชาติต้องการปกป้องสิทธิบัตร ทำให้หลายประเทศในแอฟริกาไม่สามารถจัดหาให้ประชาชนได้ โดยประเทศอินเดียพยายามผลิตยาชื่อสามัญ (generic drugs) เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงยาในราคาถูกกว่า แต่ก็เผชิญแรงกดดันจากบริษัทยาข้ามชาติที่มีอำนาจมากกว่า
5. ยากับความเชื่อและการปฏิบัติ (Medicines, Belief, and Practices) ผู้คนใช้ยาไม่ใช่แค่เพราะผลทางชีวภาพ แต่เพราะ ความเชื่อ ศาสนา หรือความคาดหวัง
ตัวอย่างเช่น ในบางวัฒนธรรม การรับยาจากหมอถือเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมความมั่นใจในการรักษา แม้จะไม่เข้าใจกลไกของยา ที่สะท้อนให้เห็นความเชื่อและการใช้ยา (Beliefs and Practices in Medicine Use) แนวคิดนี้เน้นว่าผู้คนไม่ได้ใช้ยาตามคำแนะนำทางการแพทย์เสมอไป แต่พวกเขามี ระบบความเชื่อของตนเองเกี่ยวกับยา ตัวอย่างเช่น ในบางพื้นที่ของลาตินอเมริกา มีความเชื่อว่า ยาปฏิชีวนะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น แม้จะไม่มีการติดเชื้อ ทำให้มีการใช้ยาโดยไม่จำเป็น หรือในแอฟริกาตะวันตก ยาบางชนิดถูกมองว่าเป็น “ของขลัง” และอาจถูกใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา
6.ยาและความสัมพันธ์ทางสังคม (Medicines and Social Relations) แนวคิดนี้เน้นว่า ยาไม่ได้ใช้ในฐานะวัตถุเดี่ยวๆ แต่เป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและกลุ่มสังคม ตัวอย่างเช่น ในบางประเทศแอฟริกา การได้รับยาไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของสุขภาพ แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ของความห่วงใยและเครือข่ายทางสังคม คนในครอบครัวอาจแลกเปลี่ยนยากันแม้ไม่ได้เป็นโรคเดียวกัน หรือในประเทศไทย คนไข้บางคนที่มีฐานะดีอาจเลือกซื้อยาแพงจากโรงพยาบาลเอกชน แม้ว่าจะสามารถรับยาราคาถูกกว่าจากโรงพยาบาลรัฐได้ เพราะยาแพงให้ความรู้สึกถึง “สถานะ” ที่สูงกว่า
หนังสือ Social Lives of Medicines แสดงให้เห็นว่า ยาไม่ได้เป็นแค่สิ่งทางชีวการแพทย์ แต่เป็นวัตถุที่มีบริบททางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม การออกแบบระบบสุขภาพจึงต้องคำนึงถึง ความหมายทางสังคมของยาและวิธีที่ผู้คนใช้งานในชีวิตจริง ยาไม่ได้เป็นเพียงผลิตภัณฑ์ทางชีวเคมี แต่เป็นวัตถุที่ถูกให้ความหมายใหม่และถูกใช้งานในลักษณะที่ซับซ้อนขึ้นอยู่กับบริบททางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ
คำถามสำหรับการนำไปวิเคราะห์ต่อ เช่น เราสามารถใช้แนวคิดนี้อธิบายพฤติกรรมการใช้ยาในประเทศไทยได้อย่างไร? ความเชื่อเกี่ยวกับยามีผลต่อการเข้าถึงและการใช้ยาในระบบสุขภาพของไทยหรือไม่? สุดท้าย บทบาทของบริษัทยาข้ามชาติมีผลต่อระบบสาธารณสุขในเอเชียอย่างไร?
เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา... ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่ หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น.. การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร.. ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น