มานุษยวิทยาโรแมนติก…ก่อนวาเลนไทม์ อยากเขียน..วัฒนธรรมกับความรัก ก็ลองค้นหาวัตถุดิบและข้อมูลที่จะนำมาเขียน ปรุงรสตามสไตล์…รวมทั้งใช้จดหมายที่ผมกับแฟนเคยเขียนส่งถึงกัน การ์ดที่ทำส่งให้กัน ตั๋วรถไฟที่ไปเที่ยวด้วยกันครั้งแรก ผ้าพันคอที่ถักให้กันตอนไปเรียน หรือภาพพรีเวดดิ้ง ของชำร่วย เพื่อย้อนวันวานยังหวานอยู่ ไม่ว่าวันไหน..
ผมนึกถึงหนังสือเล่มหนึ่งที่ขื่อ Romantic Passion: A Universal Experience? เป็นหนังสือที่ได้รับการแก้ไขและรวบรวมโดย William Jankowiak ซึ่งเป็นนักมานุษยวิทยาที่ศึกษาความรักและความสัมพันธ์ในบริบททางวัฒนธรรมที่หลากหลาย หนังสือเล่มนี้ตั้งคำถามว่าความรักแบบโรแมนติกเป็นปรากฏการณ์สากลที่มีอยู่ในทุกวัฒนธรรมหรือไม่ และมีการนำเสนองานวิจัยเชิงเปรียบเทียบจากสังคมต่างๆ ทั่วโลก
Jankowiak และนักวิชาการคนอื่นๆ นำเสนอหลักฐานจากหลากหลายวัฒนธรรมเพื่อสนับสนุนว่าความรักโรแมนติกพบได้ทั่วไป แต่ลักษณะการแสดงออกและความหมายของมันถูกกำหนดโดยบริบททางวัฒนธรรมดังนั้นแม้ว่าความรักโรแมนติกจะมีอยู่ในหลายสังคม แต่ลักษณะของมันแตกต่างกันไป เช่น บางสังคมให้ความสำคัญกับความรักในการแต่งงาน ในขณะที่บางสังคมอาจมองว่าความรักโรแมนติกเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับโครงสร้างครอบครัว เนื่องจากสังคมแต่ละแห่งมีเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาความรักโรแมนติก เช่น ระบบการแต่งงานที่ถูกกำหนดโดยครอบครัว หรือแรงกดดันจากเศรษฐกิจที่ทำให้การเลือกคู่ครองไม่ได้ขึ้นอยู่กับความรู้สึกรักเพียงอย่างเดียว ในขณะเดียวกันความรักก็ถูกเชื่อมโยงกับเรื่องอพฤติกรรมทางเพศ ในบางวัฒนธรรม ความรักและเรื่องเพศอาจถูกแยกจากกัน ในขณะที่บางวัฒนธรรมถือว่าเรื่องทั้งสองเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกันอย่างลึกซึ้ง ดังนั้น ความรักจึงอาจถูกเชื่อมโยงกับ เสรีภาพส่วนบุคคลและอารมณ์ หรือบางวัฒนธรรมเชื่อมโยงความรักกับ พันธะทางเศรษฐกิจและครอบครัว เช่น การแต่งงานเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
หลายวัฒนธรรมความรักโรแมนติกเชื่อมโยงกับเพศสภาพ โดยสะท้อนผ่านบทบาทของเพศสภาพส่งผลต่อการแสดงออกของความรัก เช่น ในบางวัฒนธรรม ผู้ชายถูกคาดหวังให้แสดงออกถึงความรักในลักษณะต่างจากผู้หญิง โดยความรักโรแมนติกอาจถูกมองว่าเป็น “สิ่งของของผู้หญิง” ในบางสังคม แต่ในบางแห่งกลับเป็นเครื่องมือที่ใช้ควบคุมพฤติกรรมทางเพศ รวมถึงอิทธิพลของสื่อและวัฒนธรรมป๊อปต่อความรักโรแมนติก สื่อต่างๆเช่น ภาพยนตร์ ฮอลลีวูด นิยายรัก และโซเชียลมีเดีย ช่วยสร้างอุดมคติของความรัก โดยเฉพาะอุดมคติเรื่อง “รักแท้” ส่งผลต่อความคาดหวังของผู้คนในชีวิตจริง
การศึกษาเปรียบเทียบจากวัฒนธรรมทั่วโลกพบว่า สังคมตะวันตกที่ให้ความสำคัญกับแนวคิด “รักแท้” และ “คู่แท้” ในขณะที่สังคมจีนโบราณที่เคยเน้นการแต่งงานตามหน้าที่มากกว่าความรัก รวมทั้งสังคมของชนพื้นเมืองในแอฟริกาและอเมริกาเหนือที่มีแนวคิดเรื่องความรักและการแต่งงานที่แตกต่างไปจากตะวันตก ตัวอย่างเช่น ในสังคมจีนที่มองผ่านการเปลี่ยนแปลงของแนวคิดเรื่องความรักในบริบทของขงจื๊อและสังคมสมัยใหม่ ในอินเดียที่บทบาทของความรักในการแต่งงานที่จัดเตรียมโดยครอบครัว ในญี่ปุ่นที่เน้นแนวคิดเรื่อง “รักบริสุทธิ์” (pure love) และผลกระทบของสื่อมวลชนต่อความรัก หรือในแอฟริกา ที่่เน้นการเชื่อมโยงระหว่างความรักโรแมนติกและระบบเครือญาติ สุดท้ายตัวอย่างในอเมริกาเหนือและยุโรปที่สัมพันธ์กับอิทธิพลของแนวคิดเสรีนิยมและปัจเจกนิยมต่อการมองความรักของผู้คน
นอกจากนี้ Jankowiak ได้วิเคราะห์บทบาทของ สื่อและอุดมการณ์ ในการสร้างภาพของความรักโรแมนติก เช่น อิทธิพลของนิยายรัก ภาพยนตร์ และวัฒนธรรมป๊อปต่อความคิดเรื่องความรักที่เราไม่อาจปฏิเสธได้
**หรือเราเข้าใจรัก?..ความเป็นสากลของความรักและพัฒนาการรักโรแมนติก**
Stendhal (1822) กล่าวว่า ความรักก็เปรียบเหมือนไข้ เพราะภาวะของการเจ็บไข้นั้นจะแพร่กระจายเชื้อไปสู่ทุกคน เช่นเดียวกับนักวิขาการด้านประวัติศาสตร์สังคมของตะวันตกได้ชี้ให้เห็นว่าความรักโรแมนติกเป็นผลมาจากวัฒนธรรมยุคกลางในยุโรปที่แพร่กระจายไปยังวัฒนธรรมอื่น ๆ ดังพวกเขานั้นพวกเขา(นักวิชาการชาวยุโรป) จึงไม่ได้สนใจนิทานอันแสนโรแมนติกของวัฒนธรรมอื่นและมักมีมุมมองว่าความรักแบบโรแมนติกเป็นตัวแทนพฤติกรรมชนชั้นสูงเท่านั้น
ดังนั้นภายใต้ภายใต้อิทธิพลของมุมมองแบบนี้ นักมานุษยวิทยาชาวตะวันตกจึงไม่ได้สนใจค้นหาเรื่องราวความรักรูปแบบอื่นๆในหมู่ชนชาติอื่นๆที่พวกเขาศึกษา แต่พวกเขาคิดว่าความรักโรแมนติกมีลักษณะเป็นสากลของมนุษย์ที่เจริญแล้วและเป็นมรดกตกทอดของอดีตที่มีวิวัฒนาการร่วมกันของมนุษยชาติ ซึ่งดูเหมือนว่าความรักแบบโรแมนติกจะเกิดจากสัญชาตญาณที่เบ่งบานในจิตใจของมนุษย์อยู่เสมอ แต่ในขณะเดียวกันก็ถูกควบคุมโดยขนบธรรมเนียมประเพณีบางอย่างของพื้นที่นั้นๆ
ในบางครั้งความรักโรแมนติกอาจจะขัดแย้งกับค่านิยม ความเชื่อ และแนวทางปฎิบัติของสถาบันทางสังคมที่มีอิทธิพลเข้มแข็ง และเชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกันอย่างมีระเบียบแบบแผนมาอย่างยาวนานแล้ว ตัวอย่างเช่น ตัวเลือกของคนรักตามอุดมคติแบบโรแมนติก (ผู้ชายผู้หญิงในฝัน คู่ชีวิตในอนาคต) มักไม่ค่อยตรงกับคู่ครองที่มีลักษณะอันเหมาะสม ซึ่งครอบครัวจะมีอิทธิพลในการบอกและกำหนดแนวทางเลือกคู่ครองในแง่มุมนั้น ซึ่งนั่นก็สะท้อนภาวะการปะทะกันระหว่าง Agency ของผู้รักกับ Structure ของสังคม
***ความรัก อันตรายและความเสี่ยงเมื่ออยู่ใต้อำนาจรัก***
ผู้คนจำนวนหนึ่งทั่วโลกมองว่าการตกหลุมรักเป็นการกระทำที่อันตรายและทำลายล้าง แม้จะมีเสน่ห์ดึงดูดใจอย่างปฏิเสธไม่ได้ แต่อย่าได้ตกเข้าไปยังหลุมพรางและบ่วงของความรักนั้นเลยเชียว มิเช่นนั้นคุณก็จะต้องอยู่เป็นทาสมันจนไม่อาจขึ้นมาจากหลุมนั้นได้
นิทานพื้นบ้านและตำนานปรัมปราส่วนใหญ่มีเรื่องราวชี้ให้เห็นว่าไม่ควรสร้างหลุมพรางของการตกหลุมรัก เพราะมันจะนำมาซึ่งการสูญเสียอำนาจ ความเปราะบางอ่อนไหว การสูญเสียความเป็นตัวเอง การพลัดพราก และความตาย..นักมานุษยวิทยาแยกแยะความแตกต่างระหว่างความรักแบบโรแมนติกและภาวะตัณหา เช่นเดียวกับการจัดประเภทความรักออกเป็นลักษณะต่างๆ เช่นความรักระหว่างเพื่อนหรือพ่อแม่กับลูก โดยความรักโรแมนติกนั้นนักมานุษยวิทยาหมายถึงแรงดึงดูดที่รุนแรงและความปรารถนาที่จะได้อยู่กับคนที่คุณรัก แต่การศึกษาความรักในทางมานุษยวิทยาก็น้อยมาก หรือในทางรัฐศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ก็แทบจะไม่มี
*** ความฟุ่มเฟือยแห่งรัก หรือว่ารักจะเกี่ยวกับชนชั้น***
นักวิขาการท่านหนึ่งบอกว่า "เพราะเหตุใดสิ่งที่เป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมของเราอย่างเข่นเรื่องความรักจึงถูกละเลยจากการศึกษาทางมานุษยวิทยา" ( William Jankowiak)
เหตุผลในมุมมองของ Jankowiak และคนอื่นๆ คืออคติทางวิชาการส่วนใหญ่ที่มองว่าความรักโรแมนติกเป็นเรื่องฟุ่มเฟือยในชีวิตมนุษย์ เป็นสิ่งที่ผู้คนในวัฒนธรรมตะวันตกหรือชนชั้นสูงที่มีการศึกษาเท่านั้นที่จะถูกตามใจและให้อิสระได้ในสังคม ตัวอย่างเช่น ในสังคมที่ชีวิตยากจะคาดเดาได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับชีวิตตัวเองบ้าง ต้องดิ้นรนเลี้ยงปากท้อง ความรักโรแมนติกจึงมีโอกาสน้อยมากที่จะเติบโตเบ่งบาน เพราะมาตรฐานทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นและเวลาว่างมากขึ้นสร้างโอกาสมากขึ้นสำหรับการเกี้ยวพาราสี นั่นก็มีส่วนทำให้เกิดความเชื่อที่ว่าความรักเป็นเรื่องของชนชั้นปกครอง ไม่ใช่ชนชั้นชาวนาที่ต้องหาเช้ากินค่ำและไม่ใคร่มีเวลาสำหรับเรื่องโรแมนติกมากนัก แต่ในความจริงถ้าเราอ่านนิยายหลายเรื่อง การว่ายน้ำในคลองแสนแสบด้วยกันของขวัญกับเรียม การเป่าขลุยบนหลังควายด้วยกันของไอ้คล้าวกับทองกวาว ..นี่มันช่างโรแมนติกเสียนี่กระไร ..ความรักมันจึงข้ามพรมแดน ข้ามชนชั้น ข้ามพื้นที่ ข้ามอาชีพ ข้ามสถานะ หาใช่เรื่องของชนชั้นกลางต่อไปไม่ ชนขั้นอื่นๆก็ฟังและเสพละครวิทยุ ดูทีวี อ่านนิยายเล่มละบาท อ่านคู่สร้างคู่สม ศาลาคนเศร้า นี่ยิ่งตอกย้ำและผลิตซ้ำภาพของความรักโรแมนติกอย่างชัดเจน
***ความรักและการค้นหาความรักจากหลักฐานเชิงประจักษ์***
ในมุมมองของ Jankowiak กล่าวว่า "มีความรักโรแมนติกในวัฒนธรรมทั่วโลก" ดังหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ Jankowiak และ Dr. Edward Fischer นักมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยทูเลน ซึ่งได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาข้ามวัฒนธรรมครั้งแรกใน Ethnology โดยเปรียบเทียบความรักโรแมนติกในหลายวัฒนธรรมอย่างเป็นระบบในการสำรวจกลุ่มชาติพันธุ์จาก 166 วัฒนธรรม พวกเขาพบสิ่งที่คิดว่าเป็นหลักฐานชัดเจนว่ารู้จักความรักโรแมนติกใน 147 วัฒนธรรม ซึ่งคิดเป็น 89 เปอร์เซ็นต์ของตัวอย่างที่ศึกษา
ข้อมูลของนักมานุษยวิทยาชี้ให้เห็นวัฒนธรรบางพื้นที่ตัวอย่างเช่น Nisa หญิงชาวกุง(Kung)ในกลุ่มชนเผ่า Bushmen of the Kalahari ได้แยกความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างความรักที่เธอมีต่อสามี และความรู้สึกที่เธอมีต่อคนรัก ซึ่งมีลักษณะที่น่าหลงใหล เย้ายวนและน่าตื่นเต้นมากกว่าสามี อีกทั้งความคิดดังกล่าวจะไม่ถูกนิยามหรือมองว่าเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในเชิงการนอกใจ เธอกล่าวว่า "เมื่อคนสองคนมาเจอกัน หัวใจของพวกเขาจะลุกเป็นไฟ และความหลงใหลของพวกเขาก็ยิ่งเพิ่มทวีมากขึ้น หลังจากนั้นไม่นาน ไฟก็ค่อยมอดไหม้ เริ่มเย็นลงอย่างช้าๆและมันก็เป็นอย่างนั้นเองตามธรรมชาติ“ เมื่อรักทั้งสองแบบไม่เกี่ยวข้องกัน และไม่ใช่การนอกใจ การกระทำหรือมีความรู้สึกดังกล่าวจึงเป็นเรื่องปกติและทำให้เห็นอิสระแห่งรัก ..
หลักฐานส่วนใหญ่ของความรักโรแมนติกมาจากนิทานสอนใจ ตัวอย่างเช่น นิทานที่มีชื่อเสียงของจีนในสมัยราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 960-1279) คือเรื่องเทพธิดาหยก คล้ายกับคำอธิบายความรักโรแมนติกของนิทานยุโรปเรื่อง Tristan และ Isolde โดยเล่าถึงการที่ชายหนุ่มตกหลุมรักผู้หญิงคนหนึ่งที่ครอบครัวของเธอตกลงใจให้แต่งงานกับชายคนอื่น แต่เธอกลับรักเขา สุดท้ายทั้งคู่จึงหลบหนีออกไป แต่เรื่องรายจบลงด้วยความเคียดแค้นใจและการถูกดูหมิ่นเกียรติและในที่สุดเธอก็ถูกนำกลับบ้านด้วยความอัปยศอดสูแห่งครอบครัว
งานวรรณกรรมตั้งแต่ Kama Sutra ไปจนถึงบทกวีของ Sappho เรื่องราวเกี่ยวกับความรักพบได้ในวรรณกรรมโบราณทั่วโลก แม้ว่านักมานุษยวิทยาและนักประวัติศาสตร์สังคมตะวันตกจะละเลยในการอธิบายถึงสิ่งที่เป็นเคมีในสมองของมนุษย์ ดังเช่น เฮเลน ฟิชเชอร์ นักมานุษยวิทยาแห่งพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติอเมริกัน โต้แย้งทัศนะเหล่านี้ในหนังสือของเขาขื่อ"กายวิภาคของความรัก" โดยชี้ให้เห็นว่าเคมีในสมองสำหรับความรักแบบโรแมนติกพัฒนาขึ้นพร้อมกับความผูกพันของคู่รักเมื่อสี่หรือห้าล้านปีก่อน เมื่อเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ ตั้งแต่มนุษย์เริ่มออกหาอาหาร มีวิวัฒนาการยืนสองขา และการนำอาหารกลับไปยังที่พักอันปลอดภัยสำหรับการกิน ฟิชเชอร์กล่าวว่า "แม่สามารถทำทั้งหมดได้ทุกอย่าง แม้แต่อุ้มทารกไว้ในอ้อมแขน โดยไม่ได้รับความช่วยเหลือจากคู่ความสัมพันธ์ผู้ชาย นั่นนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในกลยุทธ์การสืบพันธุ์ การสร้างเงื่อนไขของความหลงใหลและความผูกพันรวมถึงอำนาจของผู้หญิงต่อผู้ชาย ซึ่งเป็นส่วนผสมของความรักโรแมนติก ด้วยวิวัฒนาการของพันธะคู่ทำให้เกิดปฎิสัมพันธ์ของเคมีในร่างกายที่เริ่มต้นและคงไว้ซึ่งพันธะดังกล่าว เธอเสนอว่าเนื่องจากมีระบบชีวเคมีของสมองที่ควบคุมความรู้สึกโรแมนติก ความสามารถสำหรับความรักจึงเป็นสากลถึงกระนั้น วัฒนธรรมที่กำหนดอาจถ่ายทอดความรู้สึกโรแมนติกในรูปแบบต่างๆ
***วัฒนธรรมสร้างรัก รักที่หลากหลายบริบท***
Jankowiak กล่าวว่าความรักโรแมนติกอาจถูกปิดกั้นหรือถูกกดขี่ด้วยประเพณีทางวัฒนธรรม เช่น การแต่งงานที่จัดโดยครอบครัว ในขณะที่คู่หมั้นยังเป็นเด็กอยู่ Jankowiak กล่าวว่า "สัดส่วนของสมาชิกในชุมชนที่มีความรักโรแมนติกอาจขึ้นอยู่กับองค์กรทางสังคมของวัฒนธรรมนั้นๆ ดังนั้นรักแรกอาจไม่ใช่รักโรแมนติก ก็ได้..
ดังที่ Plotnicav เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้เมื่อมองย้อนกลับไปในงานภาคสนามของเขาที่มองข้ามเรื่องนี้เมื่อ 30 ปีที่แล้วในไนจีเรีย คือกรณีที่ผู้ชายคนหนึ่งขอให้ญาติของเขาหาภรรยาให้เขา ในไนจีเรียมีธรรมเนียมสำหรับผู้ชายมีภรรยาหลายคนได้ ถ้าหากพวกเขาสามารถจ่ายค่าใช้จ่ายหรือเลี้ยงดูผู้หญิงที่มีความสัมพันธ์ทุกคนได้ ผู้ชายคนนั้นก็สามารถมีภรรยามากกว่าหนึ่งคนได้ สิ่งที่น่าสนใจคือ ปรากฏการณ์ของการแต่งงานมากกว่า1 ครั้ง และส่วนหนึ่งมักจะเป็นภรรยาคนที่สามที่พวกเขาแต่งงานด้วย ที่มักจะถูกให้เหตุผลด้วยความรักแบบโรแมนติกมากกว่าคนก่อนหน้า..
Plotnicav กล่าวว่า "ฉันจำชายคนหนึ่งที่บอกฉันว่า เขาเห็นภรรยาคนที่สามของเขาเดินผ่านตลาดเป็นครั้งแรก และในขณะที่เขาพูดว่า 'เธอพรากชีวิตฉันไป' เขาหลงรักเธออย่างแรงกล้าและติดตามเธอจนกระทั่งเธอแต่งงานกับเขา” แต่กระบวนนั้น ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงไป ภายใต้อิทธิพลของเพลงและภาพยนตร์ยอดนิยม ในหมู่บ้านเหล่านี้ ผู้เฒ่าผู้แก่กังวลว่าชายหญิงที่อายุน้อยกว่าจะมีแนวคิดที่แตกต่างออกไปเกี่ยวกับความรักแบบโรแมนติก ซึ่งพวกเขาจะต้องเลือกคู่ครองด้วยตนเอง ทำให้เริ่มมีการหลบหนีออกจากบ้าน ซึ่งเป็นเรื่องอื้อฉาวและยอมรับไม่ได้อย่างยิ่ง ซึ่งสะท้อนกระแสความรักแบบเลือกเองมากกว่าการแต่งงานแบบคลุมถุงชนที่เพิ่มมากขึ้นในไนจีเรีย
หรือตัวอย่างชาวอะบอริจิ้นในชนบทห่างไกลของออสเตรเลีย การแต่งงานถูกจัดขึ้นมานานหลายศตวรรษเมื่อเด็กยังเด็กอยู่มาก รูปแบบดังกล่าวถูกขัดจังหวะเมื่อต้นศตวรรษนี้โดยมิชชันนารี ผู้ซึ่งกระตุ้นไม่ให้การแต่งงานเกิดขึ้นจนกว่าเด็กจะเข้าสู่วัยรุ่น อายุเฉลี่ยของหญิงสาวที่แต่งงานมักจะก่อนมีประจำเดือนเสมอ บางครั้งอาจมีอายุเพียง 9 ปี วันนี้อายุเฉลี่ยของการแต่งงานคือ 17 ปี เด็กผู้หญิงมีอิสระมากขึ้น เมื่อพ่อแม่พยายามจัดการเรื่องการแต่งงานให้ การตั้งครรภ์กลายเป็นข้ออ้างสำคัญ เด็กสาววัยรุ่นจำนวนมาก กำลังค่อยๆแยกตัวออกจากการแต่งงานแบบคลุมถุงชน พวกเขาชอบที่จะเข้าไปในพุ่มไม้เพื่อ 'ออกเดท' หรือมีความสัมพันธ์กับคนที่พวกเขาชอบ เพื่อนำปไปสู่การตั้งครรภ์ และใช้การตั้งครรภ์นั้นเพื่อให้ผู้ปกครองอนุญาตสำหรับความรักของตัวเอง ถึงกระนั้นก็ตาม บางครั้งพ่อแม่ก็ยืนกรานว่าคนหนุ่มสาวไม่ควรแต่งงาน พวกเขาชอบให้เด็กผู้หญิงทำตามแบบแผนดั้งเดิมของการให้แม่เลือกสามีให้ โดยตามธรรมเนียมดังเดิม แม่ต้องการหาเด็กผู้ชายที่เป็นลูกพี่ลูกน้อง ซึ่งเป็นรูปแบบที่ประกันว่าคู่ครองจะอยู่ในกลุ่มเครือญาติที่เหมาะสม โดยสิ่งเหล่านี้มีหน้าที่ในพิธีกรรมที่สำคัญ แต่การแต่งงานบนพื้นฐานของความรักโรแมนติกโดยไม่สนใจคู่ครองที่เหมาะสม ถือเป็นบ่อนทำลายระบบเครือญาติ พิธีกรรม และข้อผูกมัดทางสังคม อย่างไรก็ตามในปัจจุบันกฎสำหรับการแต่งงานกำลังอ่อนแอลง
รูปแบบที่คล้ายกันนี้เกิดขึ้นในหมู่บ้านทางตอนเหนือของโมร็อกโก ที่ศึกษาโดย Susan David นักมานุษยวิทยา ที่ทำงานภาคสนามที่โมร็อกโกครั้งแรกในปี 2508 การแต่งงานเป็นข้อตกลงทางเศรษฐกิจที่เน้นผลประโยชน์อย่างเคร่งครัด ในตอนแรกพ่อแม่ของผู้หญิงและผู้ชายจะจัดการเรื่องการแต่งงานให้พวกเขา จากนั้นการมาถึงของโทรทัศน์และภาพยนตร์ในหมู่บ้าน การนำละครอียิปต์และภาพยนตร์อเมริกันเข้ามา ความคิดเรื่องความรักจึงแพร่กระจายออกไป แต่ก็ยังคงเป็นเรื่องต้องห้ามสำหรับผู้หญิงที่จะพูดกับพ่อแม่ของเธอว่า 'ฉันรักผู้ชายคนหนึ่งและต้องการแต่งงานกับเขา แต่สิ่งใหม่ในตอนนี้ก็คือ เด็กผู้หญิงคาดหวังว่าพวกเธอจะสามารถยับยั้งคู่ครองที่พ่อแม่ของเธอเสนอ และในที่สุดพ่อแม่ของเธอก็จะยอมรับกับคนที่เธอชอบ
ในวัฒนธรรมเหล่านี้ที่ยกตัวอย่างมาทั้งหมด ขี้ให้เห็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงไปสู่รูปแบบการแต่งงานด้วยความรัก ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจของคนรุ่นเก่า โดยชี้มให้เห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นภัยคุกคามต่อค่านิยมดั้งเดิม Jankowiak กล่าวว่า "หากคุณทำตามแรงกระตุ้นส่วนตัว คุณจะละทิ้งความภักดีและภาระผูกพันของคุณต่อสังคม การจับคู่ความรักสร้างหน่วยใหม่ที่ไม่สนใจเป้าหมายทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัวต้นกำเนิดของคุณ
***เหตุใดมนุษย์จึงต้องกลัวความรัก***
Jankowiak ยังกล่าวอีกว่าความกลัวเรื่องความรักโรแมนติกอย่างลึกซึ้งนั้นอธิบายถึงนิทานประเภทโรมิโอและจูเลียตที่เกือบจะเป็นสากล ของตัวอย่างคู่รักที่ตกหลุมรักกันแม้ว่าครอบครัวของพวกเขาจะคัดค้าน และนำไปสู่โศกนาฎกรรมที่น่าเศร้าแทนที่จะมีความสุขตลอดไป คติสอนใจของนิทานเตือนใจเหล่านี้ก็คือ ความรักโรแมนติกเป็นศัตรูของครอบครัวขยายและความมั่นคงทางสังคม
Jankowiak ยัฃเน้นย้ำอีกว่า เมื่อการแต่งงานแบบโรแมนติกกลายเป็นเรื่องธรรมดามากขึ้นในวัฒนธรรมหนึ่ง ๆ สายสัมพันธ์แบบเก่า ๆ แบบดั้งเดิมก็ค่อยๆอ่อนลง แม้ว่าพวกมันอาจเกิดการปรับตัวในรูปแบบใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงแบบทันสมัยก็ตาม
หลายศตวรรษที่ผ่านมา ความรักโรแมนติกได้รับการสำรวจโดยนักเขียน นักปรัชญา ศิลปิน และนักดนตรี ซึ่งได้อธิบายแง่มุมต่าง ๆ ของมันและเปิดเผยอารมณ์และความรู้สึกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความรักประเภทนี้ ความพยายามอย่างเป็นระบบของนักสังคมศาสตร์ในการทำความเข้าใจความรักโรแมนติกเริ่มขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 และในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา หัวข้อนี้ได้รับความนิยมในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ นักวิชาการจากสาขาต่างๆ เช่น นักสังคมวิทยา นักมานุษยวิทยา นักจิตวิทยา ได้พัฒนาทฤษฎีความรักอย่างมากมาย
ในช่วงทศวรรษที่ 1980 นักวิชาการจากนานาประเทศเริ่มเจาะลึกแนวคิดเรื่องความรักผ่านมุมมองแบบวิวัฒนาการ จิตวิทยาและมิติทางวัฒนธรรม พวกเขาสนใจที่จะตรวจสอบว่าความรักแบบโรแมนติกเป็นอารมณ์สากลที่มีอยู่ในวัฒนธรรมต่างๆ หรือไม่ และทัศนคติต่อความรักและประสบการณ์ความรักมีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไรในวัฒนธรรมของผู้คน ชนชั้นต่างๆ ช่วงวัยต่างๆ สังคมต่างๆ และช่วงเวลาทางสังคมที่แตกต่างกัน รวมทั้งได้ให้ความเข้าใจกับเรา เกี่ยวกับความรักโรแมนติกในฐานะปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรม การวิจัยโดย David Buss, Helen Fisher, Ellen Hatfield, Susan Sprecher, Robert Levine, Robin Goodwin, Dan Landis และ Carolyn Simmons ในการวิจัยมานุษยวิทยา สังคมวิทยา จิตวิทยา และการสื่อสารได้ขยายความเข้าใจของเราอย่างมากเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงข้ามวัฒนธรรมของความรัก ทั่วโลก
***รักโรแมนติกเป็นสิ่งสร้างจากสังคมตะวันตกฝ่ายเดียวหรือ ****
คำถามที่สำคัญคือ ความรักโรแมนติกเป็นเพียงสิ่งสร้างทางวัฒนธรรมตะวันตกเท่านั้นใช่หรือไม่เมื่อพิจารณาจากต้นกำเนิดในยุคกรีกโบราณ อินเดีย และโลกอิสลาม หรือสังคมอื่นๆ รวมถึงสังคมไทย …ความรักเป็นสิ่งที่เป็นสากลในสังคมมนุษย์หรือไม่ ข้อสรุปพื้นฐานคือความรักเป็นอารมณ์ความรู้สึกสากลที่ผู้คนส่วนใหญ่ประสบในยุคประวัติศาสตร์ต่างๆ และในทุกวัฒนธรรมของโลก แต่แสดงออกในรูปแบบต่างๆ กัน เนื่องจากพบว่าวัฒนธรรมมีผลกระทบต่อแนวคิดของผู้คนเกี่ยวกับความรักและ วิธีที่พวกเขารู้สึก คิด และปฏิบัติตนในความสัมพันธ์ที่โรแมนติก
ดูเหมือนว่าความรักเป็นอารมณ์ที่เป็นสากลและมีพื้นฐานทางชีววิทยา เมื่อชายหรือหญิงมีความรัก พวกเขารู้เรื่องนี้จากความรู้สึกของพวกเขาโดยไม่ต้องพูดอะไร อุปสรรคข้ามวัฒนธรรมและข้ามภาษาไม่สำคัญสำหรับพวกเขา การสื่อสารด้วยวาจาและไม่ใช่คำพูดทำให้เป็นไปได้ ผู้คนต่างสงสัยว่าจะพูดว่า "ฉันรักคุณ" ในภาษาอื่นได้อย่างไร Je t’aime (ภาษาฝรั่งเศส), Ich liebe Dich ภาษาเยอรมัน), Ti amo (ภาษาอิตาลี), "wo ai ni" (ภาษาจีน), Mahal kita (ภาษาตากาล็อก) ที่สะท้อนความหลากหลายของคำบอกรักหลายชาติ หลายภาษา
คำต่อไปนี้น่าจะเป็นคำที่เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติมากที่สุด เช่นคำว่า รัก (ภาษาอังกฤษ), amor (ภาษาสเปน), amour (ภาษาฝรั่งเศส), amore (ภาษาอิตาลี), Liebe (ภาษาเยอรมัน) คำเหล่านี้อาจมีความหมายแฝงหลายอย่าง พวกเขามีความหมายที่แตกต่างกันมากมายและสะท้อนถึงรูปแบบและประเภทของความรักมากมาย ประสบการณ์และการแสดงออกของความรักอาจแตกต่างกันไปตามสถานการณ์: (1) การพบกันครั้งแรก (2) การพบกันอีกครั้ง (3) ความรักที่ไม่สมหวัง (4) ความเสี่ยงที่จะสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก หรือ (4) บุคคลอันเป็นที่รักจะ ไม่เคยกลับมา ความรู้สึกเหล่านี้อาจเป็นความสุขและความอิ่มเอมใจ ความริษยา ความคิดถึง ฯลฯ
คำว่า "ความรักโรแมนติก" ดูเหมือนจะได้รับการประกาศเกียรติคุณยกย่องจากนักวิจารณ์วรรณกรรม อย่าง Gaston Paris ในศตวรรษที่ 19 เพื่อแสดงถึงกลุ่มทัศนคติ พฤติกรรมและรูปแบบซึ่งเป็นลักษณะของวรรณกรรมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 12 (Paris, 1883) แนวคิดของความรักโรแมนติกเป็นส่วนผสมของความต้องการทางเพศและความเสน่หาเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการศึกษาหลายชิ่นของ Havelock Ellis ในจิตวิทยาเรื่องเพศ (1897-1928) เอลลิส สรุปว่าความรักนั้นถูกมองว่าเป็นส่วนผสมของตัณหาและมิตรภาพซึ่งรวมถึงความอ่อนโยนและความเสน่หา เขามองว่าความรักแบบโรแมนติกเป็นมากกว่าความต้องการทางเพศ แม้ว่าเขาจะพบว่าความต้องการทางเพศเป็นส่วนสำคัญของความรักแบบโรแมนติกด้วยก็ตาม (Hatfield, Rapson, & Martel, 2007; Jankowiak, 1995)
ความรักโรแมนติกมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับแรงดึงดูดทางเพศ แต่มันเป็นความรักในรูปแบบหนึ่งแตกต่างจากความต้องการที่ขับเคลื่อนด้วยความต้องการทางเพศหรือตัณหาเพียงอย่างเดียว ความรักโรแมนติกมักเกี่ยวข้องกับอารมณ์และความต้องการทางเพศ อารมณ์ฟุ้งซ่าน ความเบิกบาน ความเร่าร้อน และความอิ่มเอิบใจ ความรักโรแมนติกเร่าร้อนแต่ความหลงใหลไม่ได้เป็นเพียงคุณสมบัติเดียวของความรักประเภทนี้ เพราะคำว่า Romanceis คือ ความเพ้อฝัน, ความรู้สึกที่แสดงออกและน่าพึงพอใจจากแรงดึงดูดทางอารมณ์ที่มีต่อบุคคลอื่น โดยมักจะให้ความสำคัญกับอารมณ์มากกว่าความสุขทางกาย
ตามพจนานุกรม ระบุว่า ความรักโรแมนติกมีลักษณะเฉพาะคือความรักใคร่และความหมกมุ่นอยู่กับความรัก ทัศนคติที่ไม่สมจริงและเพ้อฝันต่อคู่ครอง และความรู้สึกที่รักใคร่ ที่เรียกว่า toujours (ภาษาฝรั่งเศส) แปลว่ารักนิรันดร์ที่ไม่มีวันสิ้นสุดและอยู่ที่นั่นเสมอความรักที่สงบสุขเป็นเรื่องทางจิตวิญญาณและอารมณ์ล้วนๆ และน่าจะปราศจากความปรารถนาทางร่างกาย เพราะเรื่องร่างกายมันถูกมองว่าคือการแสดงออกในทางที่ไม่เร้าอารมณ์และขาดความใกล้ชิดทางอารมณ์ แต่อย่างไรก็ตาม เรายะพบว่าผู้คนสามารถสัมผัสกับความรักทั้งสองแบบได้อย่างไม่แยกออกจากกันเด็นขาด เพราะร่างกายถือเป็นแหล่งของการรับรู้ และเชื่อมโยงกับความรู้สึกและอารมณ์ หรือ เราไม่เคยหน้าแดงเพราะเขิน หัวใจเต้นเร็วเมื่ออยู่ใกล้กับคนที่เราของ เป็นต้น
***วรรณกรรมกับความรัก :ภาพสะท้อน แบบจำลองความรัก***
Hatfield and Rapson (2002) ให้ความเห็นไว้ว่า วรรณกรรมตะวันตกยุคแรกๆ เต็มไปด้วยเรื่องราวของคู่รัก ทั้งเรื่องสมมติและเรื่องจริง ที่สร้างให้ผู้คนจ่อมจมอยู่ในทะเลแห่งความหลงใหลและความรุนแรง...แต่ถึงกระนั้น ทัศนคติและพฤติกรรมที่หลงใหลนั้นก็แตกต่างกันอย่างมาก แต่มันก็ส่งผ่านกันได้ จากวัฒนธรรมหนึ่งไปสู่อีกวัฒนธรรมหนึ่ง หรือจากช่วงเวลาชั่วขณะหนึ่งไปยังอีกช่วงเวลาหนึ่ง นี่คือตัวอย่างบางส่วน ของนักปรัชญาชาวฮินดู อย่าง วาสยานะ ที่เกิดขึ้นในช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 3 เขาป็นผู้เขียน Kama Sutra ที่แนะนำให้ชายและหญิงแต่งงานกันเพื่อความรัก ในขณะที่คริสตจักรยุคกลางประณามการปล่อยตัวต่อความรักที่ไม่ได้แต่งงานหรือสังคมยอมรับที่เป็นความผิดบาปเช่นนี้
ชาวอียิปต์ยุคแรกฝึกฝนและเรียนรู้การคุมกำเนิด ชาวกรีกในยุคคลาสสิกให้รางวัลแก่คู่รักที่เต็มใจมีความสัมพันธ์ที่นำไปสู่การตั้งครรภ์ หริอความหึงหวงของชาวมุสลิมได้กักขังภรรยาและนางสนมไว้ในฮาเร็มของตัวเองแต่ผู้เดียว หรือในวิหารของชาวสุเมเรียนและบาบิโลนมีนักบวช นักบวชหญิง และโสเภณีศักดิ์สิทธิ์อยู่ร่วมกัน หรือชาวฮีบรูโบราณเอาหินขว้างโสเภณีที่เชื่อว่าพวกเธอคือบาปและไม่มีพระเจ้า (Tannahill, 1980)
ทัศนคติของสังคมต่อความรักเปลี่ยนไปอย่างมากเมื่อเวลาผ่านไป ..วัฒนธรรมอาจมีอิทธิพลอย่างมากต่อวิธีที่ผู้คนเชื่อมโยงความรักที่เร่าร้อนและความต้องการทางเพศ (Hatfield & Rapson, 2005) ตัวอย่างเช่น ผู้ชายหลายคนถูกสอนให้แยกเรื่องเพศและความรักออกจากกัน ในขณะที่ผู้หญิงหลายคนถูกสอนให้เชื่อมโยงทั้งสองอย่างเข้าด้วยกันเพื่อทำหน้าที่ให้สมบูรณ์ ความหมายที่แตกต่างกันของความรักทำให้คู่รักเกิดสภาวะความขัดแย้งและความตึงเครียดในความรักของตัวเอง (Hatfield & Rapson, 2006)
***สังคมกับปัจเจก ต่อมุมมองของความรัก***
การเน้นย้ำของวัฒนธรรมในเรื่องส่วนรวมและความเป็นปัจเจกนิยมที่ต้องการอิสระจะส่งผลต่อประสบการณ์ส่วนตัวที่โรแมนติกได้อย่างไร? นี่คือคำถามที่น่าสนใจ วัฒนธรรมแบบปัจเจกนิยม เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย แคนาดา และประเทศในยุโรปเหนือและยุโรปตะวันตกให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของตัวเองและผลประโยชน์ของครอบครัวใกล้ชิด อิสระส่วนบุคคลและการตัดสินใจของตัวเอง ความคิดริเริ่มส่วนบุคคล และความเป็นอิสระ
ในขณะที่วัฒนธรรมแบบกลุ่มนิยม(collectivism) เช่น จีน หลายๆ ประเทศในเอเชีย แอฟริกาและละตินอเมริกา กรีซ อิตาลีตอนใต้ และหมู่เกาะแปซิฟิก ที่ชักจูงผู้คนให้ละทิ้งหรือปล่อยวางแรงจูงใจส่วนตัวเพื่อคล้อยตามผลประโยชน์ของกลุ่ม ภักดีต่อกลุ่มที่ดูแลผลประโยชน์ของพวกเขา พวกเขาส่งเสริมสนับสนุนการพึ่งพาซึ่งกันและกันและแนะนำว่าการตัดสินใจโดยคิดถึงกลุ่มมีความสำคัญมากกว่าการตัดสินใจของปัจเจกบุคคลแต่ละคน (Markus & Kitayama, 1991; Triandis, McCusker, & Hui, 1990) นักวิจัยทางวัฒนธรรมเสนอว่าประสบการณ์ความรักโรแมนติกที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายกว้างขวางเป็นเรื่องธรรมดาและยอมรับกันได้มากขึ้นในประเทศสมัยใหม่ที่มีวัฒนธรรมเฉพาะตัว (Goode, 1959; Rosenblatt, 1967) ในขณะที่วัฒนธรรมแบบรวมหมู่แบบดั้งเดิมที่มีความสัมพันธ์ในครอบครัวที่แน่นแฟ้นก็เริ่มที่จะเปลียนแปลงและลดบทบาทลง(Simmons, Vom Kolke, & Shimizu, 1986)
ในวัฒนธรรมแบบส่วนรวม ผู้คนต่างต้องเผชิญกับการพึ่งพาอาศัยกันในชีวิตประจำวันของพวกเขาซึ่งฝังแน่นอยู่ในความสัมพันธ์ที่หลากหลายกับครอบครัวเครือญาติและเพื่อนสนิท ดังนั้นเมื่อผู้คนตัดสินใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่โรแมนติก พวกเขาจะต้องคำนึงถึงทั้งสิ่งที่พวกเขาคิดว่าดีที่สุดสำหรับตัวเอง รวมถึงผลกระทบต่อความสัมพันธ์อื่น ๆ ของพวกเขาด้วย ความรู้สึกต่อส่วนรวม มีความเกี่ยวข้องกับมุมมองของความรักในทางปฏิบัติ บนพื้นฐานของมิตรภาพและการมีเป้าหมายที่เห็นแก่ผู้อื่นเป็นหลัก (Dion & Dion, 2005) ผู้หญิงในวัฒนธรรมส่วนรวมสนับสนุนมุมมองความรักที่เห็นแก่ผู้อื่นมากกว่าผู้หญิงในวัฒนธรรมปัจเจกที่ต้องการความมีอิสระในเนื้อตัวร่างกายและความคิด ดังนั้นพวกเขาให้ความสำคัญกับเครือข่ายมิตรภาพที่ใกล้ชิดมากขึ้น (K. K. Dion & Dion, 1993; K. L. Dion & Dion, 1993)
*** การเปลี่ยนแปลงมุมมอง ต่อเรื่องความรัก***
ในจีนโบราณ ความรักโรแมนติกไม่ได้เป็นปัจจัยหลักของการแต่งงาน ซึ่งถูกกำหนดโดยครอบครัวและขนบธรรมเนียม อย่างไรก็ตาม ก็มีวรรณกรรมจีนโบราณหลายเรื่องที่สะท้อนความรักโรแมนติก เช่น เรื่อง The Peony Pavilion ในปัจจุบัน วัฒนธรรมความรักในจีนได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น
ในสังคมอินเดียแม้ว่า ความรักกับการแต่งงานที่จัดเตรียมโดยครอบครัว แม้ว่าการแต่งงานแบบคลุมถุงชนยังคงเป็นที่แพร่หลายในอินเดีย แต่แนวคิดเรื่อง “รักแท้” ก็มีอิทธิพลมากขึ้นผ่านสื่อ เช่น ภาพยนตร์บอลลีวูด
ที่ทำให้เห็นว่าในสังคมอินเดียปัจจุบัน มีการต่อรองระหว่างอุดมการณ์ดั้งเดิมและแนวคิดสมัยใหม่เกี่ยวกับความรัก
ในซามัว ความรักโรแมนติกมักไม่ถูกมองว่าเป็นปัจจัยหลักในการแต่งงาน ซึ่งยังคงขึ้นอยู่กับโครงสร้างครอบครัวและการเมืองเครือญาติ
แนวคิดเรื่อง “ความรักแบบเสรี” เริ่มมีบทบาทมากขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและอิทธิพลของโลกาภิวัตน์
สรุป ความรักโรแมนติกไม่ได้มีอยู่ในทุกวัฒนธรรม แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากบริบททางประวัติศาสตร์และสังคมเฉพาะ ความรักโรแมนติกอาจเป็นแนวคิดที่ถูกสร้างขึ้นโดย ตะวันตก และถูกเผยแพร่ผ่านวัฒนธรรมป๊อป และบางสังคมเน้นความสัมพันธ์ที่ขึ้นอยู่กับครอบครัวและชุมชนมากกว่าความรักส่วนบุคคลก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นรักด้วยเจตจำนงของตัวเองเสมอไป
………แล้วรักของคุณล่ะเป็นแบบไหน?
อ้างอิง
Dion, K. K., & Dion, K. L. (1993). Individualistic and collectivistic perspectives on gender and the cultural context of love and intimacy. Journal of Social Issues, 49(3), 53-69.
Dion, K. L., & Dion, K. K. (1993). Gender and ethnocultural comparison in styles of love. Psychology of Women Quarterly 17(4), 463-473.
Dion, K. K., & Dion, K. L. (2006). Individualism, collectivism, and the psychology of love. In R.J. Sternberg & K. Weis (Eds.), The new psychology of love (pp. 298-312). New Haven, CT: Yale University Press.
Ellis, A. (1960). The Art and Science of Love. New York, NY: Lyle Stuart
Fisher, H. (2004). Why we love: The nature and the chemistry of romantic love. New York, NY: Henry Holt.
Goode, W. J. (1959). The theoretical importance of love. American Sociological Review, 24(1), 38-47. http://dx.doi.org/10.2307/2089581
Goodwin, R. (1999). Personal relationships across cultures. London: Routledge. Hatfield, E., & Rapson, R. L. (2005). Love and sex: Cross-cultural perspectives. Lanham, MD: University Press of America.
Hatfield, E., & Rapson, R. L. (2006). Love and passion. In I. Goldstein, C. M. Meston, S. R. Davis, & A. M. Traish (Eds.), Women’s sexual function and dysfunction: Study, diagnosis and treatment (pp. 93-97). London, England: Taylor and Francis.
Hatfield, E, Rapson, R. L., & Martel, L. D. (2007). Passionate love and sexual desire. In S. Kitayama & D. Cohen (Eds.), Handbook of cultural psychology (pp. 760-779). New York, NY:
Guilford Press. Hsu, F. L. K. (1985). The self in cross-cultural perspective. In A. J. Marsella, G. DeVos, & F. L. K. Hsu (Eds.), Culture and self: Asian and Western perspectives (pp. 24-55). London, England: Tavistock.
Ingersoll-Dayton, B., Campbell, R., Kurokawa, Y., & Saito, M. (1996). Separateness and togetherness: Interdependence over the life course in Japanese and American marriages. Journal of Social and Personal Relationships, 13(3), 385-398. http://dx.doi.org/10.1177/0265407596133005
Jankowiak, W. (Ed.). (1995). Romantic passion: A universal experience? New York, NY: Columbia University Press.
Jankowiak, W. R., & Fischer, E. F. (1992). A cross-cultural perspective on romantic love. Ethnology, 31, 149-155. http://www.jstor.org/stable/3773618 DOI: 10.2307/3773618 Kalyuga, M. (2012). Vocabulary of love. In M. A. Paludi (Ed.), The psychology of love (Vol. 3, pp. 75-ทีรึ). Santa Barbara, CA: Praeger
Tannahill, R. (1980). Sex in history. New York, NY: Stein & Day.
เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา... ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่ หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น.. การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร.. ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น