มานุษยวิทยาและชาติพันธุ์วรรณนาแบบสะท้อนย้อนคิด (Ethnography Reflexivity) Tony L. Whitehead (2002:1-28) ได้เขียนในหนังสือ What is Ethnography?: Methodological,Ontological,and Epistemological Attribute เขาอธิบายว่างานชาติพันธุ์วรรณนาหมายถึง การศึกษาด้วยวิธีการที่ง่ายและไม่ซับซ้อนแต่มีคุณสมบัติในเชิงภววิทยา (ontological) และอภิปรัชญา (Epistemological) ในตัวเอง เป็นการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic approach) ในการศึกษาระบบวัฒนธรรม การศึกษาบริบททางสังคมวัฒนธรรม (Socio-cultural context) กระบวนการ (Process) และการให้ความหมาย (Meaning) ภายในระบบวัฒนธรรม เป็นการศึกษาระบบของวัฒนธรรมจากมิติของคนใน (Emic) และคนนอก (Etic) เป็นการศึกษาที่พึ่งพาอย่างมากกับการทำงานภาคสนาม (Fieldwork) เป็นกระบวนการที่มีความยืดหยุ่นสูง (Highly Flexible) และสร้างสรรค์ (Creative) เป็นกระบวนการของการตีความ (Interpretive) การสะท้อนย้อนคิด (Reflexive) และการประกอบ...
ความรู้ ความคิดและมุมมองทางมานุษยวิทยาเพื่อคนที่สนใจ