ร่างกายในทางการแพทย์และการดูแลด้านสุขภาพ (The Body in Medicine and Health Care)และการเติบโตของธุรกิจด้านอวัยวะ นัฐวุฒิ สิงห์กุล
ร่างกายในทางการแพทย์และการดูแลด้านสุขภาพ
(The
Body in Medicine and Health Care)
ร่างกายไม่ได้เป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวข้องเฉพาะเรื่องของการรักษา(treatment)และการจัดการ(management)เกี่ยวกับร่างกายเท่านั้น
แต่เป็นสิ่งที่ถูกแสดงในเรื่องราวทั้งหมดในทางกายแพทย์ (the whole subject
of medicine) ทั้งมิติของการตีความ(interpretation)เกี่ยวกับร่างกายและการประกอบสร้างของร่างกาย(Construction) ภายใต้มิตินทางประวัติศาสตร์การเกิดขึ้นของมโมทัศน์หรือความคิด(paradigsm) ของการแพทย์สมัยใหม่(Modern Medicine)
ที่ซึ่งทำให้เกิดการดำรงอยู่ของกระบวนการทางความคิดเกี่ยวกับร่างกายโดยเฉพาะการศึกษาทางด้านกายวิภาค(anatomy)และการเติบโตของการชำแหละหรือผ่าศพ (dissection)ในทางการแพทย์
ที่นำไปสู่การทำความเข้าใจร่างกายและการรักษาโรคในช่วงศตวรรษที่18-19 ภายใต้ข้อจำกัดและความดดันในกระบวนการจัดหาร่างกายเพื่อการศึกษา(supply
of body) ร่างกายของนักโทษ(prisoner body)และร่างกายของคนยากจน(poor
body)คือร่างกายที่สำคัญในการจัดหาเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในทางกายแพทย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ภายใต้ประเด็นของความเปราะบางอ่อนไหว ประเด็นจริยธรรมและความไม่เท่าเทียมกัน
รวมถึงนโยบายทางเศราฐกิจและการค้า การลงทุนในกระแสสุขภาพ
ที่สร้างความเชื่อมโยงระหว่างรัฐ เอกชนและผู้คน
ที่นำไปสู่ปัญหาของการค้ามนุษย์ การขายอวัยวะ ที่เชื่อมโยงระหว่างประเทศโลกที่สามกับประเทศที่พัฒนาแล้ว
คนผิวสี คนผิวดำในประเทศยากจนกับคนผิวขาวที่ร่ำรวย
การค้าขายอวัยวะ : ร่างกายที่ต้องการในตลาดสุขภาพ
การเติบโตของการค้าการลงทุนภายใต้กระแสของโลกาภิวัตน์ที่การค้าการลงทุนเชื่อมโยงระดับท้องถิ่น
ประเทศ ระหว่างประเทศ ภูมิภาคจนถึงระดับโลก ภายใต้รูปแบบวิธีการของการแลกเปลี่ยนซื้อขายอวัยวะของร่างกายที่เป็นเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มทุน
โรงพยาบาล บริษัทเอกชนจนถึงประชาชนธรรมดาที่มีฐานะร่ำรวย ดังเช่นคนไข้(patients)บางคนได้เดินทางไปในบางประเทศ
โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนาที่เป็นแหล่งของการแลกเปลี่ยนซื้อขายอวัยวะ
(Cohen,2001; scheper – Hughes,2001,Twigg,2006)
ตัวอย่างเช่น
Cohen(2001)ได้อธิบายถึงการเติบโตของอุตสาหกรรมทางการแพทย์(Medical
-Tourism) ในอินเดีย ที่สัมพันธ์กับการลงทุนของประเทศในโลกที่1(First World)หรือประเทศที่พัฒนาแล้วในเรื่องของการคมนาคมขนส่ง
สนามบินนานาชาติ การลงทุนทางการแพทย์ การสร้างโรงพยาบาล
ที่เชื่อมโยงกับประเทศโลกที่3 (third World) ซึ่งเป็นสถานที่ของการจัดหาอัวยวะสำหรับใช้ในทางการแพทย์
โดยที่ปัจเจกบุคคล deperate enough กับการขายชิ้นส่วนของอวัยวะ(Sell
body part) ที่สัมพันธ์กับการKidneyและการบริจาค(donation)ที่หลีกเลี่ยงนัยยะทางกฎหมาย
แม้ว่าในบางประเทศจะมีกฏหมายควบคุมเกี่ยวกับการซื้อขายอวัยวะ
แต่ก็ยังคงมีการลักลอบซื้อขายอวัยวะในตลาดมืด (black Market)
โดยเฉพาะการติดต่อซื้อขายอวัยวะในชนบทกับผู้ขายชาวชนบท(rural
seller)ที่ห่างไกลกลายเป็นสิ่งที่ถูกทำให้มืดบอด
มองไม่เห็นและเงียบเชียบไร้เสียงของผู้คนในประเทศเหล่านั้น และกลายเป็นสิ่งที่คนเหล่านี้เต็มใจที่จะซื้อขายภายใต้ภาวะของความยากจน
การเป็นหนี้สิน ความต้องการช่วยเหลือครอบครัวและค่านิยมความกตัญญู เป็นต้น
ในขณะที่บางประเทศรัฐมีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อขายอวัยวะโดยตรง
เช่นการติดต่อประสานงานให้กับผู้ต้องการอวัยวะ(Commandeering)กับหน่วยงานที่ทำหน้าที่ซื้อขายอวัยวะที่เชื่อมโยงกับเรื่องของสิทธิและอาชญากรรมข้ามประเทศ
ในประเทศจีนระบบการเมืองการปกครองของประเทศทำให้เกิดการยึดเอาอวัยวะของนักโทษ
ทีอวัยวะเหล่านี้จะถูกทำให้เป็นสินค้าและขายให้กับคนไข้ในประเทศฮ่องกง
ไต้หวันและสิงคโปร์(scheper – Hughes,2001)
scheper – Hughes
มองว่าการค้าอวัยวะคือสิ่งที่บ่งชี้พลังของการกัดเซาะของระบบทุนนิยมโลก ที่ซึ่งชีวิตถูกลดทอนกับสถานภาพของการเป็นสินค้าของตลาด(Market
Commodities) การค้าอวัยวะ(Traffic in organ)
เคลื่อนตามการเชื่อมต่อของโลกและการไหลเวียนของแรงงาน
และการปรับให้สอดคล้องกับแนวทางที่ได้วางเอาไว้ของสังคมและเศรษฐกิจที่ขยายตัว
องค์ประกอบทางด้านเชื้อชาติ(race)ก็รวมอยู่ในนี้ด้วย
ดังเช่นการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะในแอฟริกา ความจริงสำคัญก็คือ หัวใจที่มาจากคนจน
ผู้ชายผิวดำในเมืองเล็กๆ ที่ปลูกถ่ายไปยังร่างกายของคนรวย คนผิวขาว
วันนี้การปลูกถ่ายอวัยวะ(Transplant)เคลื่อนย้ายไหลเวียนจากทางใต้ไปสู่ทางเหนือ
จากคนจนไปสู่คนรวย จากคนผิวดำ ผิวสีน้ำตาลไปสู่คนผิวขาวและจากผู้หญิงไปสู่ผู้ชาย(scheper
– Hughes,2000)
ชุดของคำว่า
การทำให้เป็นการแพทย์ (medicalization)
เริ่มถูกใช้ครั้งแรกในช่วงปี1970 เมื่อนักสังคมวิทยาชาวอเมริกันชื่อ
Irving K. Zola (1972) ที่ได้ชี้ให้เห็นอิทธิพลของการแพทย์(the
influence of medicine)
เช่นเดียวกับสถาบันของการควบคุมทางสังคมและอิทธิพลที่เพิ่มขึ้นกับการใช้ชีวิตประจำวันของปัจเจกบุคคล
โดยกระบวนการทำให้เป็นประเด็นทางกานแพทย์สามารถเกิดขึ้นได้ใน3ระดับ 1ในระดับแนวคิด(conceptual level)โดยใช้ชุดคำหรือการอธิบายทางการแพทย์(medical
terminology)ที่ซึ่งสามารถอธิบายหรือพรรณนาถึงปัญหา(describe
a problem) 2.ในระดับของสถาบัน(institutional level)โดยการใช้วิธีการทางการแพทย์ที่เป็นมาตรฐานที่นำไปสู่การสำรวจปัญหา(explore
a problem) 3.ระดับของปฏิสัมพันธ์(an
interactional level) ที่เป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างหมอและผู้ป่วย(doctor-patient
interaction) ภายใต้ปัญหาที่ถูกบ่งชี้โดยแพทย์
เช่นเดียวกับการแพทย์และการรักษา
Conrad and Barker (2010: 74) อ้างว่า การทำให้เป็นกระบวนการทางการแพทย์มีการแผ่กว้างเลยไปจากเรื่องของความเชี่ยวชาญทางการแพทย์(medical
professionals)
การเคลื่อนไหวทางสังคมและการจัดระเบียบที่เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีทางชีวะ(biotechnology) การบริโภค(consumers)และอุตสาหกรรมประกันภัย(insurance
industry) ที่สะท้อนผ่านอุตสาหกรรมเกี่ยวกับยาและเวชภัณฑ์(pharmaceutical
industry) ที่แสดงบทบาทและตอกย้ำให้เห็นว่ากระบวนการของการทำให้เป็นประเด็นทางการแพทย์ได้แผ่ขยายไปสู่เรื่องของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์(medical
professionals)การเคลื่อนไหวทางสังคมและกระบวนการจัดระเบียบ(social
movements and organizations)ที่นำไปสู่ไบโอเทคโนโลยี(biotechnology) การบริโภค(consumers)และอุตสาหกรรมประกันภัย(the
insurance industry)นี่คือสิ่งที่เป็นหลักฐานชี้ให้เห็นว่าอุตสาหกรรมทางเวชภัณฑ์(pharmaceutical
industry)ได้แสดงบทบาทสำคัญในการให้โครงร่างและเผยแพร่เกี่ยวกับความรู้ทางการแพทย์(medical
knowledge)เพื่อการสนับสนุนและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของพวกเขา(Williams
and Calnan, 1996; Conrad and Leiter, 2004; Bezenšek and Barle, 2007; Conrad and
Barker, 2010)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น