คำถามเกี่ยวกับความเป็นอมตะของชีวิต (Immortality) ซึ่งมีความเป็นไปได้ส่วนหนึ่งในทางปรัชญาเกี่ยวกับความตาย
และการตั้งคำถามกลับเกี่ยวกับชีวิตหลังความตาย
1.จิตวิญญาณตายพร้อมกับร่างกาย
(The Soul dies with the body) เชื่อว่าไม่มีบุคคลใด (Person)
หรือองค์ประธานใด (Subject) ที่ดำรงอยู่หรือเหลือรอดหลังความตาย
(Death)
2.การกลับมาเกิดใหม่หรือดำรงสภาวะใหม่
บางครั้งเรียกว่า Re-Birth หรือ Re – Incarnation ที่การแตกดับนำไปสู่สภาวะการเกิดใหม่หรือเปลี่ยนรูปใหม่
3.จิตวิญญาณ
(Soul) เป็นอมตะหรือเป็นนิรันดร์โดยตัวของมันเอง (The
immortality of the soul by itself)
4.The
resurrection of the body on the last day คือการกลับมาเกิดอีกครั้งหนึ่งภายหลังวันสิ้นสุดโลกหรือวันที่พระเจ้าพิพากษามวลมนุษย์พร้อมกัน
5.The
immediate resurrection of the body เป็นการกลับฟื้นคืนชีพอย่างทันทีทันใด
เช่น กรณีของพระเยซูคริสต์ เป็นต้น
ความเชื่อในเรื่องของจิตใจ
และร่างกาย ที่เป็นหนึ่งเดียวกัน และแยกออกจากกันในบางสภาวการณ์ เช่น
สิ่งที่คนไทยเชื่อกันว่าในร่างกายมีขวัญ เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วย เกิดอุบัติเหตุ
หรือเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดอาการตกใจ ขวัญก็จะออกจากร่างกาย
ซึ่งเป็นการออกไปแบบชั่วคราวและสามารถเรียกกลับคืนมาได้ ด้วยวิธีการที่เรียกว่า
เรียกขวัญ ส่วนวิญญาณนั้นสัมพันธ์กับการมีชีวิต วิญญาณออกจากร่างกายก็คือ
การหมดลมหายใจ หรือสิ้นลม
ประสบการณ์เกี่ยวกับชีวิตและความตายดังกล่าว
ทำให้มนุษย์อ้างถึงหรือสร้างเรื่องราวเกี่ยวกับผี และสิ่งเหนือธรรมชาติอื่นๆ รวมถึงพิธีกรรมความเชื่อ ศาสนาต่างๆ
ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานของความกลัว และความตาย ที่มนุษย์จะต้องเผชิญ
และในยุคแรกเริ่มดั้งเดิม มนุษย์ไม่สามารถหาเหตุผลหรือคำอธิบายเกี่ยวกับการกำเนิด
หรือ สาเหตุของความตายของมนุษย์ได้ ความเชื่อทางด้านศาสนาตำนานเทพเจ้าและพิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับมนุษย์จึงถูกสร้างขึ้น
เช่น ความเชื่อของอียิปต์ เกี่ยวกับสุริยะเทพ ซึ่งเป็นผู้สร้างมนุษย์ หรือคนัม
มนุษย์เพศผู้ มีเศียรเป็นแพะ ที่ปั้นมนุษย์ขึ้นมาจากดินเหนียว หรือเทพเจ้าอนูบิส
เทพเจ้าของคนตาย ที่มีเศียรเป็นหมาใน และเป็นเทพผู้ทำมัมมี่ให้กับมนุษย์
รวมถึงเทพเจ้าโอซิรีส เทพเจ้าแห่งความตายและการฟื้นคืนชีพ โลกและใต้พิภพ
หรือแม้แต่ความเชื่อของคนไทย เกี่ยวกับท้าวยมราช
หรือท้าวผู้ดูแลยมโลกและพิพากษาความดี ความชั่วของมนุษย์
และยมทูตซึ่งเป็นผู้นำวิญญาณคนตายลงมายังนรก เป็นต้น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น