ตารางเปรียบเทียบ
การอธิบายธรรมชาติ และ การอธิบายที่มาของความรู้ ของแนวคิดต่างๆ
Approach
|
Ontology
(การอธิบายธรรมชาติของมนุษย์และธรรมชาติของความเป็นจริง)
|
Epistemology
(การอธิบายที่มาของความรู้และวิธีหาความรู้)
|
Positivism
|
พฤติกรรม สามารถสังเกตเห็นได้ การสังเกตพฤติกรรมนั้นผู้สังเกตไม่ได้มีอิทธิพลเหนือสิ่งที่สังเกต
(ไม่สามารถทำให้พฤติกรรมที่กำลังสังเกตเกิดการเปลี่ยนแปลง)
|
ศึกษาจากการสังเกตอย่างเป็นกลาง
แล้วนำมาสร้างแบบจำลอง สร้างกฎทั่วไป แบบวิทยาศาสตร์
|
Interpretive
|
พฤติกรรมและการตีความพฤติกรรม
เป็นสิ่งที่ได้รับอิทธิพลจากความคิด ค่านิยม ความเชื่อ
ที่มีอยู่ในสังคมที่เราอยู่ (Social Constructed)
|
ผู้ศึกษาต้องเข้าไปอยู่ในบริบทเดียวกันกับที่ผู้ที่เราศึกษา
เพื่อจะเข้าใจว่าเขาตีความสิ่งต่างๆรอบตัวเขาอย่างไร
|
Critical
|
เห็นเหมือน Interpretive และเพิ่มว่า
คนที่เป็นคนสังเกตพฤติกรรมของคนอื่น
ไม่สามารถแยกตัวเขาเองออกจากสิ่งที่เขาสังเกต
(หมายถึงเขาจะตีความสิ่งที่เห็นตามที่เขาคิด)
|
การศึกษาคือการเรียนรู้เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลง
|
Postmodernism (Foucault)
|
มนุษย์ถูกพันธนาการด้วย
ระบบและกระบวนการสร้างผลิต ความหมาย หรือวาทกรรม (Discourse)
วาทกรรมเป็นเครือข่ายของกฏเกณฑ์ ค่านิยม
และความเข้าใจร่วม ซึ่งสร้างความรู้เรื่อง ความดี-ไม่ดี ถูกผิด
เหมะสม-ไม่เหมาะสม เราศึกษาระเบียบของ วาทกรรมไม่ได้แต่เราสามารถศึกษาโอกาส
เลื่อนไขที่ทำให้วาทกรรมนั้นเผยตัวออกมา
|
ปฏิเสธ Metaphysics เสนอให้ศึกษาการก่อตัว
ความหลากหลาย และหรือความขัดแย้งของความรู้ย่อยๆที่มีในชีวิตประจำวัน
ศึกษาการตีความ การอธิบาย ศึกษากระบวนการที่ทำให้ระบบความหมายนั้นดำรงอยู่และกระบวนการต่อต้านระบบความหมาย
|
สรุปจาก Blaikie, Norman ,Approaches to
social Enquiry, polity Press,1993 pp.93-128.
Neuman, W.Lawrence, Social Research methods : Qualitative
and Quantitative approaches, Allyn and Baccon,1991,P.39.
Ritzer, George, Modern sociological theory, McGraw-Hill
Companies,Inc,1996, pp 462-475.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น