ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

จากจิตวิญญาณสู่ความคิดเรื่องความตาย



2.จากจิตวิญญาณสู่ความคิดเรื่องความตาย
2.1 แนวคิดเรื่องความตายของนักปรัชญา
            โสเครตีส (470-399 B.C) กล่าวว่า ไม่มีปัจเจกบุคคลที่ดำรงชีวิตอยู่คนใดสามารถที่จะรู้เกี่ยวกับความตาย (No  living  Individual  could know death) เขาได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับความตายที่สามารถจะเป็นไปได้ คือ ความตาย เป็นทั้ง การนอนหลับที่ไร้ความฝัน (Dreamless Sleep) หรือการเดินทางของจิตวิญญาณไปยังโลกอื่น (Dale V. Hardt , 1946 : 3-4 ) เขาอ้างถึงว่า ความตาย เช่นเดียวกับ การแช่แข็ง (Freezing) และการแยกของจิตวิญญาณออกจากร่างกาย ความตายคือกระบวนการปลดปล่อยจิตวิญญาณที่เสรี จากความรู้สึกเหล่านี้และนำไปสู่ความสามารถที่จะค้นพบความจริง  เช่นเดียวกับนักปรัชญาอย่าง เพลโต เชื่อว่า ความตายเป็นวิธีการที่ง่ายที่จะปลดปล่อยจิตวิญญาณ (Soul) ออกจากร่างกาย จิตวิญญาณไม่มีวันที่จะถูกทำลาย แต่มันเป็นสิ่งที่เป็นอมตะ (Immortality) ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า ร่างกายมีการตาย ในขณะที่จิตวิญญาณของพระเจ้า (Divine Soul) เป็นสิ่งที่นิรันดร์ ในความปรารถนาของมัน ที่จะเป็นอิสระ จากความกลัว (Fear) ความรู้สึกเจ็บปวด (Passion) และความชั่วร้ายที่ดำรงอยู่ของมนุษย์  โดยดำเนินการไปยังการดำรงอยู่พร้อมกับพระเจ้า สิ่งที่เพลโตพูดถึงเกี่ยวกับการพิจารณาเกี่ยวกับความตาย และชีวิตหลังความตาย เป็นสิ่งที่ถูกกล่าวซ้ำ โดยพระเยซูคริสต์ ในช่วง 400 ปีต่อมา
สำหรับอริสโตเติล (384-322 B.C) ในอีกด้านหนึ่ง ทัศนะของความตายเกี่ยวกับมนุษย์ เช่นเดียวกับการสิ้นสุดของทุกๆสิ่งยกเว้นเหตุผลของเขา  เหตุผลอาจจะเป็นสิ่งที่ถูกนิยามหรือให้คำจำกัดความ เช่นเดียวกับบางสิ่งที่ถูกเรียนรู้ โดยมนุษย์ทุกคน และเป็นสิ่งที่มีอยู่ในพวกเขาเสมอ และ ไม่มีวันตาย
ในสังคมของเพลโตและอริสโตเติล มีความแตกต่างจากสังคมอื่นๆปัจจุบัน ในสังคมของเพลโตทัศนะเกี่ยวกับความตาย เขามองว่า สังคมของเขาปฏิเสธเกี่ยวกับการระลึกหรือเข้าใจความตาย ว่าเป็นเช่นเดียวกับกระบวนการ ปฏิเสธความเชื่อว่าคนทุกคนหรือสัตว์โลกจะต้องตาย ปฏิเสธกับการยอมรับความตายเป็นสิ่งสุดท้าย  และพวกเขากลัวความตายเช่นเดียวกับสิ่งชั่วร้าย
ซึ่งนักปรัชญายุคต่อๆมา ก็แผ่ขยายแนวความคิดของอริสโตเติล เพลโตและโสเครตีส จนกระทั่ง มาร์ติน ไฮเด็กเกอร์ ซึ่งเป็นนักปรัชญาแนว Existentialist ชาวเยอรมัน ได้พิจารณาความตายในทางปรัชญาซึ่งแตกต่างจาก เพลโตและอริสโตเติล โดยเขาเชื่อว่าการตายไม่ได้แยกจิตวิญญาณออกจากร่างกาย แต่ค่อนข้างจะ Bind  พวกเขาเข้าด้วยกัน และเป็นการสร้างความสมบูรณ์ของการดำรงอยู่ทั้งมวลของมนุษย์
มาร์ติน ไฮเด็กเกอร์ (Martin Heidegger) มองว่า  ความตายไม่ใช่เหตุการณ์ที่ซึ่งเป็นความสิ้นสุดของชีวิต (Ends Life) แต่มันคือส่วนหนึ่งของชีวิต (Part of Life)  รวมทั้งความตายไม่ใช่สิ่งที่วางอยู่ในอนาคต (Future) แต่มันอยู่กับเราที่นี่และตอนนี้  ดังนั้นปรัชญาของมาร์ติน ไฮเดกเกอร์ ในเรื่อง Being and Times ก็คือ
     1.ให้ความสำคัญกับความหมายของความเป็นอยู่หรือการดำรงอยู่ของมนุษย์ ในแง่ที่มันคือความมีชีวิตชีวามากที่สุด เพราะเป็นเรื่องของการใช้ชีวิต
     2.การตระหนักถึงตัวเองของมนุษย์ ที่ขึ้นอยู่กับเรื่องความรู้สึกและเรื่องเวลา ว่าวันหนึ่งเราต้องตาย ซึ่งเป็นธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ การที่มนุษย์รู้ว่าสักวันหนึ่งตัวเองจะต้องตาย จึงเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้มนุษย์มองตัวเองและจัดการกับตัวเอง เผื่อว่าวันพรุ่งนี้สำหรับตัวเองอาจจะไม่มีก็ได้
     3.การกังวลต่อความตายและความกลัวต่อความตาย ส่วนนี้เป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกและเป็นสัญชาตญาณพื้นฐานของมนุษย์ ที่สัมพันธ์จากประสบการณ์เกี่ยวกับความตายที่ได้รับ จากคนรอบข้าง จากสื่อสารมวลชนแขนงต่างๆ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เพลง และวรรณกรรมต่างๆ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การนอน มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยา โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

 เข้านี้หลังจากตื่นนอน อยากเขียนการนอนในมิติทางมานุษยวิทยากับนักมานุษยวิทยา...    ผมเริ่มต้นกับการลองตั้งคำถามเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับการนอนว่า อะไรคือการนอน ทำไมต้องนอน นอนที่ไหน นอนเมื่อไหร่ นอนอย่างไร นอนกับใคร นอนเพื่ออะไรและอื่นๆ..เพื่อจะได้รู้ความสัมพันธ์ของการนอนในมิติต่างๆ การนอนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆแตกต่างจากมนุษย์หรือไม่    หากเปรียบเทียบการนอนของ มนุษย์กับสัตว์สปีชี่ส์อื่นมีการนอนต่างกันหรือเหมือนดันอย่างไร ตัวอย่างเช่น ยีราฟจะนอนครั้งละ 10 นาที รวมระยะเวลานอนทั้งหมด 4.6 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์จำพวกค้างคาว และเม่นมีการนอนมากกว่าสัตว์อื่นๆเพราะใช้เวลานอน 17-20ชั่วโมงต่อวัน    สำหรับมนุษย์ การนอนคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในประสบการณ์ของมนุษย์ การสำรวจการนอนข้ามวัฒนธรรมน่าจะทำให้เราเข้าใจความหมายและปฎิบัติการของการนอนที่มีความซับซ้อนมากขึ้น..     การนอนอาจจะเป็นเรื่องของทางเลือก แต่เป็นทางเลือกที่อาจถูกควบคุมบังคับ โดยโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม นอนเมื่อไหร่ นอนเท่าไหร่ นอนที่ไหน นอนอย่างไร และนอนกับใคร..     ในสังคมตะวันตก อุดมคติเก...

Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Mode

(1)        อะไรคือ Biomedical Model และ Bio-Psycho-social Model ? แนวคิดแบบจำลองทางชีวะการแพทย์ ( Biomeaical Model ) เริ่มต้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ที่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มีการพัฒนาอย่างเติบโตรวดเร็วและกว้างขวาง การค้นพบเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างกล้องจุลทรรศน์ ทำให้มนุษย์ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น แม้แต่สิ่งที่เล็กที่สุดในร่างกายของมนุษย์ รวมถึงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ใช้วินิจฉัยสาเหตุของโรคและความเจ็บป่วย แบบจำลองนี้ ดังนั้นแบบจำลองนี้เสนอว่า โรคหรือความผิดปกติทางกาย( Physiology )ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ความผิดปกติของพันธุกรรม ( Abnomal Genetics ) ความไม่สมดุลทางชีวะเคมี ( Biochemistry ) เรื่องของพยาธิวิทยา ( Pathology )   แบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสิ่งอื่นๆที่คล้ายคลึงกันที่นำไปสู่การติดเชื้อและความเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้ไม่ได้อธิบายบทบาทของปัจจัยทางสังคม( The role of Social factors )หรือความคิดของปัจเจกบุคคล  ( Individual Subjectivity ) โดยแบบจำลองทางชีวะ...

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกโครงสร้างนิยม   ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์ (Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยม ภายใต้ทิศทางใหม่ของหลังโครงสร้างนิยม (Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี 1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916   ภายใต้ชื่อ Course de linguistique   Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี 1960 เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile D...