วันอังคารที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

การควบคุมทางสังคมของเรื่องการแพทย์(medical social control) นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Conrad (1992: 216) มีพื้นฐานทางความคิดที่อยู่บนงานของมิเชล ฟูโก ที่แบ่งประเภทของการควบคุมทางสังคมของเรื่องการแพทย์(medical social control)ออกเป็น4ลักษณะคือ:
(1) อุดมการณ์หรือความคิดในทางการแพทย์(medical ideology) อุดมการณ์ทางการแพทย์คือสิ่งที่ควบคุมรูปแบบทางการแพทย์เบื้องต้น (medical model primarily) เพราะว่าเกี่ยวข้องกับคำสาปแช่งของสังคม(accrued social)กับอุดมการณ์ในเชิงผลประโยชน์(ideological benefits)
 
(2) การร่วมมือสนับสนุนระหว่างกัน(collaboration) ในส่วนของความร่วมมือกันทางการแพทย์(medical cooperation)ได้แสดงให้เห็นบทบาทสำคัญของหมอในการให้ข้อมูล (the role of informants) เป็นยามป้องกัน(gatekeepers) เป็นผู้กระทำการในระดับสถาบัน(institutional agents)และนักเทคนิค(technicians)ให้กับสังคมและผู้ป่วย
 
(3) เทคโนโลยี(technology) เทคโนโลยีทางการแพทย์(medical technology) ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ของวิธีการทางเทคโลโลยีในการควบคุมสังคม(social control) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ยา(drugs) การผ่าตัด(surgery)และพันธุกรรม(genetic)หรือลักษณะอื่นๆของการคัดกรอง(screening)เป็นต้น
   
                    ภาพ ร่างกายของใคร ของทุนหรือของคนอื่น ปรากฏการณ์อุ้มบุญ การเช่ามดลูก เพาะชีวิต แลกเงิน
(4) การควบคุมสอดส่องทางการแพทย์ (medical surveillance) การสอดส่องทางการแพทย์เช่นเดียวกับรูปแบบการควบคุมทางสังคมทางการแพทย์(medical social control)ที่ได้ให้สภาพเงื่อนไขที่แน่นอนหรือพฤติกรรมที่กลายเป็นสิ่งที่ถูกรับรู้ เช่นเดียวกับการจับจ้องทางการแพทย์(medical gaze) และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ (physicians) อาจจะกล่าวอ้างถึงการวางแนวทางหรือมาตรฐานไปสู่พฤติกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขดังกล่าว
 
ตัวอย่างเช่น การตั้งครรภ์(Pregnancy)คือสิ่งที่มีสถานะบ่งชี้ทางกายภาพ(a physiological state)และไม่ใช่สิ่งที่เกี่ยวกับความเจ็บป่วย(illness) เมื่อสิ่งเหล่านี้ในสังคมตะวันตกเป็นสิ่งที่ถูกอธิบายภาวะของการตั้งครรภ์เช่นเดียวกับเงื่อนไขของความเสี่ยง(risky condition)ที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงในช่วงของการตั้งครรภ์ (Riessman, 1983; Behruzi et al., 2010) ในช่วงต่อมาสิ่งเหล่านีมันจึงมีความสำคัญสำหรับการทำความเข้าใจกระบวนการทำให้เป็นการแพทย์(medicalization) เพราะว่าในบริบทนี้ การรับรู้เกี่ยวกับความเจ็บป่วย(perception of illness)จึงถูกทำให้มองเห็นว่าสิ่งเหล่านั้นมันคือปัญหา(problem)หรือภาวะเบี่ยงเบน(deviation)ที่ถูกทำให้สอดคล้องเหมาะสมกับสนามทางการแพทย์(the field of medicine) เช่นเดียวกกับการให้กำเนิดเด็กและการตั้งครรภ์(childbirth and pregnancy) ซึ่งการควบคุมเหนือกระบวนการเด็กเกิดกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและเป็นภาระหน้าที่ของการแพทย์(task of medicine) การรณรงค์ส่งเสริมสุขภาพ(Interventions) เป็นสิ่งที่ถูกพัฒนาพร้อมกับวัตถุประสงค์ของการสร้างการให้กำเนิดที่ปลอดภัย(birth safer)และเจ็บปวดน้อยที่สุด(less painful) เทคโนโลยีใหม่ได้เข้ามาเน้นย้ำอยู่บนการตรวจสอบแม่เด็ก(monitoring Mother)และลูกน้อยในครรภ์(foetus)ในระหว่างการตั้งครรภ์ (Smeenk and ten Have, 2003: 153) ดังจะเห็นได้จากการแนะนำของแพทย์สูตินารีในโรงพยาบาลเมื่อตรวจแล้วพบว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นเช่นการดูแลตั้งแต่การฝากครรภ์ การให้ยาบำรุงระหว่างตั้งครรภ์ การทำอัลตร้าซาวน์เพื่อดูเพศและความผิดปกติ การแนะนำเรื่องการคลอด และการผ่าคลอด เป็นต้น และต่อมาเมื่อเด็กเกิด เป้าหมายสุดท้ายก็คือการดูแลให้เด็กมีสุขภาพดี(healthy child)เมื่อคลอดออกมาและดูแลสุขภาพแม่(healthy mother)ให้มีอายุยืนยาวไปพร้อมกันด้วย คำถามที่ตามมาก็คือ ความต่อเนื่องที่เพิ่มขึ้นอย่างเป็นสำดับที่สอดคล้องกับวิธีการที่จะนำไปสู่เป้าหมายดังกล่าว ร่างกายของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์(a pregnant woman) จะต้องถูกควบคุมดูแลอยู่เหนือร่างกายของพวกเธอเอง(her own body)ภายใต้ความรู้ทางการแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
นักสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาทางการแพทย์ ค่อนข้างที่จะทองการแพทย์ว่ามีลักษณะที่เกี่ยวโยงกับเรื่องของการตลาดแบบหนึ่ง(any kind of marketplace) ซึ่งค่อนข้างเห็นได้อย่างชัดเจนกับการพีมนาเรื่องการจัดการในการดูแลรักษา(managed care) การทำให้เป็นบริษัททางการแพทย์(corporatized medicine)และการดำรงอยู่ของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ(biotechnology industry) ตลาดทางการแพทย์(medical markets)เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากขึ้นในการวิเคราะห์เกี่ยวกับการดูแลทางสุขภาพ

ผลผลิตทางการแพทย์(medical products) การบริการ(Services)และการรักษา(treatments)เป็นสิ่งที่สนับสนุนส่งเสริมกับการบริโภคเพื่อปรับปรุงสุขภาพของมนุษย์  รูปร่างหน้าตาผิวพรรณ(appearance) หรือการมีความสุข(well-being) ที่สะท้อนผ่านการพัฒนาเกี่ยวกับตลาดทางด้านสุขภาพและการแพทย์ แนวคิดของการตลาดทางด้านการแพทย์(medical markets)เป็นสิ่งที่ถูกอธิบายว่าเป็นเช่นเดียวกับความแปลกประหลาดในเชิงทฤษฎี(theoretical anomaly)เนื่องจากความไม่สมดุลสอดคล้องระหว่างผลประโยชน์ทางเศรษรกิจกับมนุษยธรรม(Light 2000:395)
การใช้ประโยชน์ของการโฆษณา(advertising)และการพัฒนาตลาดในทางการแพทย์ที่เฉพาะและการทำให้เป็นมาตรฐานของการบริการทางการแพทย์(the standardization of medical services)ไปยังเส้นทางของการผลิตที่มีการเพิ่มขึ้นของสินค้าและบริการทางการแพทย์(commodification of medical goods and services) การโฆษณาเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพได้กลายเป็นสิ่งที่ธรรมดาในชีวิตประจำวัน(Dyer 1997) และตลาดใหม่ในทางการแพทย์ได้ปรากฏตัวขึ้น โดยเฉพาะการบริการที่มีความพิเศษมากขึ้น(Medical specialty services)
จุดเน้นที่เพิ่มขึ้นในความสำคัญของบริษัททางด้านเวชภัณฑ์(pharmaceutical companies) ผู้ประกันภัย(insurers) และผู้บริโภค(consumers) สำหรับกระบวนการทำให้เป็นการแพทย์ดังเช่นพวกเขาเป็นองค์ประกอบทั้งหมดในการสร้างสรรค์ตลาดทางการแพทย์(medical markets) ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์(The medical profession)มีการถูกลดทอนลงแต่ยังคงมีบทบาทสำคัญในกระบวนทางการแพทย์(medicalization) การกำหนดการเปลี่ยนแปลงในทางการแพทย์และการจัดการพื้นที่หรืออาณาบริเวณสำคัญของกระบวนการทางการแพทย์คือการเคลื่อนย้ายจากผู้เชี่ยวชาญ(professional)เข้าไปสู่ตลาดหลัก(market domains) ซึ่งไม่ใช่ความรู้ใหม่หรือเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดกระบวนการทำให้เป็นการแพทย์แต่น่าสนใจว่าพวกเขาเป็นสิ่งที่ถูกใช้อย่างไร ความร่วมมือและการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์(promotion of products) การรักษา(treatments)และยา(drugs) ภายใต้การปรากฏขึ้นการตลาดทางการแพทย์แบบใหม่ พร้อมกับความซับซ้อนของอุตสาหกรรมทางการแพทย์ในรูปของบริษัท การสร้างสรรค์หรือการแผ่ขยายของตลาดทางการแพทย์ที่กลายเป็นเส้นทางที่สำคัญไปยังกระบวนการทางการแพทย์(medicalization) ความต้องการของผู้บริโภคคือสิ่งที่ไม่ง่ายในการปลดปล่อยความปรารถนาอย่างอิสระของตัวเองสำหรับการแก้ไขปัญหาทางการแพทย์(medical solutions) แต่มันคือสิ่งที่ถูกจัดวางโดยความสามารถในการใช้(availability)และความสามารถในการเข้าถึง(accessibility)เกี่ยวกับการแทรกแซงและช่วยเหลือทางการแพทย์(medical interventions) นี่เป็นการสร้างชุดของความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างบริษัท ผู้ประกันภัย แพทย์และผู้บริโภค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...