วันอังคารที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

มุมมองทางมานุษยวิทยา (ANTHROPOLOGY PERSPECTIVE) นัฐวุฒิ สิงห์กุล

มุมมองทางมานุษยวิทยา (ANTHROPOLOGY PERSPECTIVE)
การหายไปของมนุษย์ในมิติทาง (Absent of man)
  มานุษยวิทยาเศรษฐกิจเริ่มแรกเน้นเกี่ยวกับชีวิตทางเศรษฐกิจของกลุ่มคนดั้งเดิม ที่ซึ่งองค์ประกอบที่หลากหลายไม่ถูกแสดงในเศรษฐกิจแบบตะวันตก เช่น การใช้เงิน ระบบตลาด การให้ความสำคัญของคนและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเป็นสิ่งที่ขาดหายไปจากการศึกษาทางเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันแม้จะเห็นมนุษย์ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการผลิตและการบริโภคที่เป็นผู้ถูกกระทำมากกว่าผู้กระทำหรือเป็นผู้เลือก(Choice being)
การนำเสนองานชาติพันธ์วรรณา (Present of ethnography)
     การสังเกตการณ์โดยตรงในสังคมที่ไม่ใช่ทุนนิยม โดยใช้งานสนามทางชาติพันธ์วรรณา(ethnographic fieldwork)ที่สร้างให้เกิดข้อมูลในเชิงบริบทที่มากมายซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ภายใต้วิถีหรือแนวทางที่นักมานุษยวิทยาค้นหาหรือมีปฏิกริยากับการเผชิญหน้ากับความหลากหลายนี้ และพวกเขาจัดการภายใต้กรอบคิดทฤษฎีที่นำไปสู่การโต้เถียงภายใต้มุมมองทางมานุษยวิทยาเศรษฐกิจอย่างไร
การถกเถียงภายใต้องค์ความรู้ในทางเศรษฐกิจ (The Intellectual Debates) ภายใต้คำถามหรือข้อถกเถียงใน4 ประเด็นคือ
    1) การนำไปใช้อย่างเป็นสากลของสังคมตะวันตกที่ผลิตประเภทของการวิเคราะห์ (the universal applicability of Western generated categories of analysis)
                2) คำถามเกี่ยวกับเรื่องคุณค่าหรือมูลค่า(the question of value)
   3) คำถามเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และความเชื่อมโยงกับการเมือง (the question of history and connectedness between polities)
       4) การให้น้ำหนักกับวัฒนธรรม(การให้ความหมาย) ในกระบวนการทางเศรษฐกิจ (the weight of culture (meaning) in economic processes)
ปัญหาของการนำไปใช้อย่างเป็นสากลของความคิดแบบตะวันตกที่ผลิตประเภทของการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ ภายใต้ทฤษฎีของการกระทำที่มีเหตุผลในการพิจารณาการสร้างการตัดสินใจทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่ถูกต้องเท่านั้นในบริบทของเศรษฐกิจระบบตลาดในตะวันตก และในคำจำกัดความที่แท้จริงเศรษฐกิจควรที่จะถูกให้ความหมายที่แตกต่างในสังคมอื่นๆ ที่นำไปสู่การตั้งคำถามเกี่ยวกับการศึกษาทางเศรษฐกิจ ที่แบ่งออกเป็น2กลุ่ม กลุ่มแรกคือ กลุ่มที่เรียกตัวเองว่าพวกรูปแบบนิยม(formalist) ในขณะที่กลุ่มที่2เรียกตัวเองว่า พวกสสารนิยม (substantivist)ที่ติดตามความคิดของนักมานุษยวิทยาเศรษฐกิจชื่อ Kant Polanyi
     ภายใต้คลื่นของการถกเถียงในช่วงปี1970 รวมถึงนักมานุษยวิทยาที่ทำงานกับโมเดลการตัดสินใจที่เป็นทางการ(formal decision-making models) และนักมานุษยวิทยาสายมาร์กซิสต์ (Marxian anthropologists) กับแนวคิดเรื่องของรูปแบบหรือวิถีการผลิต (mode of production) และประเด็นของการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจแบบทุนนิยม(capitalist economies)และการเชื่อมต่อของรูปแบบหรือวิถีของการผลิตที่แตกต่างหลากหลาย (Godelier 1977).
     คำถามเกี่ยวกับเรื่องของคุณค่า คือสิ่งที่สัมพันธ์กับหน้าที่ของการแลกเปลี่ยน(function of exchange) ภายใต้ความสำคัญของการค้นหาความคล้ายคลึงกันและความแตกต่างเพื่อนำไปสู่การเปรียบเทียบ เริ่มแรกคาร์ล มาร์กได้สร้างความแตกต่างระหว่างคุณค่าของการใช้ประโยชน์หรือคุณค่าใช้สอย(use value)กับคุณค่าเชิงการแลกเปลี่ยน(exchange value) และความสามารถที่จะนำแนวคิดดังกล่าวไปประยุกต์ใช้กับสังคมที่ไม่ใช่ทุนนิยม(noncapitalist societies)หรือสังคมชาวนา(peasant societies)ได้อย่างไร ที่ซึ่งปัจจัยต่างๆของการผลิตเป็นสิ่งที่ไม่ถูกทำให้เป็นสินค้าอย่างเต็มที่ เช่น ร่างกายตัวตนที่ยังไม่เป็นแรงงานในระบบตลาด หรือผลผลิตที่เป็นไปเพื่อการบริโภคมากกว่าเป็นสินค้าสำหรับขาย เป็นต้น ลำดับต่อมาก็คือทฤษฎีคลาสสิคของแรงงานเกี่ยวกับเรื่องมูลค่า(the classical labor theory of value) ว่ามันถูกใช้ในสังคมที่ซึ่งเป็นตลาดแรงงานได้อย่างไร ลำดับที่สามคือทฤษฎีอรรถประโยชน์ชายขอบของมูลค่าใช้สอย(the marginal utility theory of value) ว่ามันสร้างความคิดเกี่ยวกับสินค้าที่มีการใช้ประโยชน์ออย่างหลากหลายและเป็นสิ่งที่ถูกให้คุณค่าที่สอดคล้องกับมาตรฐานหรือเครื่องมือของการวัดค่าที่แตกต่างกัน สุดท้าย ทฤษฎีทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับคุณค่า(the cultural theory of value) เมื่อการให้ความหมายของท้องถิ่น(local meaning)เชื่อมโยงเกาะเกี่ยวกับวัตถุ(objects) ผู้คน(people)และสถานการณ์(situations) เป็นสิ่งที่ใช้วัดในเชิงคุณค่า ได้จัดวางปัญหาของความสามารถใช้เปรียบเทียบข้ามวัฒนธรรมในการเชื่อมโยงกับโลก
คำถามเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และการเชื่อมโยงทางการเมือง ความจำเป็นกับการคิดในเชิงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านของความสัมพันธ์ทางสังคมและความต้องการศึกษาการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างความแตกต่างทางสังคมกับเรื่องของเวลา ปัญหาเหล่านี้เป็นลักษณะเด่นเฉพาะที่มีอิทธิพลต่อนักมานุษยวิทยาโดยทฤษฎีว่าด้วยระบบและทฤษฎีของการพึ่งพา โดยนักมานุษยวิทยามาร์กซิสต์ชาวยุโรปที่มองในมิติมุมมองในทางเศรษฐศาสตร์การเมืองทางมานุษยวิทยา(Roseberry,1988) โดยเป้าหมายเพื่อนำไปสู่กระบวนการทำความเข้าใจท้องถิ่น เช่นเดียวกับทั้งการถูกจัดวางหรือออกแบบและการดำเนินการที่พึ่งพาบนกระบวนการที่ใหญ่กว่าในการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์(Wolf,1982)

          ลำดับสุดท้ายคือการให้น้ำหนักเกี่ยวกับวัฒนธรรม(The weight of culture)การให้ความหมาย / (Meaning) ในกระบวนการทางเศรษฐกิจ ลักษณะทางวัฒนธรรมได้จับยึดคำอธิบายในทางมานุษยวิทยาเศรษฐกิจเป็นหลัก ดังเช่นบริบทที่ซึ่งกิจกรรมในเชิงวัตถุ(Material activities)ได้เกิดขึ้น นักมานุษยวิทยาได้ใช้ชุดคำว่า เศรษฐกิจเชิงศีลธรรม(moral economies) เพื่ออ้างถึงศีลธรรมในระดับปัจเจกบุคคลและระดับกลุ่มและคุณค่าทางวัฒนธรรม(Cultural values) ที่แพร่ไปสู่ความสัมพันธ์ทางสังคมเศรษฐกิจ(economic social relations)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...