วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

ปรัชญา (Philosohy)

ปรัชญา คือ ความรู้ และปัญญา  ความรู้หรือความรอบรู้ทำให้เราเราตั้งคำถามและชักนำเราให้ศึกษาหาความจริง ในแง่มุมต่างๆ
แง่มุมแรก ความรู้คืออะไร ความรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร รวมถึงความรู้นั้นถูกหรือผิดอย่างไร ปัญญาในการหาความรู้ส่วนนี้ถูกเรียกว่า ญาณวิทยา (Epistemology)
แง่มุมที่สอง เกิดจากปัญหาทางปรัชญาว่าที่ว่าด้วยเรื่องของการดำรงอยู่หรือมีอยู่ของสรรพสิ่ง หรือในทางปรัชญาเรียกว่า ภววิทยา (ontology) ที่พูดถึงเรื่องของความมีอยู่ "Existence"  สรรพสิ่งหรือสิ่งที่ปรากฏมีอยู่เป็นอย่างไร แล้วสิ่งที่ไม่มีเป็นอย่างไร ความเท็จเป็นอย่างไร ความถูกต้องเป็นอย่างไร สิ่งใดมีอยู่สิ่งใดไม่มีอยู่ แล้วเรารู้ได้อย่างไรวามันมีอยู่หรือไม่มีอยู่ มีคำถามมากมายว่า มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือเทพเจ้าหรือไม่?
พ้นเลยไปจากภววิทยา ก็จะมาถึงสิ่งที่เรียกว่าคุณวิทยา (Axiology) ที่ว่าด้วยปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับคุณค่าของสรรพสิ่ง ทั้งในแง่ของความงาม (Beauty) และศีลธรรม (Moral) ซึ่งในยุคโบราณปรัชญาแนวนี้คือเรื่องของสุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) และแนวคิดว่าด้วยศีลธรรมหรือจริยศาสตร์ (Ethic)
เรามักจะตั้งคำถามว่า เรารู้ได้อย่างไรว่าสิ่งนั้นคืออะไร ธรรมชาติ โลก ชีวิต ความตาย หรือแม้แต่ตัวตนของเรา
คำถามสำคัญคือ ความรู้มาจากไหน และความรู้นั้นมีธรรมชาติของมันอย่างไร ผิดถูกอย่างไร หรือเคลื่อนย้ายเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างไรบ้าง จึงย้อนกลับมาที่เรื่องของสิ่งที่เรียกว่าญาณวิทยา หัวใจสำคัญของปัญหาในแนวคิดทางปรัชญานี้คือ
"ถ้าเราไม่รู้ว่าความรู้ได้มาอย่างไรแล้วเราจะเชื่อถือมันได้อย่างไร" กลับมาที่การค้นหาต้นตอหรือแหล่งกำเนิดของความรู้
เรามักมีคำตอบต่อคำถามว่าความรู้ของเรามาจากไหน โดยเรามักจะบอกว่าพ่อแม่ ครูอาจารย์ หนังสือ อินเตอร์เน็ต สื่อต่างๆ  ถ้าเราตั้งคำถามต่อไปอีกสักนิด ว่า ครูของเรา พ่อแม่ของเรา สื่อต่างๆ เอาความรู้มาจา่กไหน เช่น ครูอาจได้มาจากตำรา ก็ต้องถามต่อว่า ตำราเกิดจากใคร คนเขียนตำราแล้วเขาได้ความรู้มาจากไหน  มาสอน มาบอก มาเผยแพร่กับเรา มันมาอย่างไร น้อยคนที่จะสามารถตอบได้ และน้อยคนที่จะคิดกับมันให้ลึกซึ้งลงไป
ดังนั้น ผู้แสวงหาความจริงย่อมต้องการความรู้อันเป็นสัจธรรม ต้องรู้ว่าความรู้มาจากไหน ได้มาอย่างไร
ครั้งต่อไปอาจจะเขียนถึงทฤษฎีเก่าๆที่เกี่ยวกับแหล่งที่มาของความรู้ ว่าความรู้ได้มากจากไหน ตั้งแต่พระเจ้าจนถึงยุคของเหตุผล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...