วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

แนวคิดสตรีนิยมแนวสังคมนิยม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

แนวคิดสตรีนิยมแนวสังคมนิยม
NAME OF THE PERSPECTIVE :  สตรีนิยมแนวสังคมนิยม (Socialist Feminist)
SUBJECT MATTER :   ทุนนิยมชายเป็นใหญ่ผลิตและผลิตซ้ำเพศวิถี  (Patriarchy  Capitalism  Productive  and Reproductive Sexuality ) ระบบความสัมพันธ์ทางสังคมแบบชายเป็นใหญ่ และการกดขี่โดยระบบทุนนิยมและอุดมการณ์ชายเป็นใหญ่(Patriarchy and capitalism oppression)
LOGIC OF THINKING : เพศสภาวะและสตรีนิยมมีความสัมพันธ์กับแนวคิดชายเป็นใหญ่ (Patriarchy) ระบบทุนนิยม(Capitalism)และชนชั้น(Class) ความสัมพันธ์ของระบบทุนนิยม(Capitalism)และความคิดเรื่องชายเป็นใหญ่ (Patriarchy)[1] เกี่ยวข้องกับการผลิต ระบบตลาด การจ้างแรงงาน การทำงาน ชั่วโมงการทำงานและ การขูดรีดมูลค่าส่วนเกินในการผลิต ที่นำไปสู่การแสวหาผลประโยชน์จากร่างกายผู้หญิง การกดขี่ข่มเหงซึ่งนำไปสู่ความไม่เท่าเทียมในระบบเศรษฐกิจ ด้วยความเชื่อพื้นฐานในความแตกต่างทางกายภาพที่ผู้ชายแข็งแกร่งและเข้มแข็งกว่าผู้หญิง ผู้ชายได้สร้างวัฒนธรรมของความเอาเปรียบและอำนาจที่เหนือผู้หญิง ผู้หญิงถูกใช้ความรุนแรงจากผู้ชายทั้งทางร่างกายและจิตใจ รวมถึงการกีดกันออกจากกิจกรรมอื่นๆทางสังคม นอกจากงานในบ้านและครัวเรือนที่ผู้หญิงจะต้องทำสิ่งเหล่านนั้น อย่างสมบูรณ์  ความแตกต่างทางร่างกายในแง่ของความเข้มแข็ง นำไปสู่ความไม่เท่าเทียมในการจ้างแรงงาน การแบ่งงาน งานของผู้ชายและงานของผู้หญิงที่มีความแตกต่างกัน การกีดกันและแบ่งแยกที่เกิดจากวิธีคิดเรื่องการแบ่งแยกแรงงาน(Division of Labor) ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ทำให้การทำงานบ้าน หรือที่เรียกว่า Production of household goods and services เช่น การหุงหาอาหาร การทำความสะอาดบ้านเรือน การเลี้ยงเด็ก และอื่นๆ ไม่ถูกมองว่าเป็นงานในระบบทุนนิยม เป็นงานในลักษณะ unpaid work มากกว่าจะเป็น Paid work ในระบบการทำงานที่เป็นภายนอกครัวเรือนหรือครอบครัว(พื้นที่ส่วนตัว/Private) เป็นการทำงานในพื้นที่สาธารณะ(Public) ที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของผู้หญิงเข้าสู่พื้นที่สาธารณะมากขึ้น ในขณะเดียวกันการที่ต้องทำงานในส่วนของPrivate ทำให้ผู้หญิงตกอยู่ในสภาวะที่ต้องรับภาระมากขึ้นกว่าผู้ชาย เพราะต้องทำทั้งงานบ้านและรับจ้างแรงงานข้างนอกด้วย ดังนั้นหน้าที่ของผู้หญิงจึงเป็นเรื่องของการผลิต (productive)ที่สัมพันธ์กับการผลิต เศรษฐกิจ อาชีพ การศึกษา หน้าที่ในการผลิตซ้ำ(Reproduction)ความเป็นแม่ การทำหน้าที่ในเรื่องของเพศสัมพันธ์หรือวิถีทางเพศ (Sexuality) การทำงานบ้าน การเลี้ยงลูก ที่สร้างอุดมการณ์และผลิตซ้ำความเชื่อและตัวตนของผู้หญิง รวมทั้งสรีระความแข็งแรงที่แตกต่างจากผู้ชาย กระบวนการทั้งหมดนำมาซึ่งการยินยอมหรือยอมรับในความไม่เท่าเทียมกัน ผ่านเรื่องของค่าจ้างและการเข้าถึงอาชีพซึ่งผู้หญิงอยู่ในสถานะที่เสียเปรียบผู้ชายถูกเอาเปรียบและถูกกดขี่ตลอดเวลา




[1]  แนวคิดเรื่อง Patiarchy มองว่าเป็นความคิดเกี่ยวกับ กฏเกณฑ์ของความเป็นพ่อ (Rule of Father) กฏเกณฑ์ของความเป็นสามี (Rule of Husbands) กฏเกณฑ์ของความเป็นนายจ้างผู้ชาย (Rule of Male Bosses)  เป็นการควบคุมของผู้ชายในสถาบันทางสังคมทั้งในแง่การเมือเมืองและเศรษฐกิจหรือแนวคิดของการครอบงำของผู้ชาย “Male Dominance” (Maria Mies,1991:37)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...