วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

แนวคิดปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ นัฐวุฒิ สิงห์กุล

แนวคิดปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์
NAME OF THE PERSPECTIVE :  ปฎิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ (Symbolic Interaction )
SUBJECT MATTER :    ความหมายทางสังคม (Social Meaning)  และปฎิสัมพันธ์ทางสังคม (Social Interaction) 
LOGIC OF THINKING : แนวคิดนี้เกิดจากนักคิดในสำนักชิคาโกที่มีความสำคัญ 2 ท่านคือ George Herbert  Mead สนใจพฤติกรรมและตัวตนเชิงสังคมของมนุษย์ ตัวตนดังกล่าวของมนุษย์มีอยู่สองด้านคือ หนึ่ง ตัวตนที่เป็นผู้กระทำที่มีการควบคุมตัวเองไม่ใช่ผู้ถูกกระทำ และสองตัวตนที่เกิดจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเองกับคนอื่นและสังคม  ที่สอดคล้องกับแนวคิดของ Charles Cooley ซึ่งพูดถึงการมองเห็นตัวตนที่สะท้อนผ่านกระจกเงา (looking-glass self) ที่เป็นเสมือนวิถีทางหรือแนวทางของบุคคลที่จะดำรงตัวตนของตัวเองจากภาพสะท้อนที่คนอื่นประเมิน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสังคมมีอิทธิพลต่อการกำหนดตัวตนของบุคคล เพราะภาพสะท้อนจากสิ่งที่ผู้อื่นสร้างต่อตัวเราส่งผลต่อการรับรู้ตัวตนของเราเอง ดังนั้นพฤติกรรมหรือการกระทำของมนุษย์ขึ้นอยู่กับความหมายทางสังคมที่เกิดขึ้นมาภายใต้บริบทของการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างมนุษย์ผู้กระทำกับสังคมหรือผู้คนในสังคม

                ความหมายทางสังคม เกิดจากความเชื่อที่ว่ามนุษย์คิดได้ โดยการสร้างภาษาขึ้นมาเป็นเครื่องมือในการคิด การคิดดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อเรามีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ในเรื่องของการสื่อสาร ว่าเขาสื่อสารอะไร มีความหมายอย่างไร และเรากำลังสื่อสารกับใคร และวิธีการสื่อสารของเราควรเป็นเช่นไร เมื่อเรารู้ความหมายแล้ว เราก็สามารถมีพฤติกรรมที่ตอบสนองอย่างเหมาะสมกลับไปได้ ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ผู้กระทำที่สัมพันธ์กับผู้อื่นและสังคม ทั้งระดับครอบครัว สถาบันทางสังคมเช่น สถาบันการศึกษา สถาบันทางการแพทย์ สถาบันเศรษฐกิจ กลุ่มเพื่อน กลุ่มอาชีพ  สมาคม ที่มีบทบาทในการสร้างความคาดหวังทางสังคม และส่งผ่านความหมายและความคาดหวังมาสู่เราซึ่งเป็นสมาชิกของสังคม ดังนั้นเมื่อปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีผลกับการกระทำของมนุษย์ เมื่อความคาดหวังและความหมายทางสังคมที่ผิดพลาดอาจจะนำไปสู่ปัญหาของการกระทำที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพและการตีตราทางสังคม

1 ความคิดเห็น:

  1. เเล้วทฤษฎีปฎิิสัมพันธ์ทางสัญญาลักษณ์ละค่ะมันจะเกี่ยวกับสัมคมเเค่ไหน อย่างไรบ้าง

    ตอบลบ

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...