วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์ (ต่อ)


โซซูร์ ได้พัฒนาแนวคิดเรื่องความสัมพันธ์สองด้าน (Dyadic) ในชุดของ รูปสัญญะ(signifiant/signifier) กับความหมายสัญญะ(signifie/signified) ระบบกฎเกณฑ์(langue)กับการเปล่งเสียง(speech/parole) นามธรรม(abstract)กับรูปธรรม(concrete) สังคม(Social)กับปัจเจกบุคคล(individual)  ความคิด(concept)กับจินตภาพแห่งเสียง(sound-image/acoustic-image)  ที่เป็นเสมือนกับสองด้านของความสัมพันธ์ซี่งสามารถทำการแยกศึกษาได้
ความแตกต่างของ Parole หรือด้านของปัจเจกบุคคล ที่เกี่ยวกับการใช้ถ้อยคำ  ที่ไม่ได้ดำรงอยู่อย่างเป็นรูปธรรมในตัวของมันเอง นอกจากเป็นการแสดงแต่ละชิ้นส่วนของถ้อยคำที่สามารถจะจัดหาได้ มนุษย์จึงเป็นเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตที่ถูกจัดวาง วางแผน และลงทุนในภาษาซึ่งเป็นระบบที่ซับซ้อน  หรือโครงสร้างที่สอดคล้องระหว่างสัญญะและความคิดที่แตกต่าง ภายใต้ความสัมพันธ์อันหลากหลาย  เครื่องมือทางเสียง( The Vocal Apparatus) ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนทางภาษา โดยกระบวนการทำให้เป็นความจริงในรูปธรรม บนโลกที่แท้จริงของการติดต่อสื่อสารในสังคม(Hawkes:1977) ซึ่งนำไปสู่คำถามที่สำคัญว่า อะไรคือธรรมชาติของมนุษย์ ที่ไม่ใช่ถ้อยคำที่เกี่ยวข้องกับปากหรือการพูด แต่เป็นความสามารถเกี่ยวกับการสร้างภาษา ซึ่งเป็นระบบของความแตกต่างทางสัญญะที่ตอบสนองกับความแตกต่างทางความคิดของมนุษย์
โดยที่Langue เป็นผลผลิตทางสังคม ในความสามารถทางถ้อยคำ คำพูด และการรวบรวมสะสม ธรรมเนียม แบบแผน กฎเกณฑ์สำคัญ ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยกลุ่มทางสังคมหรือชุมชนทางภาษากับการยินยอม อนุญาตของแต่ละปัจเจกบุคคล ที่เกี่ยวกับการใช้ ที่เป็นความสามารถที่ติดตัวมาของมนุษย์ 
Parole เป็นส่วนที่เล็กที่สุด ที่อยู่ในหน่วยทางภาษา(Langue) ที่เป็นมวลสารที่ใหญ่ที่สนับสนุนส่งเสริมมัน และเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับมัน ทั้งโดยผู้พูด ผู้ฟัง แต่ไม่เคยปรากฎตัวของมันเอง ภาษาเป็นวัตถุเชิงนามธรรม ที่เราไม่สามารถจับได้ และไม่เคยปรากฎทั้งหมดของมัน  รูปแบบความสัมพันธ์ที่เป็นคู่ระหว่างรูปสัญญะและความหมายสัญญะ มันค่อนข้างจะเป็นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นธรรมชาติน้อยมาก เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งที่มาจากการกำหนดให้เป็น(Arbitrary) ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงระหว่างจิตภาพของเสียง (Sound-image) และความคิด(Concept)  เช่นเดียวกับรูปสัญญะ(Signifier) และความหมายสัญญะ(Signified) เช่นคำศัพท์ว่า TREE (ต้นไม้) ที่เป็นตัวอย่างของโซซูร์ ซึ่งเป็นรูปสัญญะ และเป็นความหมายสัญญะในเรื่องของความคิดเกี่ยวกับต้นไม้ ลักษณะความจริงทางกายภาพของต้นไม้ที่เจริญเติบโตในพื้นดิน คำศัพท์คำว่า “TREEหรือต้นไม้ไม่ได้เป็นธรรมชาติหรือคุณสมบัติที่เท่าเทียมกันกับต้นไม้จริงๆ ซึ่งโซซูร์ก็ไม่ได้สนใจกับความจริงที่อยู่พ้นขอบเขตหรือนอกเหนือเรื่องของภาษา ที่อยู่ภายใต้การรับรองเกี่ยวกับมันเท่านั้น  
ดังนั้นการถูกกำหนดให้เป็นของสัญญะ (The Arbitrary of sign)เป็นเสมือนสิ่งที่ป้องกันรักษาภาษาจากความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงมัน    (Saussure:1966,P.73) ดังที่โซซูร์กล่าวว่า
คำศัพท์ การกำหนดให้เป็น(Arbitrary) เป็นสิ่งที่กล่าวสำหรับการวิจารณ์แนะนำด้วย ชุดคำที่ไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์ ซึ่งทางเลือกของรูปสัญญะเป็นสิ่งที่ออกมาอย่างค่อนข้างสมบูรณ์ กับผู้พูด (เราจะเห็นว่า ปัจเจกบุคคล ไม่มีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงสัญญะในหนทางอื่นๆมากมาย ที่มันได้กลายเป็นการถูกจัดตั้งในชุมชนทางภาษา) ฉันหมายถึง มันเป็นสิ่งที่ไม่ถูกเคลื่อนย้าย/เคลื่อนไหว เป็นการกำหนดให้เป็น ที่มันไม่ได้เชื่อมต่ออย่างเป็นธรรมชาติที่แท้จริงกับความหมายสัญญะ”(Saussure:1966,P.68-69)
การถูกกำหนดให้เป็น จึงไม่ใช่เหตุผลหรือธรรมชาติ ที่เชื่อมโยงระหว่าง2ส่วนของสัญญะ ที่ถูกทำให้เป็นหนึ่งเดียวภายใต้รูปแบบกฎเกณฑ์ที่ยอมรับร่วมกันในชุมชนทางภาษา ที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องภายในตัวของปัจเจกบุคคล  รูปสัญญะที่แตกต่างหลากหลายของคำศัพท์  เกี่ยวกับต้นไม้ Arbre ,Baum Arbor และTree ไม่มีอะไรเลยที่จะเหมาะสมกว่าหรือมีเหตุผลกว่าสิ่งอื่นๆ แต่ทั้งหมดอยู่ภายใต้การรักษาและการันตี จากโครงสร้าง ธรรมชาติของระบบที่เกิดขึ้นในชุดคำที่แน่นอน คำศัพท์ของต้นไม้ จึงมีความหมายถึงลักษณะทางกายภาพเกี่ยวกับใบ สิ่งที่เจริญเติบโตในดิน เพราะว่าโครงสร้างของภาษาได้สร้างความหมายของมันและทำให้มันถูกต้อง ซึ่งสะท้อนให้เห็นอิทธิพลทางภาษาในการสร้างความเข้าใจของมนุษย์ เกี่ยวกับโลกและสิ่งต่างๆรอบตัว สำหรับโซซูร์แล้ว สัญญะทางภาษาศาสตร์ เป็นสิ่งที่กำหนด นิยามความสัมพันธ์ของรูปสัญญะและความหมายสัญญะ วัตถุเป็นสิ่งที่ถูกกีดกันจากความสัมพันธ์นี้ เพราะมันเป็นสิ่งที่ระบุหรือกำหนดการอ้างอิง(Referent) ซึ่งภาษาไม่เกี่ยวข้องกับการอ้างอิง มันเป็นความสนใจในความสัมพันธ์ของรูปสัญญะและความหมายสัญญะเท่านั้น(Kristeva:1989,P.14)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...