วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

มานุษยวิทยากายภาพ : วิวัฒนาการของมนุษยชาติ

วิวัฒนาการของมนุษยชาติ
 การศึกษาทำความเข้าใจความเป็นมาของมนุษยชาติ ถึงต้นกำเนิดและพัฒนากรของมนุษย์ในแต่ละยุคสมัย ยังไม่มีความสมบูรณ์มากนัก แม้ว่าเราจะพบคำตอบว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่พัฒนาขึ้นมาจากสัตว์เซลล์เดียวชั้นต่ำ ที่ยังไม่สามารถพัฒนาความสลับซับซ้อนของอวัยวะในการทำหน้าที่ต่างๆ เหมือนมนุษย์ในยุคปัจจุบัน ที่ประกอบด้วยเซ,ล์หลายเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่าง รวมทั้งความเกี่ยวดองทางโครงสร้างทางร่างกายบางอย่างของมนุษย์กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammals) บางประเภทที่มีลักษณะใกล้เคียงกับมนุษย์ เช่น สัตว์ในกลุ่ม Primate Order ที่มีกระดูกสันหลัง(Vertebrate) ที่รวมถึงลิงขนาดใหญ่ที่ไม่มีหาง (Ape)[1] และลิงมีหางชนิดอื่นๆ (Monkeys)
ดังนั้นเราน่าจะพิจารณาความรู้ทางด้านธรณีวิทยา (Genealogy)ที่ได้แบ่งลักษณะของโลกมนุษย์ในยุค (Era)ต่างๆที่สัมพันธ์กับสภาพทางกายภาพ พื้นดิน พื้นน้ำและวิวัฒนาการ การก่อกำเนิดของสิ่งมีชีวิตบนโลกดังนี้ คือ
ERA
Period
Epoch
Million of year
Forms of Life
Cenozoic
(ยุคแห่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม)
Quartenary
Recent
1/40
คนปัจจุบัน
Pleistocene
1
Sinanthropus,Pithecanthropus, Homo sapiens.etc
Tertiary
Pliocene
12

สัตว์ที่มีรูปร่างใกล้คนอาจจะเริ่มปรากฏขึ้นในตอนปลายของยุคสมัยนี้
Miocene
28
สัตว์ประเภท Anthropoid Apes ปรากฏขึ้นแพร่หลาย
Oligocene
39
สัตว์ประเภท Anthropoid แบบที่มีรูปร่างล้าหลัง (Primitive) เริ่มมีขึ้น
Eocene
58
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเริ่มมีปรากฏแพร่หลายทั่วไป
Paleocene
75
เริ่มมีปรากฏสัตว์แบบ Insectivorous preprimateและprimate ระยะต้น
Mesozoic
(ยุคแห่งสัตว์เลื้อยคลาน)
Secondary
Creteceous
135
เริ่มมีปรากฏสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและนกแบบโบราณ ไดโนเสาร์ นกมีฟันและสัตว์โบราณบางชนิดเริ่มสูญพันธุ์
Jurassic
165
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแบบล้าหลังเริ่มมีปรากฏแพร่หลาย นกมีฟันเริ่มมีขึ้น
Triassic
205
ไดโนเสาร์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแบบล้าหลังเริ่มปรากฏมีขึ้น
Paleozoic
(ยุคแห่งชีวิตแบบโบราณ)

Permian
230
สัตว์ประเภทครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibians)
และแมลงต่างๆเริ่มปรากฏอย่างแพร่หลาย
Carboniferous
255
สัตว์แบบล้าหลังประเภทเลื้อยคลาน  แมลง แมงมุม มีปรากฏขึ้น ป่าเฟิร์นและป่าไม้อื่นๆเริ่มมีปรากฏเพิ่มมากขึ้น
Devonian
325
ปลาและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำมีปรากฏขึ้นและป่าไม้เริ่มขยายตัวแพร่หลายขึ้น
Silurian
360
สัตว์ทะเลประเภทปลาหมึกยักษ์และแบบชีวิตในทะเลที่ใกล้เคียงกันเริ่มมีปรากฏ พืชต่างๆก็เริ่มปรากฏขึ้นบนดิน
Ordovician
425
ปลาแบบล้าหลังและชีวิตในทะเลบางแบบได้เริ่มปรากฏขึ้น
Cambrian
505
ยังไม่พบหลักฐานของสิ่งมีชีวิตบนพื้นดิน แต่ในทะเลมีชีวิตแบบง่ายๆปรากฏอยู่แล้ว
สิ่งที่น่าสนใจจากตาราง เกี่ยวกับบรรพบุรุษของมนุษย์เราก็คือ ในยุคของซีโนนอย (Cenozoic Era)  สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทนี้เริ่มปรากฏอยู่แล้วในตอนปลายของยุคก่อนหน้านี้ แต่ยังมีความสำคัญน้อย ยุคนี้แบ่งเป็นหลายยุค ทั้งอีโอซีน (Eocene Period) สมัยโอลีโกซีน (Oligocene Period) สมัยไมโอซีน (Miocene Period) สมัยไพลโอซีน (Pliocene Period) สมัยไพลสโตซีน (Pleistocene Period)และสมัยรีเซ็นต์ (Recent Period ) ซึ่งเป็นสมัยปัจจุบันที่เราดำรงชีวิตอยู่ ดังนั้นสัตว์กลุ่มไพรเมท ได้เริ่มปรากฏในโลกสมัยอีโอซีน และได้แตกแยกย่อยออกเป็นครอบครัวในตอนต้นของสมัยโอลิโกซีน ที่มีหลักฐานจากการขุดพบโครงกระดูกคล้ายลิงใหญ่ โครงหนึ่งที่ถูกตั้งชื่อว่า โพรพิโอพิเธคัส (Propliopetecus) ที่ถูกสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์เราและสัตว์ที่ใกล้เคียงกับมนุษย์ (Anthropoid) ซึ่งได้ถูกค้นพบจำนวนมาก โดยไม่อาจทราบว่าในช่วงปลายสมัยโอลิโกซีนและตอนต้น ตอนกลางของสมัยไมโอซีนลงมา มันจึงหายไป แต่ก็พิสูจน์ว่าในช่วงเวลาดังกล่าว เริ่มมีสัตว์ที่คล้ายมนุษย์ดำรงอยู่วิตอยู่แล้วพอสมควร
ไพรเมทในระยะแรกๆ เป็นสัตว์ประเภทเล็กๆ สมาชิกของกลุ่มนี้เริ่มต้นจากการอาศัยอยู่บนต้นไม้ก่อน มีขนาดเล็กน้ำหนักตัวเบา เหมาะสมกับการห้อยโหนโยนตัวบนอากาศ จากต้นไม้ต้นหนึ่งไปยังต้นไม้อีกต้น แต่ในขณะเดียวกันก็มีวิวัฒนาการพัฒนาทางด้านขนาดรูปร่าง ดังเช่นกอริลล่า ที่ตัวผู้ใหญ่อาจมีน้ำหนักถึง 1,000 ปอนด์ ซึ่งการที่น้ำหนักตัวมากขนาดนี้ ทำให้ยากลำบากในการอาศัยและห้อยโหนบนต้นไม้อย่างที่เคยเป็น ทำให้มันต้องลงมาอยู่บนพื้นดินแทน ในตอนแรกอาจจะอยู่ระหว่างต้นไม้กับพื้นดิน เช่นหาอาหารบนพื้นดิน นอนบนต้นไม้ อาจกล่าวได้ว่าลิงขนาดใหญ่เป็นสัตว์บรรพบุรุษรุ่นแรกที่คล้ายคน ได้ลงมาจากต้นไม้มาอยู่บนดิน  ก็เนื่องจากร่างกายมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น และการลงมาอยู่บนพื้นดินก็ได้ทำให้สัตว์เหล่านี้พัฒนาโครงสร้างที่เหมาะสมกับการใช้ชีวิตอยู่บนพื้นดิน ขาของพวกมันค่อยๆยาวขึ้น ข้อต่อของสะโพกมีความกระชับและแกร่งมากขึ้น เท้าไม่ได้ใช้เกาะต้นไม้อีกต่อไป แต่ใช้พยุงน้ำหนักของร่างกาย ดังเช่นกอริลล่าภูเขา ที่อาศัยอยู่บนพื้นดินเกือบตลอดเวลาและมีลักษณะของเท้าใกล้เคียงกับคนมากกว่าไพรเมทชนิดอื่นๆ
นอกจากการเปลี่ยนลักษณะทางโครงสร้างแล้ว สัตว์เหล่านี้ยังเปลี่ยนนิสัยในเรื่องของอาหารด้วย เช่น สัตว์ไพรเมทต้นๆ ส่วนมากเป็นสัตว์ประเภทกินแมลงเป็นอาหาร และกินสัตว์กินพืชเป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่นิยมกินเนื้อสัตว์ พวกเขาดรงชีพด้วยหน่อไม้อ่อน  ผลไม้และพืชเกิดใหม่ ในขณะที่มนุษย์ดูจะเป็นไพรเมทประเภทเดียวเท่านั้นที่เป็นนักล่า นักฆ่าและกินสัตว์มากมายหลายชนิด
อาจจะเป็นไปได้ว่า เพราะขนาดร่างกายที่ใหญ่ทำให้มันขาดความคล่องแคล่วว่องไวในการไล่จับสัตว์ จึงถนัดกับการจับหรือหาผลไม้บนต้นที่ออกผลอยู่นิ่งๆบนกิ่งมากกว่าการล่าสัตว์ที่เคลื่อนที่ แต่เมื่อลงมาจากต้นไม้ และขนาดของร่างกายกระชับกระเฉงมากขึ้น ทำให้พวกเขาลงมาหาเลี้ยงชีพตามพื้นดินมากขึ้นและมีวิวัฒนาการใกล้เคียงกับมนุษย์ปัจจุบันมากขึ้น ในสมัยไมโอซีน ดังนั้นอาจกล่าวว่า สัตว์คล้ายคน (Anthropoid) และคน (Hominoid) เริ่มมีเส้นแบ่งทางวิวัฒนาการที่ชัดเจนในระยะนี้ สัตว์คล้ายคนขนาดใหญ่ในสมัยไมโอซีน มีความโน้มเอียงที่จะดำรงชีวิตบนพื้นดินและกินเนื้อสัตว์อื่นเป็นอาหารมากยิ่งขึ้น
การขุดค้นซากโครงกระดูกของมนุษย์ในหลายพื้นที่ ที่มีอายุในช่วงไมโอซีนและไพลโอซีน เช่น มนุษย์ชวา (Java Man)และพิเธคันโทรปัส อีเลคตัส (Pithecanthropus Erectus) ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับมนุษย์ หรืออาจเรียกว่าเป็นสัตว์คล้ายคน ที่มีกระดูกด้านหน้าของหัวกะโหลกยาวและแคบ มีสันคิ้วที่ใหญ่และหนาอยู่บนด้านบนของช่องดวงตา และมีกระบอกตาค่อนข้างต่ำ ช่องมันสมองแสดงให้เห็นขนาดของสมองประมาณ 900 คิวบิดเซนติเมตร ที่ใหญ่โตกว่ามันสมองของลิงใหญ่ทุกชนิดแต่ยังมีขนาดสมองเล็กกว่าคนธรรมดามาก และลักษณะกะโหลกคล้ายคลึงกับของลิงใหญ่ (Apes)มากกว่ามนุษย์ปัจจุบัน แต่มีลักษณะฟันใกล้เคียงกับคนมากกว่า แสดงว่าพวกนี้กินอาหารและเคี้ยวอาหารแบบคนในสมัยปัจจุบันได้
หลังจากนั้นไม่นานก็ได้มีการค้นพบโครงกระดูกของวิวัฒนาการมนุษย์ที่เรียกว่า นีแอนเดอทัล (Neanderthal Man) ที่เป็นเชื้อชาติที่ได้ครอบครองบริเวณส่วนใหญ่ของยุโรป ที่อยู่ระหว่างตอนกลางและตอนปลายของยุตไพลสโตลีน คนพวกนี้ยังมีลักษณะคล้ายลิงใหญ่และคล้ายมนุษย์ยุคปัจจุบันบางอย่าง ลักษณะที่เด่นชัดคือ รูปร่างเตี้ย ล่ำสันและมีขนดกหนา รวมทั้งมีกล้ามเนื้อแขนชาที่แข็งแรงมาก แต่ยังไม่สามารถเหยียดเข่าให้ตั้งตรงได้เต็มที่ การก้าวเดินค่อนข้างช้า หัวยังไม่ตั้งตรง ค่อนข้างจะหงายไปข้างหลังมากกว่า มีขนาดหัวใหญ่ มีขนรุงรังบริเวณใบหน้ามาก จมูกแบนและราบ ดวงตาถูกปกป้องด้วยหัวคิ้วที่ยื่นออกมามาก มีคิ้วดก หนาผากต่ำ หัวยาว  ขนาดของสมองมีความใหญ่เท่าๆกับคนปัจจุบันแต่ยังมีคุณภาพด้อยกว่ามาก ในแง่ของวิถีชีวิต พวกนี้รู้จักใช้ไฟ และใช้เครื่องมือตั้งแต่เริ่มแรกหลายชนิดเหมือนกัน
นอกจากนี้ยังค้นพบโครงกระดูก พิเธคันโทรปัส (Pithecanthropus) ซินันโทรปัส (Sinanthropus) หรือ มนุษย์ปักกิ่ง (Peking Man)ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมนุษย์นีแอนเดอทัลมาก ดังนั้นถึงแม้ว่านีแอนเดอทัล จะคล้ายลิงใหญ่หรือAPE มากกว่ามนุษย์ แต่ก็ปฎิเสธถึงลักษณะบางอย่างที่มีความคล้ายคลึงกันไม่ได้ อาจกล่าวได้ว่าคนสองชนิดนี้มีบรรพบุรุษร่วมกันมาในอดีตก็ว่าได้
สิ่งหนึ่งที่เราไม่อาจปฏิเสธได้ก็คือ สภาพแวดล้อมและระบบนิเวศที่แตกต่าง มีผลต่อวิวัฒนาการของมนุษย์ชาติและการตั้งถิ่นฐาน เช่น มนุษย์นีแอนเดทัล ที่ครอบครองยุโรป มีความชอบในอากาศที่เย็นจัด เป็นน้ำแข็ง ที่เป็นลักษณะเฉพาะของซีกโลกฝั่งยุโรปและด้วยความหนาของขนตามร่างกายทำให้พวกนี้ดำรงอยู่ได้ ในขณะที่มนุษย์ปัจจุบัน (Homo Sapiens) เป็นสัตว์ชนิดที่เคยชินกับอากาศร้อนและอบอุ่นเป็นส่วนมาก เพราะไม่ได้มีขนมาก และทนความหนาวเย็นได้ไม่นาน ซึ่งยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ากลุ่มคนเหล่านี้มีลักษณะคล้ายพวกเอสกิโมที่ล่าแมวน้ำ ล่าหมี เพื่อทำเป็นเครื่องนุ่งห่มกันหนาว เพราะไม่มีหลักฐานเรื่องของการตัดเย็บเสื้อหนัง เสื้อกันหนาวของมนุษย์ยุคนีแอนเดอทัล และคนพวกนี้ใส่เสื้อผ้าหรือเปล่าหรือเนื้อตัวเปลือยเปล่า อาศัยขนที่หนาเป็นเครื่องปกป้องพวกเขาจากความหนาว
ในขณะเดียวกันอาจเป็นไปได้ว่ามีมนุษย์อยู่ในอีกซีกโลกหนึ่งที่อยู่บนเส้นศูนย์สูตรที่อบอุ่น ได้เคลื่อนย้ายตัวเองจากโลกเก่าสู่โลกใหม่ในทวีปยุโรป เพื่อค้นหาแหล่งทรัพยากรและต่อสู้เพื่อดำรงชีวิตอยู่ก็เป็นไปได้ว่าการขยายอาณาเขตของกลุ่มมนุษย์ปัจจุบันออกไปในเขตน้ำแข็งเมื่อน้ำแข็งละลาย อาจมีการสังหารชีวิตสัตว์กึ่งมนุษย์หรือมนุษย์ด้วยกันเพื่อแย่งชิงดินแดนและทรัพยากร จนทำให้มนุษย์บางชนิดสูญพันธ์ไปก็เป็นได้ แม้ว่ายังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่า มีการผสมพันธุ์ข้ามกลุ่มสายพันธุ์หรือเปล่า
แต่กระนั้นก็ตามซากโครงกระดูกของไพรเมทและมนุษย์ประเภทต่างๆที่ค้นพบ ทำให้เราทราบถึงสายวิวัฒนาการที่เชื่อมโยงกับคนสมัยใหม่แม้ว่ามันอาจจะไม่ได้เป็นบรรพบุรุษของเราโดยตรงก็ตาม

ตัวอย่าง 1.Pliopithecus, Pronconsul, Dryopithecus


 
ตัวอย่าง 2 . Australopithecus, Paranthropus, Advanced Australopithecus, Homo Erectus, Early Homo Sapiens, Solo Man, & Rhodesian Man , Neanderthal Man, Cro-Magnon Man, Modern Man.
ดังนั้นอาจสรุปว่า สิ่งที่มนุษย์มีร่วมกับสัตว์อื่นๆ  มีดังนี้คือ
1.มีวงจรชีวิตเหมือนสิ่งมีชีวิตประเภทอื่นๆ ที่มีการเจริญเติบโต การสืบพันธ์ การเจ็บป่วย การแก่เฒ่า และการตาย
2.ความสามารถเคลื่อนย้ายตัวเองจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากอาณาจักรพืช ที่มักจะอยู่บริเวณใดบริเวณหนึ่งถาวร ไม่สามารถเคลื่อนย้ายตัวเองได้ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่ทำระหว่างกัน เช่น หาอาหารล่าสัตว์ ป้องกันศัตรู หาหมัดให้กัน  เป็นต้น
3. มนุษย์มีสิ่งที่คล้ายสัตว์ที่มีหลายเซลล์ เพราะมนุษย์มีอวัยวะที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เช่น แขน ขา หัวใจ  ตา สมอง เป็นต้น
4. มนุษย์มีลักษณะร่วมกันกับสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง  มีลักษณะภายในกระดูกและกล้ามเนื้อที่ยืดหยุ่น มีระบบประสาทไวต่อความรู้สึก  มีระบบเลือด หัวใจ ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดเลี้ยงร่างกาย
5.มนุษย์มีลักษณะร่วมกับสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม  แต่มนุษย์มีวิวัฒนาการขั้นสูงกว่า  โดยมีการเจริญเติบโตของทารก หรือตัวอ่อนโดยผ่านทางรก เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมตนเอง เป็นสัตว์เลือดอุ่นมีขนตามลำตัว  มีคางที่ตรงจากกะโหลกศีรษะ  มีกระดูก 7 ชิ้นที่คอต่อมาจากกระดูกสันหลัง มีเส้นประสาทสมอง 12 คู่  หัวใจมี 4 ห้อง  มีฟัน2 ชุด ฟันน้ำนมและฟัน
6.มนุษย์มีลักษณะร่วมกับไพรเมท ในการมีสมองขนาดใหญ่กว่าสัตว์ทั่วไป ซับซ้อน มีสายตาดี โดยเฉพาะมิติในการมอง กว้าง ลึก ยาว รวมทั้งมีมือในการใช้จับยึดสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะต้นไม้
สิ่งแวดล้อมกับความแตกต่างของมนุษยชาติ
                มนุษย์ในแต่ละกลุ่ม ไม่ว่าจะอยู่ในโลกเก่าหรือโลกใหม่ ได้แยกย้ายออกไปตั้งถิ่นฐานในสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่ต่างกันออกไป และมีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้มากน้อยแตกต่างกัน  มนุษย์ในกลุ่มหนึ่งอาจจะถูกกับสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นหนึ่งมากกว่าอีกท้องถิ่นหนึ่ง  และสิ่งแวดล้อมสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับร่างกายของสิ่งมีชีวิต ได้ โดยแสดงออกมาให้เห็นว่า ชีวิตรูปร่างลักษณะที่มุ่งไปในทิศทางอย่างหนึ่ง ย่อมมีโอกาสดีกว่าที่จะอยู่รอด และถ่ายทอดลักษณะดังกล่าวให้กับสมาชิกรุ่นหลัง เช่น การมีปอดขนาดใหญ่ เพราะต้องอาศัยอยู่บริเวณที่สูงที่มีออกซิเจนค่อนข้างน้อย และเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ทุกเมื่อ เช่นคนที่หิมาลัย คนที่ธิเบตหรือชาวมองโกลเลีย เป็นต้น ในขณะเดียวกันสิ่งแวดล้อมก็อาจจะลดโอกาสในการอยู่รอดของมนุษย์ ซึ่งมีลักษณะของร่างกายบางอย่างที่มุ่งไปในทิศทางอื่นหรือทิศทางตรงกันข้าม เช่น คนที่มีปอดน้อย แต่ไปอาศัยอยู่ในที่ที่มีอากาศเบาบาง มีออกซิเจนน้อย ก็อาจหายใจลำบากหรือเสียชีวิตได้เร็วกว่าคนที่มีปอดใหญ่ สิ่งนี้คือกฎที่เรียกว่า การเลือกสรรโดยธรรมชาติ (Natural Selection)
                ในเรื่องของลักษณะอากาศกับลักษณะทางกายภาพ ยังมีความน่าสนใจประการหนึ่งว่า คนที่อยู่ในบริเวณโลกเก่า มกจะมีสีผิวคล้ำกว่าเนื่องจากอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตร ในขณะที่คนผิวขาวจะอยู่บริเวณเขตอบอุ่นหรือหนาว เช่นเดียวกับพวกที่อาศัยอยู่ริมทะเล และภูมิเขา ปริมาณการได้รับแสงแดด ก็อาจส่งผลต่อสีผิวของร่างกายได้ด้วยเหมือนกัน นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงรูปพรรณและลักษณะทางร่างกาย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติอย่างเดียว แต่ยังเกี่ยวพันกับการเลือกสรรของสังคมด้วย (Social Selection) ซึ่งจะแสดงผลดีต่อร่างกายบางแบบเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ชาวทานาล่า (Tanala) ในหมู่เกาะมาดากัสการ์ (Madagascar Island) ซึ่งมีอยู่สองกลุ่มที่มีสีผิวแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่ารูปร่างลักษณะอื่นๆจะมีความเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน ภาษาและวัฒนธรรมก็แบบเดียวกัน ชนสองกลุ่มนี้แยกออกเป็นสองประเภทคือ กลุ่มสายตระกูลแดง (Red Clan) ที่มีสีผิวน้ำตาลอ่อน สีแดงระเรื่อตามผิวหนัง กลุ่มสายตระกูลดำ (Black Clan) ที่มีสีน้ำตาลคล้ำและดำแบบเดียวกับสีผิวของนิโกร โดยทั้งสองกลุ่มมีประเพณีบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับผิวพรรณและรูปร่างของคนสองกลุ่มอยู่มาก เช่น ถ้าเกิดเด็กผิวดำ ขึ้นมาในหมู่สายตระกูลแดง  ก็เชื่อว่าเด็กคนนั้นเมื่อโตขึ้น จะเป็นพ่อหมดหมอผี (Sorcerer) ที่มีอำนาจในการสาปแช่ง ให้โทษผู้อื่น  เป็นขโมยหรือเป็นคนเจ้าชู้ประพฤติผิดในกาม หรือเป็นคนขี้เรื้อน จึงควรจะฆ่าตายตั้งแต่เกิด
                ในขณะเดียวกันกลุ่มสายตระกูลดำก็มีกฏเกณฑ์กับเด็กที่เกิดมามีผิวค่อนข้างขาวและแดงระเรื่อเช่นเดียวกัน ทำให้การแต่งงานของกลุ่มคนเหล่านี้ จะอยู่ในสายตระกูลเดียวกันไม่ข้ามสายตระกูลอื่น ซึ่งถือเป็นการเลือกสรรทางสังคมที่ส่งผลถึงลักษณะรูปพรรณ ร่างกายของมนุษย์ รูปพรรณที่เปลี่ยนแปรไปในลักษณะที่สังคมไม่พึงปรารถนาก็จะถูกกำจัดออกไป
                ดังนั้นทิศทางของการเลือกสรรทางสังคม ขึ้นอยู่กับตัวแปรและองค์ประกอบทางวัฒนธรรมของแต่ละสังคม เช่น นักล่าที่มีความสามารถย่อมได้รับอาหารที่ดีและมากกว่าคนที่ด้อยความสามารถ และมีโอกาสอยู่รอดได้มากกว่านักล่าที่ไร้ฝีมือ อีกตัวอย่างหนึ่งคนที่มีรูปร่างสวยงาม หน้าตาสวยงาม เป็นที่ต้องตาต้องใจหรือหมายปองของเพศตรงกันข้ามมากว่า พวกนี้ก็มีแนวโน้มรักษาแบบแผนทางรูปพรรณและลักษณะของตัวมากกว่า ทำให้ในยุคปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงรูปพรรณเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ตามค่านิยมทางวัฒนธรรม เช่น  การนิยมโชว์ส่วนเว้าของสตรีอย่างเต็มที่ในสมัยหนึ่ง ในสมัยหนึ่งก็มีข้อห้ามข้อจำกัด มาสมัยหลังก็เริ่มกลับมาโชว์ส่วนเว้ามากขึ้น หรือการนิยมผู้ชายมีนวดมีเคราหนๆ มาเป็นเกลี้ยงเกลา และอื่นๆ ก็มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงแนวประพฤติของคนในกลุ่มไปในทิศทางที่มุ่งพัฒนาความสมบูรณ์ของร่างกายไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้


[1] ลิงขนาดใหญ่ไม่มีหางที่ว่าแบ่งออกเป็น 4 ชั้น (Genera) ประกอบด้วย ชิมแปนซี(Chimpanzee) อุรังอุตัง(Orangutan) กอริลล่า(Gorilla) และชะนี(Gibbon) สัตว์ประเภทนี้ถูกเรียกว่า Anthropoid หรือสัตว์คล้ายคน (Sub-human) เพราะมีลักษณะบางอย่างใกล้เคียงกับมนุษย์  แต่มีเพียงชิมแปนซี กับกอริลล่า เท่านั้นที่รูปร่างเหมือนคนมากที่สุด  ทั้งอวัยวะ โครงกระดูก และลักษณะของสมองที่เหมือนมนุษย์แต่มีขนาดเล็กกว่าเท่านั้น รวมทั้งประสาทการฟัง การดมกลิ่นและสายตา มีความเหมือนมนุษย์มากที่สุด จึงทำให้มีนักวิชาการบางกลุ่มมองว่าลิงพวกนี้เป็นญาติหรือมีเชื้อสายเดียวกับมนุษย์เราปัจจุบัน หรืออาจเป็นบรรพบุรุษของเราก็ได้ (Divergent lines of Evolution)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...