วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

มานุษยวิทยากับภาพถ่าย ตอนที่1

                                                                                                                                                            Lye Tuck-Po
We can provide photography related to topics of anthropology, archaeology, sociology, geography, and natural history, suitable for publication in textbooks, general books, articles,  post cards, calendars, internet sites, DVDs, CDs, and other forms of print and on-line media


                                                                                             Barry D. Kass
           Most of the photographic evidence that finds practical use in anthropological research is concerned with counting, measuring, comparing, qualifying, and tracking. More specifically, the primary applications of anthropological photography demonstrate patterns in cultural diversity and its integration, societal control, religious behavior, marriage customs, festivals, etc., as well as to document the effects of these patterns on both the culture and the environment of interest.
                                                                             OHN FERGUS-JEAN

1.นักมานุษยวิทยา กับวิธีการสังเกตการณ์ในสนาม
          นักมานุษยวิทยา(Anthropologist) ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องราวในชีวิตของมนุษย์ (The Study of Man) ในทุกแง่ทุกมุม นักมานุษยวิทยาในยุคแรกสนใจศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์ในยุคแรกเริ่มที่ไม่มีตัวหนังสือ ไม่มีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน ไม่มีระบบการเมืองแบบทางการหรือแบบรัฐ แต่การเมืองอยู่ภายใต้ระบบคุณธรรมของเผ่าและหัวหน้าเผ่าเป็นสำคัญ รวมถึงความเชื่อในสิ่งที่เหนือธรรมชาติ (Super-nature / Animism) ที่อยู่บนฟ้า บนน้ำ ภูเขาและพื้นดิน มากกว่าระบบศาสนาที่มีการจัดองค์การที่ชัดเจน มีศาสดา มีคำสอน มีสมาชิก มีสัญลักษณ์และพิธีกรรมเหมือนในปัจจุบัน
นักมานุษยวิทยาสนใจศึกษาเรื่องราวของคนอื่น(Another People/Other) เพื่อทำความเข้าใจสังคมนั้นๆ ที่สำคัญคือการศึกษาเพื่อนำไปสู่การทำความเข้าใจตัวเอง(Self) โดยใช้การศึกษาเชิงเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ในสังคม (Ethnology) กับการศึกษาในลักษณะของกรณีศึกษาในบริบทที่เฉพาะทางสังคมหนึ่งๆอย่างรอบด้านทุกมิติ (Ethnography) ระเบียบวิธีพื้นฐานในการศึกษาที่สำคัญของนักมานุษยวิทยาก็คือ การมองทุกอย่างเป็นองค์รวม (Holistic Approach) และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมซึ่งวิธีการสังเกตการณ์นั้นเองที่นักมานุษยวิทยาภาคภูมิใจและอ้างตัวเองว่ามีลักษณะทางวิทยาศาสตร์ สุดท้ายคือการทำงานภาคสนาม (Field Work) ซึ่งก็คือการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์คนที่อยู่ในพื้นที่ในทุกๆเรื่องทั้งในเรื่องลักษณะทางกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรมและระบบสัญลักษณ์ต่างๆ นั่นคือวิธีการศึกษาที่สำคัญในทางมานุษยวิทยา
ในเรื่องของการทำงานภาคสนามอิทธิพลที่สำคัญยิ่งจากนักมานายวิทยารุ่นแรก ไม่ว่าจะเป็น มาลีนอฟสกี้ (Malinawski ),แรดคลิฟ บราวน์ (Radcliff Brown) , ฟราน โบแอส (Franz Boas),เลสลี่ ไวท์ (Leslie White)  และคนอื่นๆ รวมถึงนักมานุษยวิทยาที่ทำให้เรื่องของการเก็บข้อมูลและการตีความกลายเป็นประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นคนนอกกับคนใน อย่าง คลิฟฟอร์ด เกียร์ซ (Clifford Geertz )และการตีความระบบสัญลักษณ์ในพิธีกรรมอย่างวิกเตอร์ เทอร์เนอร์ (Victor Turner) ก็มีอิทธิพลต่อการศึกษาทางมานุษยวิทยาในปัจจุบันอยู่ไม่น้อย แม้ว่ากระแสของมานุษยวิทยาในปัจจุบันจะพูดถึงโลกาภิวัตน์ ความทันสมัย บริโภคนิยม และวาทกรรม ที่เป็นอิทธิพลหรือกระแสของสิ่งเรียกว่าโพสต์ โมเดิร์น (Post modern) ที่ลดทอนทุกอย่างมาไว้ในเรื่องของภาษา ที่นำไปสู่ความรู้ อัตลักษณ์ ความจริงและอำนาจที่ล้อมรอบชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบัน
2.การบันทึกเรื่องราวความทรงจำเกี่ยวกับคนพื้นเมืองในภาพวาดและภาพถ่ายของนักมานุษยวิทยา
2.1 เมื่อนักมานุษยวิทยาเลือกวัตถุที่ตัวเองศึกษา เลือกภาพที่นำเสนอ
นักมานุษยวิทยาใช้เรื่องของรูปภาพและภาษาของการบรรยายในการสื่อความควบคู่กันในการวิจัยภาคสนาม นักมานุษยวิทยายุคแรกใช้วิธีการวาดภาพหรือใช้การถ่ายรูปเพื่อแสดงให้เห็นรูปธรรมของสิ่งที่พวกเขาศึกษา ไม่ว่าจะเป็นลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ แผนผังของชุมชน สัญลักษณ์ต่างๆ  โดยเฉพาะนักมานุษยวิทยาในยุคแรกเริ่มอย่างฟราน โบแอส ได้เคยเขียนภาพของหมู่บ้าน Tsaxis ในหมู่เกาะแวนคูเวอร์ ใน Northwest coast ของอเมริกา  ซึ่งเป็นหมู่บ้านของชนเผ่าอินเดียนพื้นเมือง Kwakwala ที่เขารีบสำรวจและรวบรวมวัตถุสิ่งของพื้นเมือสำหรับจัดตั้งพิพิธภัณฑ์แห่งชาติด้านชาติพันธุ์วิทยาที่เบอร์ลินในช่วงปี 1886 และบันทึกไว้ ในหนังสือ The social organization and the secret societies of the Kwakiutl Indians ในปี 1895 สิ่งที่น่าสนใจคือนอกจากรูปภาพหมู่บ้านที่เขาวาดแล้ว เขายังได้เก็บรวบรวมเรื่องราวความเชื่อของบรรพบุรุษอินเดียนพื้นเมืองและวาดภาพสัญลักษณ์ของ Wa'tsuxuioa ที่ชาวอินเดียนจะติดไว้ตรงด้านบนของประตูทางเข้าบ้าน
รวมทั้งการรวบรวมและเขียนภาพหน้ากากของ  J. Adrian Jacobsen ในช่วงปี1884 ของชนเผ่า กวากวากา วาค ( Kwakwaka'wakw masks ) ที่หมู่บ้าน  Xwamdasbe ที่เขาได้บรรยายถึงหน้ากากของคนพื้นเมืองสองชิ้นคือหน้ากากของกา(Raven)และสัตว์ประหลาดในท้องทะเล (Sea Monster) ที่ใช้ในพิธีเต้นรำที่เรียกว่า Hamatsa เช่นเดียวกับที่โบแอส ได้เขียนภาพหน้ากากในช่วงปี 1906
Engraving of masks collected at Xwamdasbe, 1881


Wood engraving of masks.  F. Boas, The Kwakiutl, 1906 Drawing by Jacobsen's Reise, 1884
 
ในส่วนของนักมานุษยวิทยาที่มีความสำคัญอย่าง บอนิลอว์ มาลีนอฟสกี้ ภาพสเกตซ์ที่น่าสนใจของเขาคือภาพแผนผังของการแลกเปลี่ยนระหว่างเผ่าโดยใช้สื่อกลางในการแลกเปลี่ยนคือเปลือกหอยสีขาวและสร้อยลูกปัดสีแดงที่เรียกว่าคูลาริง ของชนพื้นเมืองในหมู่เกาะโทรเบรียน
นักมานุษยวิทยาอีท่านหนึ่งที่ใช้ภาพถ่ายในการนำเสนอเรื่องราวของคนพื้นเมืองคือ มาร์กาเร็ต มี๊ด (Margaret Mead) นักมานุษยวิทยาในแนวของวัฒนธรรมกับบุคลิกภาพ ในภาพชื่อ Houseboys, Pere Village, Manus, Admiralty Islands ในปี 1928.
ภาพชาวประมงรุ่นต่อไปแห่งมานัส “The mariners of the next generation ถ่ายโดยมาร์กาเร็ต มี๊ด และริโอ ฟอร์จูน
งานของGregory Bateson ซึ่งไปศึกษาร่วมกับมาร์กาเร็ต มี๊ด ที่ Bajoeng Gedé, Bali, อินโดนีเซีย
ในช่วงเดือนกันยายน ปี 1936. ที่ปรากฏผ่านภาพของผู้หญิงอุ้มลูก ที่ปรากฏในหนังสือ Balinese Character : A Photographic  Analysis  ในปี 1942 ซึ่งต่อมา Bateson ก็ได้ใช้เทคโนโลยีทางด้านภาพยนตร์เข้ามาใช้ในการทำงานทางมานุษยวิทยา เกิดภาพยนตร์ทางชาติพันธ์(Ethnographic Film)หรือภาพยนตร์เชิงมานุษยวิทยา(Anthropological Film)

ภาพจากดินสอของเด็กชายชาวมานัสใน New Guinea ที่ชื่อ  Kilipak อายุ 13 ปี ซึ่งวาดภาพวิถีชีวิตประมง โดยการใช้ตาข่ายจับปลาของชาวพื้นเมืองหมู่เกาะมานัสในนิวกีนี คือสิ่งที่เด็กชายผู้นี้ต้องการเล่าเรื่องราวชีวิตของตัวเอง ที่ปรากฏในงานภาคสนามของมี๊ดในช่วงปี 1928-1929 ซึ่งใช้วิธีการให้เด็กที่มีช่วงอายุต่างกัน เพศต่างกันต่อความคิดที่ถ่ายทอดผ่านสิ่งที่พวกเขาวาดภาพออกมา โดยผลการศึกษาจะพบว่าผู้หญิงมีแนวโน้มของการใช้สีในการถ่ายทอดภาพออกมามากกว่าผู้ชายที่หลีกเลี่ยงการใช้สีและวาดให้เห็นฉากที่เหมือนจริง แต่สิ่งที่น่าสนใจคือเรื่องราวหรือภาพที่เขานำเสนอมักปรากฏเป็นรูปของคน สัตว์ และเรือ รวมทั้งสิ่งที่เหนือธรรมชาติ (Animism/Super nature) งานศึกษาเกี่ยวกับความคิดของเด็ก ชาวมานัส ในปาปัวนิวกีนี ปรากฏในงานเขียนของมี๊ดเรื่อง  Growing Up in New Guinea (1930)
Catching Fish in a NetManus Children's Drawings

ภาพวาดและภาพถ่ายจึงเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญในการศึกษาวิจัยทางมานุษยวิทยา เนื่องจากภาพถ่ายใช้แทนคำพูดและเป็นสิ่งที่สะท้อนความจริงของวัตถุเรื่องราวต่างๆได้ตรงความจริงมากที่สุดแม้ว่าจะไม่ทั้งหมด เนื่องจากประเด็นของเรื่องการเลือกภาพในการนำเสนอ มุมที่ถ่าย เรื่องราวที่ต้องการจะสื่อ ตามการเชื่อมโยงกับประเด็นทางด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา โบราณคดี ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สื่อสารมวลชนหรือศิลปะ ในทางมานุษยวิทยาภาพที่นำเสนอ จึงเต็มไปด้วยเรื่องราวของวิถีชีวิตทุกแง่ทุกมุม ทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณีพิธีกรรมต่างๆ รูปแบบการตั้งบ้านเรือน ลักษณะของบ้านเรือน พื้นที่ทำการเกษตร สถานที่สำคัญในหมู่บ้าน เพื่อเชื่อมโยงและถ่ายทอดให้เห็นวิถีชีวิตของคนในชุมชนที่ตัวเองศึกษา
 
ภาพถ่ายกับความทรงจำ
          อดีตสามารถที่จะเป็นสิ่งที่แน่นอนเช่นเดียวกับเป็นปัจจุบัน สิ่งที่เรามองเห็นบนกระดาษ มันจึงเป็นสิ่งที่แน่นอน หรือดูราวกับว่าเราได้เข้าไปสัมผัสหรือมีส่วนร่วมอยู่ในเหตุการณ์นั้นๆอย่างแท้จริงดังนั้นกระบวนการหรือความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างตัวเรา กับภาพถ่ายจึงเป็นสิ่งที่โรลองต์ บาร์ธ ได้ทำการศึกษา รวมทั้งการอธิบายเหตุผลอื่นๆที่เขาได้สร้างขึ้น เกี่ยวกับอัตลักษณ์หรือตัวตนของภาพถ่ายหรือการบ่งชี้ของภาพถ่ายในตัวของมันเอง  แนวความคิดของเขาก็คือ คนอื่นๆสามารถพูดถึงภาพถ่าย แต่ไม่ใช่ตัวภาพถ่ายจริง ดังนั้นภาพถ่ายกลายเป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดแจ้ง และเราไม่อาจมองเห็นหรือเข้าใจมันได้อย่างแท้จริง
ภาพถ่ายจึงต้องถูกบรรยายในเนื้อหาสาระหรือบริบทที่เฉพาะของมัน เพราะตัวองค์ประธาน (Subject) ที่อยู่ในภาพถ่าย ถูกทำให้มีอยู่จริงในช่วงเวลาที่เฉพาะ (Specific Moment in Times) ดังนั้น ภาพถ่ายจึงเป็นสิ่งที่ยืนยันว่า  องค์ประธานถูกแช่แข็งหรือถูกทำให้หยุดนิ่งในช่วงเวลาหนึ่ง (Freezing a Subject in Times) และตัวองค์ประธานก็ดำรงอยู่ในอดีตอย่างฉับพลัน
คำถามเกี่ยวกับภาพถ่าย ที่เป็นเสมือนกับการทำให้อดีตดำรงอยู่มาถึงปัจจุบัน และการแช่แข็งองค์ประธานไว้ภายใต้ช่วงเวลาของอดีต เหมือนสิ่งที่ปราศจากอนาคต  ไร้อารมณ์ รูปภาพจึงเป็นสิ่งที่ย้อนกลับจาก การแสดงออกของสิ่งที่ปรากฏในภาพไปยังการถูกเก็บรักษาไว้
ดังเช่น Punctum ของ Barthes ในงานเรื่องCamera Luciad Camera -Reflection on Photography ในภาพที่ชื่อว่า The Winter Garden Photography ในสภาพที่เขาต้องอยู่กับภาพตามลำพัง กับ การจินตนาการร่วมกันระหว่างโรล็องต์ บาร์ธ กับผู้อ่านงานของเขา และจ้องมองลงไปยังภาพนี้ และพิจารณาดูองค์ประกอบของภาพนี้อย่างละเอียดถี่ถ้วน ย่อมแตกต่างจากสิ่งที่  โรล็องต์ บาร์ธ มองเห็น ภายใต้ความทรงจำในวัยเด็กและการมีส่วนร่วมอยู่ในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ตรงนั้น ไม่ว่าจะเป็นภาพเด็กผู้หญิงตัวเล็กๆสองคน เสื้อผ้าที่พวกเขาสวมใส่ที่คล้ายกับของแม่เขา การมองไปยังเครื่องบินโบราณที่บินอยู่เหนือหมู่บ้านหรือการเล่นห่วงยาง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้คือ คำถามที่ตามมาว่าถ้าเขายังอยู่ตอนนี้เขาอายุเท่าไหร่ ในวันนี้อาจกล่าวได้ว่าเขาตายแล้ว หรือเขาตายไปแล้วเมื่อวานนี้  เช่นเดียวกับที่ โรล็องต์   บาร์ธ มองว่า  ความคิดเกี่ยวกับแม่ของเขา พรั่งพรูและแพร่ขยายออกมาเมื่อเขามองไปที่ภาพถ่าย ดังนั้น ภาพถ่ายจึงเป็นเสมือนวัตถุ ที่เป็นสิ่งที่ช่วยไกล่เกลี่ย ประนีประนอม และเปิดโอกาสให้มีการส่งผ่านของช่วงเวลา เพื่อปรับหรือลดระดับความทรงจำ เกี่ยวกับการสูญเสียและความเจ็บปวด
เช่นเดียวกับการศึกษามายาคติของเขาในบทความ Myth today ที่พูดเกี่ยวกับภาพหน้าปกในนิตยสารฉบับหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นความหมายโดยตรง(Denotation)กับความหมายโดยนัย(Connotation) ที่เราจำเป็นจะต้องอ่านภาพให้ออกโดยการมองใน 2 ระดับ ระดับแรก คือ การมองด้วยสายตาดูองค์ประกอบของภาพหรือภาษาที่ปรากฏอยู่ในภาพที่จะทำให้เราอ่านภาพได้ง่ายหรือชัดเจนขึ้น เช่นภาพทหารหนุ่มผิวดำ ทำความเคารพ ธงชาติของฝรั่งเศส พร้อมทั้งการเขียนข้อความถึงความเป็นแผ่นดินแม่ร่วมกัน เป็นคนร่วมชาติกัน  กับการอ่านในระดับมายาคติที่จะเปิดเผยให้เห็นบางอย่างที่ถูกปิดปังซ่อนเร้น เช่น ความเป็นคนแอลจีเรีย ความเป็นทาส คนผิวสี และอาณานิคมของฝรั่งเศส เป็นต้น

เศส พร้อมทั้งการเขียนข้อความถึงวคามเป็นแผ่นดินแม่ ือจำในวัยเด็กและการมีส่วนร่วมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สตรีนิยมกับสิ่งแวดล้อม โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล

Aldo Leopold(1994) เขียนหนังสือที่รวบรวมบทความของเขาชื่อ Sand Country Almanac เขาได้อธิบายถึงปรัชญาของนักสตรีนิยมสิ่งแวดล้อมว่า ผู้หญิงมีควา...